คณะพุทธศาสตร์

ประวัติคณะพุทธศาสตร์

         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในครั้งแรกได้ทรงพระราชทานนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย”มหาธาตุวิทยาลัย เปิดสอนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙  โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎก และวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้จัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย   จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะแรกที่เปิดสอน คือ คณะพุทธศาสตร์

          ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐  ปี ที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ผลิตบัณฑิตตามพันธกิจเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และให้บริการวิชาการแก่สังคม จากการที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคม ประเทศชาติและพระศาสนา รัฐบาลได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ ให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยนี้ จึงมีชื่อตามกฎหมายว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”คณะพุทธศาสตร์ เป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ที่เปิดการศึกษาเน้นหนักในด้านภาษาบาลี พระพุทธศาสนา ศาสนาและปรัชญา ในชั้นแรกแบ่งหลักสูตรออกเป็น ๔ ภาควิชา คือ :-

           ๑.  ภาควิชาภาษาบาลี

           ๒.  ภาควิชาพระพุทธศาสนา

           ๓.  ภาควิชาศาสนาและปรัชญา

           ๔.  ภาควิชาภารตวิทยา

        ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีผู้สำเร็จปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่นแรก จำนวน ๔ รูป   และอนุปริญญา (อนุ พธ.บ.) จำนวน  ๒ รูป  

       คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งการศึกษาออกเป็น ๓ ภาควิชา  มี  ๗ สาขาวิชาเอก และ ๒ สาขาวิชาโท ดังต่อไปนี้ :-

        ๑. ภาควิชาพระพุทธศาสนา

        -    สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

        -    สาขาวิชาพระอภิธรรม

        -    สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

        -    วิชาโทโบราณคดี

        -    บัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสนามหาบัณฑิต  สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

        ๒. ภาควิชาศาสนาและปรัชญา

        -    สาขาวิชาศาสนา

        -    สาขาวิชาปรัชญา

        -    สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

        -    บัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

        ๓. ภาควิชาบาลีและสันสกฤต

        -    สาขาวิชาภาษาสันสกฤต

        -    สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์

        -    สาขาวิชาภาษาบาลี

        -    สาขาวิชาบาลีสันสกฤต

        -    วิชาโทภาษาฮินดี

        -    หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาบาลี

        ในปัจจุบันนี้  คณะพุทธศาสตร์  เปิดสอนระดับปริญญาตรี ๗ สาขาวิชา  ระดับปริญญาโท ๒ สาขาวิชา และหลักสูตรประกาศนียบัตร ๓ หลักสูตร คือ

       ๑. ภาควิชาพระพุทธศาสนา

            พุทธศาสตรบัณฑิต

               - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

               - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

               - สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา (เปิดปีการศึกษา ๒๕๖๒)

           พุทธศาสตรมหาบัณฑิต

               - สาขาวิชาพระไตรปิฏกศึกษา (บัณฑิตศึกษา)

           ใบประกาศนียบัตร

               - หลักสูตรประกาศนียบัตรพระพุทธศาสนา (ป.พศ.)

               - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิปัสสนากัมมัฎฐาน (ป.วน.)

               - หลักสูตรประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา (ป.ตศ.) (เปิดภาคเรียนที่ ๒)

       ๒. ภาควิชาศาสนาและปรัชญา     

           พุทธศาสตรบัณฑิต

             - สาขาวิชาศาสนา  (บรรพชิต)

             - สาขาวิชาศาสนา  (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

             - สาขาวิชาปรัชญา

             - สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)

          พุทธศาสตรมหาบัณฑิต

             - สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (บัณฑิตศึกษา)

       ๓. ภาควิชาบาลีและสันสกฤต

           พุทธศาสตรบัณฑิต

              - สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต

          ใบประกาศนียบัตร

             - หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาบาลี  (ป.บล.)


วัตถุประสงค์

๑. มุ่งพัฒนาคณะพุทธศาสตร์และบุคลากรให้สามารถปฏิบัติภารกิจหลักด้านการผลิต บัณฑิต การพัฒนาวิชาการ การวิจัย การส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการทะนุบํารุง ศิลปวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. มุ่งพัฒนาคุณภาพของนิสิตให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สถาบันสังคมและพระพุทธ ศาสนา
๓. มุ่งพัฒนาคณะพุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา และบาลีสันสกฤต
๔. มุ่งสนองนโยบายของมหาเถรสมาคม คณะสงฆ์และรัฐบาลในการดําเนินกิจกรรม ด้านพระพุทธศาสนา

      วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ สภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติ ให้จัดตั้งศูนย์การศึกษาของมหาจุฬาลงกรณาราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาวัดนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ โดยจัดตั้งคณะพุทธศาสตร์คณะเดียว
      วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๑ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย อนุมัติโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ เป็นปีแรก
      วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ประชุมมีมติ ยกฐานะห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดพระศรี รัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ขึ้นเป็นวิทยาลัย ในนามวิทยาลัยสงฆ์ พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้มีข้อกําหนดมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช พุทธศักราช ๒๕๔๘ โดยให้ตราข้อกําหนดไว้ดังนี้
     วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๔ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย อนุมัติโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพระพุทธ ศาสนา ไปยังวัดไพรสณฑ์ศักดาราม อําเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
      วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย อนุมัติโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพระพุทธ ศาสนา ไปยังวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
      วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย อนุมัติโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา พระพุทธศาสนา ไปยังวัดโสธรวราราม ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
      วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย อนุมัติโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา พระพุทธศาสนา ไปยังวัดไชยชุมพลชนะสงคราม อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี
      วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศเปิดหน่วยวิทยบริการ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วัดหงส์ประดิษฐาราม อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
      วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะพุทธศาสตร์ เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ ขึ้นครั้งแรก โดยจัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
      วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ภาควิชาพระพุทธศาสนา เปิดสอนสาขาวิชา อภิธรรม สําหรับนิสิตคฤหัสถ์ เป็นครั้งแรก โดยจัดการเรียนการสอนที่ อาคารมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
      วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะพุทธศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคภาษาอังกฤษ เป็นครั้งแรก (B.A.)
      วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ภาควิชาพระพุทธศาสนา เปิดสอนสาขาวิชา พระพุทธศาสนา สําหรับนิสิตคฤหัสถ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการเรียนการสอนที่ อาคาร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
      วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ย้ายสํานักงานคณะพุทธศาสตร์ จากวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ ไปยัง อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕ คณะพุทธศาสตร์ ร่วมกับ คณะศรัทธา “บัลลังก์บุญ” นําโดย คุณศิรรมย์ นาคะเกศ และคุณเอกชัย พร้อมคณะ ได้สร้างพระพุทธรูปพร้อม เครื่องสูงประดับประจําองค์พระ ประจําห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๕ อาคารเรียนรวมทั้ง ๔ โซน ซึ่ง พระราชวรมุนี, ดร. (พล อาภากโร) คณบดีคณะพุทธศาสตร์สมัยนั้นได้ถวายชื่อไว้เป็นพุทธ บูชาแก่พระพุทธรูปดังนี้ สมเด็จพระพุทธอภัยมงคล ประจําคณะครุศาสตร์ สมเด็จพระพุทธ อนันตคุณ ประจําคณะพุทธศาสตร์ สมเด็จพระพุทธทิพยปราการ ประจําคณะสังคมศาสตร์ และสมเด็จพระพุทธภัทรปารมี ประจําคณะมนุษยศาสตร์
      วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ คณะพุทธศาสตร์จัดงานฉลองครบรอบ ๖๕ ปี คณะพุทธศาสตร์ ณ อาคารหอประชุม มวก.๔๔ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีการเปิดป้ายประจําคณะทําด้วยไม้ โดยการบริจาคจากกลุ่มนิสิตพระสังฆาธิการ จังหวัดอ่างทอง
      วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ คณะพุทธศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนที่ มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย อนุมัติยกโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา พระพุทธศาสนา วัดโสธรวราราม ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ขึ้นเป็น วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร 
      วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภาควิชาศาสนาและปรัชญา เปิดสอนหลักสูตร พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา ภาคภาษาอังกฤษ (B.A.)
      วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ มูลนิธิโพธิวรรณา อันมี แม่ชีณัฐญาวรรณ เปรมสกุล เป็นประธาน ได้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าคณะพุทธศาสตร์ พร้อมด้วย ศาลาพักจํานวน 5 หลัง และได้ตั้งชื่อว่า สวนโพธิวรรณา
      วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้พัฒนาห้องเรียน ๓๑๙ เป็นห้องสํานักงานหลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบและพระไตรปิฎกศึกษา โดยผู้บริจาค งบประมาณการปรับปรุงห้อง คือ พระราชสิทธิมุนี วิ. และนายแพทย์รัศมี – คุณหญิงสมปอง วรรณิสสร


เข้าสู่เว็บไซต์คณะพุทธศาสตร์