ผู้อำนวยการ
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร.


ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา
035-248-000 ต่อ 8505

สถานที่เกิด

อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ตำแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์ สาขาวิชา ศาสนาและเทววิทยา อนุสาขา พระพุทธศาสนา” ประจำคณะพุทธศาสตร์ มจร.

ตำแหน่งทางคณะสงฆ์

 

ที่อยู่ปัจจุบัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (พระกุฏิ) แขวงดุสิต เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร  ๑๐๓๐๐

สถานที่ทำงาน

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อาคารเรียนรวม โซน A ชั้น 4 อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การติดต่อ

chiravat.kan@mcu.ac.th

การศึกษา

นักธรรมชั้นเอก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

 สำนักเรียนคณะจังหวัดพิษณุโลก

เปรียญธรรม ๙ ประโยค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ปริญญาตรี  พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปริญญาโท ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ปริญญาเอก พธ.ด. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน

ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อาจารย์ประจำภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์

อาจารย์ประจำหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

อาจารย์ประจำหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนาศึกษา

อาจารย์ผู้ประจำหลักสูตร ปริญญาเอก สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

ประวัติการศึกษาดูงาน

  1. พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบหมายให้ พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ   เป็นประธานนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ เดินทางสานสัมพันธไมตรีด้านพระพุทธศาสนา การศึกษาและวัฒนธรรม ประเทศสาธารณรัฐจีน การนี้ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมเดินทางไปในการประชุมครั้งนี้ด้วย ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ วัดจงไถซาน มหานครไทเป

  2. ศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมกับ ชมรมนักศึกษาสงฆ์ลาว (ส่วนกลาง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดโครงการค่ายนิสิตจิตอาสาอาเซียน (ASEAN Volunteering Spirit and Leadership Youth Camp in LAOS)  ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ โดยผู้นำนิสิตและสมาชิกชมรมลงพื้นที่โรงเรียนต่าง ๆ ของเมืองหลวงพระบาง จัดกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับยุวชนและโรงเรียน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะนำมหาวิทยาลัยแก่เยาวชนที่สนใจศึกษาในประเทศไทย

  3. วันจันทร์ที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘ พระมหามหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ รศ.ดร.ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มจร เข้าถวายสักการะ สมเด็จพระพรหมรัตนมุนี (Samdach Preah Brahmaratanamuni PIN-SEM Siresuvanno, Supreme Advisor of Board Sangha Committee, Sangha House Theravada Member of Cambodian Buddhism) ณ วัดโพธิ์ นครเสียบเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา โอกาสนี้ สมเด็จพระพรหมรัตนมุนี เมตตาถวายการปฏิสันถารและมีพระเมตตาประทานพระโอวาทแสดงความขอบคุณ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมี พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ที่นำคณะผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเข้ากราบคาราวะ เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะสงฆ์กัมพูชา และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

  4. ศูนย์อาเซียนศึกษา จัดกิจกรรม ASEAN Fellowships Program ระหว่างวันที่ ๑๐-๒๒ เมษายน ๒๕๖๖ โดยนำนิสิตและผู้สนใจเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมราชอาณาจักรกัมพูชา โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกัมพูชาซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในสังคมอุษาคเนย์ และการพัฒนาเครือข่ายด้านอาเซียนศึกษาในระดับภูมิภาคกิจกรรม ASEAN Fellowships Program ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการวิจัยทางพระพุทธศาสนา โดย มี ดร.ลำพอง กลมกูล รักษาการผู้อำนวยการส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ เป็นผู้ดำเนินการ โดยวันที่ ๑๙ และ วันที่ ๒๐ ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมได้ลงพื้นที่เมืองเสียมราช ทำกิจกรรมทัศนศึกษาที่นครวัดและนครธม และเข้าร่วมประชุมที่ Center of Khmer Studies ในการนี้ ดร.สุภาพรรณ เพิ่มพูล กรรมการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา กล่าวว่า การประชุมและการเข้าพบองค์กรและผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ถือว่าประสบผลสำเร็จ และผลการเจรจาความร่วมมือครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือในอนาคต 

    -ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๖ ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมเดินทางไปประชุมที่กระทรวงศึกษา เยาวชนและกีฬา รับฟังการบรรยายเรื่อง Policy and Education of Cambodia จากนั้นได้จัดประชุมสัมมนาเรื่อง Early Theravada in Cambodia ณ วิทยาลัยพระสีหนุราช ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากพระเดชพระคุณ The Most.Ven. Chuon Savoen รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระสีหนุราช เป็นประธานและให้เกียรติต้อนรับศูนย์อาเซียนศึกษา หลังการสัมมนา คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยพระสีหนุราช ได้เสนอต่อที่ประชุมเรื่องการทำความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและวิทยาลัยพระสีหนุราช ซึ่งภายใต้ MOU ดังกล่าวจะสิ้นสุดภายในสิ้นเดือนตามระยะเวลา โอกาสนี้ คณะผู้บริหารเห็นว่าเพื่อเป็นการยกระดับภาคีเครือข่ายและสานสัมพันธ์อันมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนาทั้งสองประเทศให้มั้นคง สถาพร จึงเห็นควรเสนอให้มีการจัดทำความร่วมมือร่วมกันต่อไป

