ในการจัดการประชุมและสัมมนาทั้งในระดับชาติ และนานาชาติของมหาวิทยาลัยในหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น การประชุมผู้นำชาวพุทธโลก การประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และการประชุมวันวิสาขบูชาโลก ได้มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปรวมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุม แต่ปรากฏว่ายังมีคณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปนำเสนอบทความและได้รับการตี พิมพ์ไม่มากนัก
เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีหลักสูตรนี้
ในการจัดการประชุมและสัมมนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติของมหาวิทยาลัยในหลายครั้งที่ผ่านมา เช่นการประชุมผู้นำชาวพุทธโลก การประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ(IABU) และการประชุมวันวิสาขบูชาโลกได้มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปรวมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมแต่ปรากฏว่ายังมีคณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปนำเสนอบทความและได้รับการตีพิมพ์ไม่มากนัก ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก"นักวิชาการไทยหลายท่านขาดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการให้ได้มาตรฐาน" และในขณะเดียวกัน เป็นที่ประจักษ์ว่าเราไม่ได้ไม่ได้เตรียมหลักสูตรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้สนใจใฝ่รู้ในประเด็นเหล่านี้อย่างเพียงพอ
ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาจิตใจและสังคมและเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษาจึงสมควรจัดให้มีกระบวนการในการพัฒนาคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยและบุคคลที่สนใจทั่วไปให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพและนำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติจึงสมควรให้มีการจัดการพัฒนาและฝึกอบรมเทคนิคการเขียนบทความทางให้ได้มาตรฐานมากยิ่ง ขึ้น
วัน เวลา และสถานที่เรียน
เปิดเรียนวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๒๐๕ ชั้น ๒ มหามหาจุฬาฯ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
จะตีพิมพ์บทความหนังสืออะไร/ที่ไหน
บทความทุกบทความจะได้รับการปรับปรุง วิเคราะห์ และวิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเสนอเข้าตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในวันวิสาขบูชาโลกเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
อาจารย์ผู้เชียวชาญในหลักสูตร
สถาบันภาษามหาจุฬาฯ ได้เชิญผู้เชียวชาญ ดังนี้
๑. ด้านภาษาไทย จากราชบัณฑิตสถาน และคณะอักษรศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์ฯ
๒. ด้านสื่อสารมวลชน คุณสมหมาย ปาริฉัตร
๓. ด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา ประกอบด้วย พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. (ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์) พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร., พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร., พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร,ดร., พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ศ.(พิเศษ) จำนงค์ ทองประเสริฐ, ศ.ดร.สมภาร พรมทา, ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, รศ.สิวลี ศิริไล, รศ.ดร. ภัทรพร สิริกาญจน, รศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ เป็นต้น
ประโยชน์ที่จะได้รับ
๑. สามารถเขียนบทความทางวิชาการ และวิทยานิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒. ทุกบทความทีผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ในขณะเขียนจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัยในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
๓. ได้รับวุฒิบัตรจากการพัฒนาและฝึกอบรม
ขอบข่ายเนื้อหาในหลักสูตร
๑.การเขียนบทความทางวิชาการกับการเขียนบทความทั่วไปต่างกันอย่างไร
๒. ความหมาย คุณค่าและความสำคัญของการเขียนบทความทางวิชาการ
๓. โครงสร้างของการเขียนบทความที่ดีและได้มาตรฐาน เช่น Title, Introduction, Body และ Conclusion
๔. เทคนิคของการเขียนบทนำ การวางเนื้อหา และการสรุปเนื้อหา
๕. เทคนิคการอ่าน และย่อยเนื้อหาเพื่อนำไปเขียนบทความ
๖. ภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับการเขียนบทความทางวิชาการ
๗. เขียนบทความอย่างไรจึงจะได้รับการตีพิมพ์ ฯลฯ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพื่อเติมได้ที่
สำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ ๕๕ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์๐๓๕-๒๓๘-๐๙๘-๙, ๐๒-๒๒๖-๖๐๒๗ ต่อ ๘๐๙๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. ทุกวัน
ดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ http://www.li.mcu.ac.th |