คณะมนุษยศาสตร์

ประวัติคณะมนุษยศาสตร์

        คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities) เดิมชื่อว่า คณะเอเชียอาคเนย์ ดําเนินการ จัดตั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ อันเป็นถิ่นที่ ประเทศไทยตั้งอยู่ และเพื่อนําความรู้นั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการดํารงและเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์
       พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ โดยขยายขอบเขตวิชาที่ ศึกษาในคณะนี้ให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงวิชาประเภทมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์ประชาชนเพื่อให้พระภิกษุสามเณร ได้ปฏิบัติหน้าที่ ของตน เพื่อบําเพ็ญประโยชน์ในด้านสาธารณูปการและเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนได้อย่างแท้จริง
       คณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ ได้แบ่งงานออกเป็นส่วนงาน ดังนี้
๑. ภาควิชาภาษาไทย แขนงวิชาภาษาไทย
๒. ภาควิชาภาษาอังกฤษ แขนงวิชาภาษาอังกฤษ
๓. ภาควิชาเอเชียอาคเนย์วิทยา
    ๓.๑ แขนงวิชาภูมิ
          - ประวัติศาสตร์
    ๓.๒ แขนงวิชาไทยคดี
    ๓.๓ แขนงวิชาเอเชียอาคเนย์คดี
    ๓.๔ แขนงวิชาศิลปะและโบราณคดี
๔. ภาควิชาสังคมศาสตร์
    ๔.๑ แขนงวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    ๔.๒ แขนงวิชาสุขศาสตร์
    ๔.๓ แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์
    ๔.๔ แขนงวิชาการปกครอง
    ๔.๕ แขนงวิชากฎหมาย

    ในช่วงแรกได้เปิดหลักสูตรภาควิชาภาษาอังกฤษ แขนงวิชาภาษาอังกฤษ มีบัณฑิตสําเร็จ การศึกษารุ่นแรก จํานวน ๑๔ รูป
     พ.ศ. ๒๕๒๗ มหาวิทยาลัย ได้แยกคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ ออกเป็น ๒ คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ โดยกําหนดให้คณะมนุษยศาสตร์ รับผิดชอบจัดการ ศึกษาในด้านภาษา ประวัติศาสตร์ และจิตวิทยา ส่วนคณะสังคมศาสตร์ รับผิดชอบจัดการศึกษา ด้านสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยได้ปรับลดโครงสร้างหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต จาก ๒๐๐ หน่วยกิต เป็น ๑๕๐ หน่วยกิต
     ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์ ได้แบ่งงานออกเป็นส่วนงาน ดังนี้
     ๑. สํานักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์
     ๒. ภาควิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาไทย
     ๓. ภาควิชาภาษาต่างประเทศ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
     ๔. ภาควิชาจิตวิทยา สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยา
     ๕.หลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขา วิชาพุทธจิตวิทยา สาขาวิชาชีวิตและความตาย
     ๖. หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา สาขาวิชาภาษาศาสตร์
     ๗. หน่วยวิทยบริการคณะมนุษยศาสตร์ ณ เสถียรธรรมสถาน กรุงเทพมหานคร

วิสัยทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์

ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บัณฑิตมีความรู้พระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการ กับภาษาไทย ภาษาอังกฤษ พุทธจิตวิทยา จิตวิทยา มีคุณธรรม จริยธรรม มีศักยภาพที่จะพัฒนา ตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

เอกลักษณ์คณะมนุษยศาสตร์

“จัดการศึกษาและบริการวิชาการพระพุทธศาสนาบูรณาการกับภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และจิตวิทยา"

อัตลักษณ์คณะมนุษยศาสตร์

“ประยุกต์หลักไตรสิกขาบูรณาการกับภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และจิตวิทยาเพื่อพัฒนา สังคม”

อัตลักษณ์บัณฑิต

“รอบรู้วิชาการพระพุทธศาสนา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา มีจิตอาสาพัฒนาสังคม”

คณบดีตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
๑. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์ ปุณณโก) คณบดีคณะเอเชียอาคเนย์ พ.ศ. ๒๕๐๖
๒. พระกวีวรญาณ (จํานงค์ ทองประเสริฐ) คณบดีคณะเอเชียอาคเนย์ พ.ศ. ๒๕๐๗
๓. พระมหาศิลา วีรเสฏโฐ (รศ.สิริวัฒน์ คําวันสา) คณบดีคณะเอเชียอาคเนย์ พ.ศ. ๒๕๐๙
๔. พระมหาวิสุทธิ์ ปุญญสสโร (พระครูประกาศิตพุทธศาสตร์) คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๘
๕. พระมหาสมชัย กุสลจิตโต (พระราชปัญญาเมธี) คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๒
๖. พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลยาณธมโม) คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๗
๗. พระมหาสุริยา วรเมธี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๒
๘. พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลยาณธมโม) คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๕
๙. พระมหาขวัญชัย กิตติปาโล คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๗
๑๐. พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนโท, ผศ.ดร. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๔ -๒๕๖๑
๑๑. พระศรีสิทธิมุนี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕
๑๒. พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, รศ.ดร. 
๒๕๖๕ -ปัจจุบัน