“พระพรหมวชิราธิบดี” พระเถระศรีสังฆวรนายก มหาจุฬาลงกรณดิลกบริหาร อธิบดีสงฆ์ธรรมคุปต์สุพพิธาน ปริยัติไพศาลพรหมวิหารคุณ
“เจ้าคุณประสาร”เปิดใจวันมหาปวารณา เพราะความจนจึงต้องสนใจการเมือง
วันที่ 26 ตุลาคม 2566 พระอุดมสิทธินายก, รศ.ดร. คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มอบหมายให้ พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และพระสมุห์ประจิรักษ์ มหาปญฺโญ. รองผู้อำนวยการส่วนทะเบียนนิสิต /ผศ.ดร.รัฐพล เย็นใจมา หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และรับสมัครนิสิตใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567 ให้แก่คณะสงฆ์และพระภิกษุ สามเณร ผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ณ สนามสอบธรรมสนามหลวงนักธรรมชั้นตรีภายในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดราษฎร์บรรจง ตำบลลำตัดเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี โท และเอก เป็นจำนวนมาก
ขอเชิญนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ครั้งที่ 3 ถวายเป็นอาจาริยบูชา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช,อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร,อดีตนายกสภามหาวิทยาลัย,ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคาร 72 ปี พระวิสุทธาธิบดี (หอฉันชั้น 4)
24 ตค 66 พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี,ดร. คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับนิสิตหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นที่ 9 พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะครุศาสตร์ จำนวน 220 รูป/คน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
วันที่ 23 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดงานวันปิยมหาราชรำลึก นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ผู้แทนจากส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ผู้แทนจากส่วนงานภายนอก ร่วมพิธีวางพวงมาลา หน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
"มจร" สุดปลาบปลื้ม! ผลประเมินคุณภาพการศึกษาได้คะแนน 4.52 จากเต็ม 5 อยู่ระดับ "ดีมาก"
วันที่ 17 ต.ค. 66 พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ วารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS ของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการขึ้น สู่ฐานวารสารข้อมูล SCOPUS นับว่าเป็นวารสารฉบับแรกของมหาจุฬาฯ และเป็นวารสารทางพระพุทธศาสนาฉบับแรกของไทยที่ได้รับการยอมรับในฐานวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติของ SCOPUS ซึ่งตนเองในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่ ริเริ่มทำตรงนี้ ภูมิใจอย่างยิ่ง ร่วมทั้งขอแสดงความยินดีกับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ผลักดันวารสารทางวิชาการ Journal of International Buddhist Studies : JIBS จนได้รับการยอมรับจากวารสารระดับนานาชาติของ SCOPUS ซึ่ง SCOPUS เป็นฐานข้อมูลทางวิชาการนานาชาติที่ทั่วโลกยอมรับ โดย SCOPUS มีฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อ ครอบคลุมภาพรวมผลงานวิจัยทั่วโลกในเนื้อหาในลักษณะสหสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลการอ้างอิงและอ้างถึง (Citation Database) ให้ข้อมูลการอ้างอิงผลงานวิจัยและพัฒนา ใช้เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยวิชาการ (Research Performance Assessment) พัฒนาและให้บริการโดยสำนักพิมพ์ Elsevier B.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2547 โดย Scopus ให้บริการข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อในฐานข้อมูล จำนวนมากว่า 77 ล้านรายการ ครอบคลุมเอกสารและแหล่งข้อมูลประเภทต่างๆ ดังนี้