ข่าวประชาสัมพันธ์
พระพรหมบัณฑิต ผู้แทนมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์อนัมมนิกายจากประเทศไทยได้เยี่ยมชมวัดและสถานที่สำคัญในกรุงฮานอย
27 มี.ค. 60 | ข่าวมหาวิทยาลัย
973
ข่าวมหาวิทยาลัย
พระพรหมบัณฑิต ผู้แทนมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์อนัมมนิกายจากประเทศไทยได้เยี่ยมชมวัดและสถานที่สำคัญในกรุงฮานอย
วันที่ ๒๗/๐๓/๒๐๑๗ เข้าชม : ๑๐๘๓ ครั้ง

 พระพรหมบัณฑิต ผู้แทนมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์อนัมมนิกายจากประเทศไทยได้เยี่ยมชมวัดและสถานที่สำคัญในกรุงฮานอย และให้สัมภาษณ์สื่อโทรทัศน์ในประเทศเวียดนาม

 

 

         วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าคณะภาค ๒  ในฐานะผู้แทนมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์อนัมมนิกายจำนวน ๓๘ รูป นำโดยพระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ได้เยี่ยมชมวัดและสถานที่สำคัญในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดังต่อไปนี้

          สถานที่ที่คณะไปเยี่ยมชมแห่งแรกในภาคเช้าคือ สุสานประธานโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh Mausoleum)  เป็นอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดในกรุงฮานอย ภายในสุสานมีแท่นหินตั้งโลงแก้วบรรจุร่างอันไร้วิญญาณของประธานโฮจิมินห์ที่นอนสงบนิ่งเหมือนคนนอนหลับ

          สถานที่ที่คณะไปเยี่ยมชมแห่งที่สองคือวัดเสาเดียว (One Pillar Pagoda) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๕๙๒ เป็นศาลาไม้ทรงสี่เหลี่ยมตั้งอยู่เสาหินเสาเดียวกลางสระบัว ภายในศาลาเป็นที่ประดิษฐานรูปสลักเจ้าแม่กวนอิม จากนั้น คณะไปรับสังฆทานและฉันเพลที่วัดฟาบเหวิน (Phap Van)

          ในภาคบ่าย คณะไปเยี่ยมชมวัดเจิ๋นก๊วก (Tran Quoc) ชึ่งตั้งอยู่บนเกาะของทะเลสาบตะวันตกซึ่งมีทัศนียภาพสวยงามที่สุดในกรุงฮานอย วัดนี้มีอายุมากกว่า ๑,๕๐๐ ปี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของเวียตนาม

          จากนั้น คณะไปสวดมนต์ที่เจดีย์บรรจุอัฐิของพระครูคณานัมสมณาจารย์ (บิ๊นเลือง) อดีตเจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย รูปที่ ๘ ณ วัดหวงอัน (Hoang An) เจ้าคณะใหญ่รูปนี้เคยสนับสนุนประธานโฮจิมินห์ขณะที่เขาไปเคลื่อนไหวอยู่ในประเทศไทย ท่านได้เดินทางกลับเวียดนามและถึงมรณภาพที่กรุงฮานอยเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ อัฐิของท่านได้รับการบรรจุไว้ในสุสานที่วัดหวงอัน

          สถานที่ที่คณะไปเยี่ยมชมเป็นแห่งสุดท้ายในวันนี้คือ วัดกิมเลียน (Kimlien) เป็นสำนักภิกษุณีที่เก่าแก่มาก อุโบสถทำด้วยไม้ทั้งหลัง วัดนี้เป็นหนึ่งในสิบโบราณสถานที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นที่สุดของเวียดนาม

          ขณะอยู่ที่วัดหวงอัน พระพรหมบัณฑิต ได้ให้สัมภาษณ์สื่อโทรทัศน์ของเวียดนามโดยตอบคำถามเรื่องความประทับใจจากการมาเยือนเวียดนามครั้งนี้และความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์ไทยกับคณะสงฆ์อนัมมนิกายแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : http://watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=1108&cat=B&table=news

ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว เว็บไซต์ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 

 

 

 

 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • #(ข่าว)เจ้าคุณประสาร “โต้กลับ” หลังถูกตั้งคำถาม “ศักดิ์ศรี มจร” อยู่ที่ไหน!!
    12 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    145
  • มจร ช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา 7.5 แสนบาท
    10 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    111
  • พระพรหมวัชรธีราจารย์,ศ.ดร. อธิการบดี ประธานในงาน ธารน้ำใจไทยสู้ภัยพิบัติแผ่นดินไหว "เมียนมา"
    09 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    93
  • ขอแสดงความยินดีกับพระครูสมุห์วชิรวิชญ์ ฐิตวํโส, ดร. เนื่องในโอกาสได้รับ โล่ผู้บริหารดีเด่น และเกียรติบัตรแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น
    09 เม.ย. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    106
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เชิญสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ถวายแด่ พระเทพวัชรสิทธิเมธี พระราชวัชรคุณบัณฑิต พระราชวัชรธรรมวาที พระศรีวัชรศาสตรบัณฑิต พระศรีวัชรสารบัณฑิต พระเมธีวัชรญาณบัณฑิต พระภาวนาวัชรมุนี พระสุธีวัชรบัณฑิต พระวัชรพุทธิบัณฑิต พระสิทธิวัชรบัณฑิต และ พระวัชรบัณฑิต
    26 มี.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    446