www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
แม่ชีทศพร นำทีมงานถวายภัตตาหารเพลพุทธศาสตรบัณฑิต มหาบัณฑิต กว่า ๒ หมื่นรูป
30 เม.ย. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
229
ข่าวมหาวิทยาลัย
แม่ชีทศพร นำทีมงานถวายภัตตาหารเพลพุทธศาสตรบัณฑิต มหาบัณฑิต กว่า ๒ หมื่นรูป
วันที่ ๓๐/๐๔/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๓๗๗๓ ครั้ง

ดร.แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม (พธ.ด.กิตติมศักดิ์) วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะศิษย์กว่า ๓๐๐ คน เป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้สำเร็จการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วยพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์  พุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ผู้ที่ได้รับเข็มเกียรติคุณ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต  พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พุทธศาสตรบัณฑิตคณะพุทธศาสตร์  พระมหาเถระ บุคคลสำคัญที่เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ดุษฎีมหาบัณฑิต เข็มเกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพิธีประสาทปริญญามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทาลัย ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นประธาน
 พิธีประสาทปริญญามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัด ๓ วัน คือ วันที่ ๒๙ - ๓๐ เมษายน ถึง ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔  ณ อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
 กิจกรรมประกอบด้วย วันที่ ๒๙ - ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔
  ๑. การปาฐกถา เรื่อง “พุทธิปัญญากับการสร้างสังคมปรองดอง” โดย พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. อธิการบดี
  ๒. รายงานสัมมนากลุ่มย่อย  จำนวน ๕ กลุ่ม ประกอบด้วย 
       - กลุ่มที่  ๑  เรื่อง “บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตกับการสอนศีลธรรมในโรงเรียน” 
       - กลุ่มที่ ๒  เรื่อง “บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง” 
       - กลุ่มที่ ๓  เรื่อง “บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตกับการเผยแผ่หลักธรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง”
       - กลุ่มที่ ๔ เรื่อง “บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตกับการเสริมสร้างสันติสุขในภาคใต้”
       - กลุ่มที่ ๕ เรื่อง “บทบาทของพุทธศาสตรบัณฑิตที่เป็นพระสังฆาธิการกับการบริหารคณะสงฆ์” 

 ส่วนวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ พิธีประสาทปริญญา ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น.เป็นต้นไป
 
              มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุ สามเณรและคฤหัสถ์โดยพระราชทานนามว่า มหาธาตุวิทยาลัย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ และได้เปิดดำเนินการศึกษาเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๒

              ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนจากมหาธาตุวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ แต่ยังคงจัดการศึกษาเฉพาะปริยัติธรรมแผนกบาลีเท่านั้น ยังมิได้ดำเนินการศึกษาในรูปแบบอุดมศึกษาหรือรูปแบบมหาวิทยาลัยตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ พระพิมลธรรม (ช้อยฐานทตฺตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุสมัยนั้น พร้อมทั้งพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย จำนวน ๕๗ รูปได้ประชุมพร้อมกันที่ตำหนักสมเด็จฯ วัดมหาธาตุ ปรึกษาหารือได้ข้อยุติที่จะเปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย เปิดรับผู้สนใจวิชาพระพุทธศาสนาพระปริยัติสัทธรรมชั้นสูง ภาษา ต่างประเทศและวิทยาการบางอย่างอันเป็นอุปกรณ์แก่การค้นคว้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

                พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศใช้ระเบียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดรับพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๔ ประโยคขึ้นไปเข้าศึกษาพระภิกษุสามเณรที่เข้าศึกษารุ่นแรกนี้มีจำนวน ๑๕๖ รูป เปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ โดยจัดให้เรียนวิชาพื้นฐาน เรียกว่า การศึกษาระดับชั้นอบรมพื้นความรู้จนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษา เป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๐-๒๔๙๔ จากนั้นจึงให้เรียนต่อระดับปริญญาตรีในคณะพุทธศาสตร์ ซึ่งเปิดเป็นคณะแรก รับพระภิกษุสามเณรที่จบชั้นเตรียมอุดมศึกษานี้ และเป็นผู้สอบได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไป จำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาปีแรกในคณะพุทธศาสตร์ ปีการศึกษา ๒๔๙๔ จำนวน ๑๖ รูป สำเร็จการศึกษาในปี ๒๔๙๘ เป็นพุทธศาสตรบัณฑิตรุ่นแรกจำนวน ๖ รูป  พุทธศักราช ๒๕๑๒ มหาเถรสมาคมได้ออกคำสั่งเรื่อง การศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ.๒๕๑๒ จำนวน ๑๒ ข้อ สาระสำคัญของข้อ ๓ ระบุส่วนที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไว้ว่า “ให้การศึกษาของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์”

                 พุทธศักราช ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทางพระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๕๒๗ โดยมาตรา ๔ (๓) กำหนดไว้ว่า “ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า “พุทธศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อว่า “พธ.บ.”

