ข่าวประชาสัมพันธ์
พระธรรมโกศาจารย์ ชี้ ธรรมาภิบาลคุ้มครองโลกให้สงบสุข
08 มิ.ย. 50 | ข่าวมหาวิทยาลัย
1666
ข่าวมหาวิทยาลัย
พระธรรมโกศาจารย์ ชี้ ธรรมาภิบาลคุ้มครองโลกให้สงบสุข
วันที่ ๐๘/๐๖/๒๐๐๗ เข้าชม : ๑๓๔๖๘ ครั้ง

เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ศาสตราจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ พุทธศาสตรบัณฑิต รุ่น ๕๒/๒๕๔๘ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับหลักธรรมาภิบาล" ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า "โลกมีปัญหา เพราะขาดธรรมาภิบาล  ขาดธรรมาภิบาลก่อปัญหาแก่บ้านเมืองและสังคม เมื่อประชาชนมีธรรมะย่อมก่อให้เกิดสุขแก่โลก สังคม และประเทศชาติ" คำว่า ธรรมาภิบาล หรือ ระบบการบริหารกิจการที่ดี ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Good Governance ใช้กับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด ใช้ครั้งแรกในรายงานของธนาคารโลก ๒๕๓๒ ในรายงาน เรื่อง Sum-Sahara Africa แต่ไม่ได้นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง  องค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  UNDP ได้นำมาขยายใช้งาน ธรรมาภิบาลต้องมี ๓ ด้าน คือ  ๑. ด้านเศรษฐกิจ  ๒. ด้านการเมือง  Political  Governance  ๓. ด้านราชการ Administrative Governance
ธรรมาภิบาน หมายถึงกระบวนการตัดสินใจ หรือใช้อำนาจสั่งการที่ดี 
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล กระบวนการตัดสินใจหรือใช้อำนาจ กระบวนการปฏิบัติตามคำสั่ง  มีธรรมกำกับทุกขั้นตอน The Good Process of decision-making and the good process by which decisions are implemented

ธรรมาภิบาล สรุป มี ๖ ข้อ
๑. การมีส่วนร่วม Public participation เป็นกระบวนที่ประชาชน (ชายและหญิง) มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการประบวนการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าร่วม ในทางตรงหรือทางอ้อม การให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชนและให้เสรีภาพแก่สาธารณชน มีรูปแบบการปกครองและบริหารงานที่กระจายอำนาจ (Decentralization) คณะสงฆ์มีการกระจายอำนาจให้คณะสงฆ์ พุทธบริษัท ๔ และฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพระพุทธศาสนา มีหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ผู้ปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นนิตย์จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองเพียงอย่างเดียว
๒. ความโปร่งใส Transparency เป็นกลไกทีมีความสุจริตและโปร่งในซึ่งรวมถึงการระบบกติกาและการดำเนินงานที่เปิดเผยตรงไปตรงมา ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลว่าสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ประชาชาติสามารถตรวจสอบได้
๓. ความรับผิดชอบ Accountability มีเจ้าภาพรับผิดชอบ ชี้แจงได้
๔. หลักคุณธรรม Legitimacy  มีความถูกต้อง ชอบธรรม เป็นไปตามขั้นตอนกฏระเบียบ กฏหมาย
๕. ปกครองด้วยกฏหมาย Rule of Law  ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่แยกพรรคแยกพวก
๖. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล Efficiency ประโยชน์สูง ประหยัดสุด

สรุปโดย พระมหาศรีทนต์  สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    99
  • พระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ., รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    105
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์  รองประธานกรรมการจัดการแข่งขันผู้อุปถัมภ์การปรับปรุงพื้นที่สนามรอบกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อการแข่งขันกีฬามหาจุฬาอยุธยาเกมครั้งที่ ๑๕
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    170
  • กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ คณะครุศาสตร์ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
    18 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    101
  • มจร จัดสัมมนาบทบาทพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา
    15 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    144