ข่าวประชาสัมพันธ์
ถอดบทเรียนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: Knowledge Sharing ในหัวข้อ เรื่องเล่า เร้าพลัง ถอดรหัสความรู้ เรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ
22 ก.พ. 64 | ข่าวมหาวิทยาลัย
686

#เรื่องเล่าเร้าพลัง 

#ผลงานตำแหน่งทางวิชาการ 

#สายวิชาการเกื้อหนุนสายปฏิบัติการ  

#มหาจุฬายกระดับพัฒนาสายวิชาการพัฒนาคุณภาพการสอนมีคุณภาพ

     ร่วมรับฟังและถอดบทเรียนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: Knowledge Sharing ในหัวข้อ เรื่องเล่า เร้าพลัง ถอดรหัสความรู้ เรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom โดย พระเดชพระคุณ พระเทพวัชรบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงานและมอบนโยบายผู้บริหาร คณาจารย์ ตอนสำคัญว่า ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มหาจุฬามีลักษณะพิเศษด้านกายภาพและจิตตภาพ มีการจัดการศึกษาไปทั่วประเทศจึงมีการพบปะกัน ปัจจุบันบุคลากรของมหาจุฬาจำนวน ๒,๕๐๐ รูป/คน สายวิชาการราวๆ ๑,๒๐๐ รูป/คน ซึ่งปกติสายวิชาการควรจะมากกว่าสายปฏิบัติการ ในฐานะมหาวิทยาลัยด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนา แต่เราสามารถอธิบายเหตุผลได้ว่าทำไมสายปฏิบัติการมากกว่าสายวิชาการ เพราะเรามีการบริการสังคมอย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ซึ่งในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการถือว่าเป็นการประกันคุณภาพสายวิชาการ สายวิชาการต้องมีการเคลื่อนไหวมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เน้นย้ำให้สายวิชาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีการจัดเวทีการประชุมทางวิชาการ สร้างเวทีให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ มาพบปะกันแสดงผลงานทางวิชาการ เช่น แต่ละปีควรมีผลงานทางวิชาการ เราจึงควรมีการสัมมนาในรอบปีเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันทางวิชาการ        

     ต่อจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป และเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ(ก.พ.ว.) ถอดรหัสองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการขอตำแหน่งทางวิชาการให้แก่คณาจารย์ของมหาจุฬา ภายใต้หัวข้อ # เรื่องเล่าเร้าพลัง ตอน #ถอดรหัสความรู้เรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ สาระสำคัญว่า ถือว่าเรามาร่วมกันในมิติของ KM: การจัดการความรู้ด้านการขอตำแหน่งทางวิชาการของสายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเราถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยกำกับของรัฐ จึงมีเกณฑ์ตามข้อบังคับ ตามสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อบังคับ คือ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์   พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมหาวิทยาลัยมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ซึ่งไม่น้อยกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ผู้บริหารจึงมีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริม โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมีประเมินคุณภาพการสอน รายวิชาที่สอน ๓ หน่วยกิต เอกสารระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ใช้เอกสารประกอบการสอน รวมถึงผลงานทางวิชาการ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องมีผลงานมีคุณภาพดี โดยมี ๕ เกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วย 

     #เกณฑ์ที่๑) เอกสารประกอบการสอน และ ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง  

     #เกณฑ์ที่๒) เอกสารประกอบการสอน  ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง   ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ 

     #เกณฑ์ที่๓) เอกสารประกอบการสอน ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง  ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑ เรื่อง  

     #เกณฑ์ที่๔) เอกสารประกอบการสอน  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรืแ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือ บทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดีมาก แทนงานวิจัย ๑ เรื่อง ตามเกณฑ์ที่ ๒ ๓ ๔  

     #เกณฑ์ที่๕) เอกสารประกอบการสอน ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และตำราหรือหนังสือ ๑ เล่ม    

      ดังนั้น ตำแหน่งทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ พัฒนาการเรียนการสอนนิสิตให้เท่าทันในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พัฒนาทักษะศึกษาค้นคว้านวัตกรรมใหม่ ๆ  จึงมีเรื่องเรื่องเล่าเร้าพลังจากผู้บริหารมหาจุฬาในมิติของผลงานตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งสายวิชาการจึงต้องมีการเกื้อหนุนกับสายปฏิบัติการ มหาจุฬาจึงยกระดับพัฒนาสายวิชาการพัฒนาคุณภาพการสอนมีคุณภาพ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย 


--------------------------------------------------------------------------------

สาราณียธรรม พระปราโมทย์ วาทโกวิโท  ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร 

เผยแพร่ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และกองสื่อสารองค์กร มจร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ข้อปฏิบัติในการเข้ารับประทานปริญญาบัตร ในพิธีประสาทปริญญา
    25 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    16
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    128
  • พระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ., รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    127
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์  รองประธานกรรมการจัดการแข่งขันผู้อุปถัมภ์การปรับปรุงพื้นที่สนามรอบกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อการแข่งขันกีฬามหาจุฬาอยุธยาเกมครั้งที่ ๑๕
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    194
  • กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ คณะครุศาสตร์ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
    18 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    107