                  พุทธศักราช ๒๕๓๐ สภามหาวิทยาลัย ประกาศใช้ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าด้วยการบริหาร ๒๕๓๐ 

                   พุทธศักราช ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๔ ตอนที่๕๑ ก ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐

                   ปัจจุบันมีพระธรรมโกศาจารย์ ศาสตาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์รูปแรก เป็นอธิการบดี
 

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D.) ศาสตราจารย์                     พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D.) ศาสตราจารย์, ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เจ้าคณะภาค ๒ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นำจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม เน้นผลิตให้พระสงฆ์อุ้มชูพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระนิสิต (กำลังศึกษาอยู่) พุทธศาสตรบัณฑิต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนทั้งในและต่างประเทศ ขอให้ใช้แรงกายแรงใจปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มความสามารถ โดยใช้พุทธิปัญญาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน"

                   ในด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีความเข้มงวดมาก โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนมีการควบคุมมาตรฐานการสอนของครูอาจารย์ นั้นคือหลักสูตรกลาง หนังสือตำรากลาง ข้อสอบกลาง ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้คณาจารย์ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคต้องสอนให้ครบตามเนื้อหาหลักสูตร และออกข้อสอบจากส่วนกลาง มีระบบป้องกันข้อสอบรั่วอย่างเป็นระบบ ในส่วนของผู้เรียนเองก็มีการประเมินความรู้อย่างต่อเนื่อง เน้นให้นิสิตคิดเป็น ทำงานเป็น

พระราชวรมุนี (พล อาภากโร)                    ในเรื่องนี้ พระราชวรมุนี (พล อาภากโร) ป.ธ.๙, Ph.d. คณบดีคณะพุทธศาสตร์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม รองเจ้าคณะภาค ๖ กล่าวในคราวประชุมผู้บริหารวิชาการ (๒๙ เมษายน ๒๕๕๔) ว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีแบบแผน มีอัตลักษณ์เฉพาะตน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำเป็นจะต้องรักษาจุดแข็งเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพการศึกษา ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถที่จะรับพระนิสิตเข้ามาเรียนเต็มอัตราที่อาคารสถานที่เราสามารถรับได้ แต่คุณภาพบัณฑิตจะต้องมาก่อน ในส่วนที่เป็นจุดอ่อนเช่นเรื่องงานบริการ ด้านภาษาก็ต้องเร่งปรับปรุง ทั้งนี้เพื่อรักษาอัตลักษณ์และคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอาไว้" 

                     ส่วนในเรื่องประเด็นเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาที่มีการซื้อขายกันที่เป็นข่าวอยู่ในปัจจุบันนั้น พระครูสังฆรักษ์กิตติพงศ์ สิริวฑฺฒโน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยโดยคณะครุศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบหลักสูตร ป.บัณฑิตโดยตรง มีคณะกรรมการกำกับดูแล ควบคุมการเปิดหลักสูตร คุณภาพการเรียนการสอน การฝึกสอน ปัจจุบันได้ทำการตรวจสอบแล้ว ๙๙ % ยังไม่พบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นแต่อย่างใด" ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานใหญ่ :  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อาคารเรียนรวม โซน ซี (zone C) ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 13170  โทรศัพท์ : 035-248-094  โทรสาร : 035-248-095 สำนักงานย่อย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อาคารเรียน วัดศรีสุดาราม ถนนบางขุนนนทร์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร, 10700 โทรศัพท์ : 024-336-588 โทรสาร : 024-336-588

                  ยุคทองการศึกษาสงฆ์ไทย ถือว่าเป็นยุคทองของการศึกษาคณะสงฆ์ไทย เพราะทางคณะสงฆ์และราชการได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขยายการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีสาขาทั้งในและต่างประเทศ ที่ว่าเป็นยุคทองเพราะทางมหาวิทยาลัยนอกจากจะขยายการศึกษาออกไปยังส่วนภูมิภาคแล้ว ยังควบคุม กำกับ ตรวจสอบ การเรียนการสอน การบริหาร อย่างใกล้ชิด หลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนได้ผ่านความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพราะทางมหาวิทยาลัยควบคุมคุณภาพการผลิตบัณฑิต จนมีคำกล่าวว่า "เรียนมหาจุฬาฯ ไม่ง่ายอย่างคิด ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาจุฬาฯ มีคุณภาพ สมภูมิอย่างแท้จริง
 

                    นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำลังดำเนินการสร้างวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ขึ้นในพื้นที่ ๘๔ ไร้ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นศูนย์การการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลก  พัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งทรัพยากรด้านพระพุทธศาสนาของโลกอีกด้วย

                     ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำลังเปิดรับสมัครนิสิตใหม่ระดับปริญญาตรี-โท-เอก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔  ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=6813  
  
                      สกู๊ปโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง 
                      ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    146
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    401
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    490
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    148
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    160