  5. วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. นำผู้บริหารคณาจารย์และผู้เข้าร่วมการสัมมานาเครือข่ายพุทธศาสนาลุ่มน้ำโขงเข้าเยี่ยมชมศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่ง สปป ลาว โดยได้รับความกรุณาจากคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการต่างประเทศถวายการต้อนรับ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนภาคีประสานงานด้านพระพุทธศาสนาของอนุภูมิภาคศึกษาในกลุ่มลุ่มน้ำโขงตอนกลาง โดยวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ความร่วมมือและการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย

ผลงานวิจัย

๑. ผู้ร่วมโครงการงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในจังหวัดลำปาง”.ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๗ 
๒. หัวหน้าโครงการงานวิจัยเรื่อง“การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวคิดและบทบาทองค์กรทางศาสนา พุทธ คริสต์”. ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๖๐
๓. หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาโครงสร้างคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ในแง่ของศีลและพรต”. ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๖๑
๔. หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “มโนทัศน์เรื่องแม่ในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษากระบวนการกำเนิดโดยใช้วิธีการตั้งครรภ์แทน”. ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๖๒
๕. ผู้ร่วมโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในยุคปัจจุบัน” ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๓ 
๖. หัวหน้าโครงการงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธของนิสิตอาเซียน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมอุดมสุข” ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๘ 

บทความวิจัย/บทความวิชาการ

พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร.. “การวิเคราะห์การตีความว่า “ธรรม”ของพุทธทาสภิกขุ”. บทความวิชาการ. วารสารวิชาการวารสารเซนต์จอห์น. ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๗ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐)
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร. “พุทธศิลป์:พุทธชินราช”. บทความวิจัย. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. คณะพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑. (มกราคม – มิถุนายน๒๕๖๐) 
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร. “ศาสนาพุทธกับโลกสมัยใหม่:สตรีกับศาสนา”.บทความวิชาการ. วารสารการพัฒนาสังคม(JMSD). ภาควิชาพัฒนาสังคม : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม, ๒๕๖๑)
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร. “หลักสิทธิมนุษยชนตามหลักในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท”. บทความวิจัย. วารสารการพัฒนาสังคม(JMSD). ภาควิชาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ ๓. ฉบับที่ ๑. (มกราคม-เมษายน, ๒๕๖๑)
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร. “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวคิดและบทบาทองค์กรทางศาสนาพุทธคริสต์”. บทความวิจัย. วารสารวิชาการวารสารเซนต์จอห์น. ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๙ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑) 
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร. “การศึกษาโครงสร้างคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค ในแง่ของศีลและพรต”. บทความวิจัย. วารสารวิชาการวารสารเซนต์จอห์น. ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๙ (กรกฎาคม- ธันวาคม ๒๕๖๒) 
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ดร. “มโนทัศน์เรื่องแม่ในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษากระบวนการกำเนิดโดยใช้วิธีการตั้งครรภ์แทน”. บทความวิชาการ. วารสารการมหาจุฬาวิชาการ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ ๗ ฉบับพิเศษ เนื่องในงานประสาทปริญญา ประจำปี ๒๕๖๓.
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.และคณะ “รูปแปบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้    พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา”. บทความวิชาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ ๙ ฉบับ ๕ (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๖๔)
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,ผศ.ดร. และพระมหาชาติชาย ปญฺญาวชิโร, “บทบาทพุทธศิลปะในวิถีการดำเนินชีวิตของประชาคมอาเซียน”,วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓)

หนังสือ/เอกสารประกอบการสอน/คำสอน

หนังสือเรื่อง พุทธทาสภิกขุ : การศึกษาวิเคราะห์ และการตีความคำว่า“ธรรม”.  (ลำปาง: สำนักพิมพ์คำนำ, พ.ศ.๒๕๖๓) จำนวน ๗๖๒ หน้า.

หนังสือเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน”. (ลำปาง: สำนักพิมพ์คำนำ, พ.ศ.๒๕๖๓) จำนวน ๖๕๕ หน้า.

หนังสือเรื่อง “พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์”.  (ลำปาง: สำนักพิมพ์คำนำ, พ.ศ.๒๕๖๔) จำนวน ๔๐๑ หน้า.

หนังสือเรื่อง “พุทธศิลป์ พระพุทธชินราช: ประวัติและพัฒนาการทางพระพุทธศาสนา”. (ลำปาง: สำนักพิมพ์คำนำ, พ.ศ.๒๕๖๔)จำนวน ๖๒๖ หน้า.

หนังสือเรื่อง “ตามรอยบาท (อินเดีย-เนปาล) พระศาสดา” (กรุงเทพฯ: ดีเซมเบอรี่,   ๒๕๖๖. จำนวน ๑๕๑ หน้า.

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์” บรรยายแก่นิสิตชั้นปีที่ ๓, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, พ.ศ. ๒๕๖๐

เอกสารประกอบคำสอนวิชา “วิสุทธิมัคคศึกษา”  (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ.๒๕๖๓) จำนวน ๓๒๑ หน้า.

เอกสารประกอบคำสอนวิชา “พุทธศิลปะ”  (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ.๒๕๖๔) จำนวน ๔๙๗ หน้า.

ประสบการณ์สอนระดับ

ประกาศนียบัตร/ปริญญาตรี ๓ ปีย้อนหลัง

๒๕๖๕- ๒๕๖๗

  1. วน ๐๑๕ การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

  2. พศ ๐๑๘ พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์

  3. ตศ ๐๐๓ พระสุตตันตปิฎก

  4. 0SP ๑๐๗ แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๓

  5. ๑๐๑ ๔๓๑ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

  6. ๐๐๐ ๑๔๘ พระวินัยปิฎก

  7. ๐๐๐ ๑๕๐ พระอภิธรรมปิฎก

  8. ๑๐๑ ๔๓๑ พระพุทธศาสนากับสตรี

  9. ๐๐๐ ๑๔๗ พระไตรปิฎกศึกษา

  10. ๐๐๐ ๒๖๐ การปกครองคณะสงฆ์ไทย

  11. ๑๐๑ ๔๑๓ พุทธศิลปะ

  12. ๐๐๐ ๑๔๖ แต่งแปลบาลี

  13. ๑๐๑ ๑๐๒ พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์

  14. ๑๑๑ ๔๒๔ สัมมนาวิปัสสนาภาวนา

  15. ๑๑๑ ๓๐๓ การพัฒนาจิตตามหลักพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่

  16. ๑๑๑ ๓๓๕ ภาษาบาลีเพื่อการศึกษาวิปัสสนาภาวนา

  17. ๑๑๑ ๓๑๒ วิสุทธิมรรคกับวิมุตติมรรคเปรียบเทียบ

ประสบการณ์สอนระดับปริญญาโท ๓ ปีย้อนหลัง

๒๕๖๕- ๒๕๖๗

  1. ๖๒๐ ๑๐๖ พระวินัยปิฎกวิเคราะห์

  2. ๖๒๐ ๒๐๗ พระสุตตันตปิฎกวิเคราะห์

  3. ๖๒๐ ๓๐๘ พระอภิธรรมปิฎกวิเคราะห์

  4. ๖๒๐ ๒๐๙ ประวัติอารยธรรมอินเดียโบราณ

  5. ๖๐๐ ๒๐๖ สัมมนาวิทยานิพนธ์

  6. ๑๐๒ ๓๐๒ การใช้ภาษาบาลี ๑       

  7. ๑๐๒๓๐๖ การใช้ภาษาบาลี ๒

ประสบการณ์สอนระดับปริญญาเอก ๓ ปีย้อนหลัง

๒๕๖๕- ๒๕๖๗

  1. ๘๑๖ ๑๐๖ พระวินัยปิฎกวิเคราะห์

  2. ๘๑๖ ๒๐๗ พระสุตตันตปิฎกวิเคราะห์

  3. ๘๑๖ ๓๐๘ พระอภิธรรมปิฎกวิเคราะห์

  4. ๘๑๖ ๑๐๖ ศึกษาเฉพาะเรื่องในพระวินัยปิฎก

  5. ๘๑๖ ๒๐๗ ศึกษาเฉพาะเรื่องในพระไตรปิฎก

  6. ๘๑๖ ๓๐๒ การใช้ภาษาบาลี ๑

  7. ๘๑๖ ๓๑๖ การใช้ภาษาบาลี ๒

รางวัล/เกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. ๒๕๖๒

๑) รางวัลคชจักร ประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ มีผลงานระดับนานาชาติ          ด้านส่งเสริมการอาเซียนดีเด่นจากสภาสื่อมวลชนเพื่อพระพุทธศาสนา(สพศ.)       เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒.

๒) รางวัลเกียรติคุณนานาชาติMaha Nãga Awards 2019” ประเภทผู้ทำ  คุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคมดีเด่น จากสมาคมสื่อ    สร้างสรรค์        (ส.ส.ส) ฯ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒.

 พ.ศ. ๒๕๖๔

๑)  รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา “เสาเสมาธรรมจักร” ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สาขา “การแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา”

๒) รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “ด้านผลงานสร้างสรรค์ และหรือผลงานด้านวิชาการ”

๓) วุฒิบัตรพระธรรมทูต  โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ที่ ๒๗ ประจำปี    พ.ศ. ๒๕๖๔ จากวิทยาลัยพระธรรมทูตสายต่างประเทศ   ณ อาคารหอประชุม มวก ๔๘ พรรษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช      วิทยาลัย อยุธยา

 พ.ศ. ๒๕๖๕

รางวัลโล่เชิดชูเกียรติ “คนดีศรีพิษณุโลก” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ จาก  สภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก มอบโดยท่านรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพิษณุโลก ณ พระวิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  วรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕

 พ.ศ. ๒๕๖๗

รางวัลโล่เกียรติคุณ “คนดีศรีพุทธศาสตร์” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ จาก  คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ ๒๓     กันยายน ๒๕๖๗ ณ อาคารหอประชุม มวก ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัย     มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา