www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา
22 พ.ค. 56 | ข่าวมหาวิทยาลัย
137
ข่าวมหาวิทยาลัย
การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา
วันที่ ๒๒/๐๕/๒๐๑๓ เข้าชม : ๓๗๖๙ ครั้ง

     การศึกษาของโลกในยุคปัจจุบันอาจต้องเป็นการศึกษาเพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีศักยภาพในการตอบรับความท้าทายของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ นี่คือสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจในด้านการเปลี่ยนถ่ายการจัดการเรียนการสอนแบบเก่าไปสู่แบบใหม่ ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบเก่ามักถูกวิภาควิจารณ์ถึงข้อจำกัดด้านหลักสูตร ผู้วิจารณ์ต้องการให้ยกระดับหลักสูตรไปสู่เป้าหมายระดับสากล เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวที่ท้าทายต่างๆ ของโลกปัจจุบัน หลักสูตรต้องสามารถเชื่อมต่อผู้เรียนให้สามารถตอบรับความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างประสบความสำเร็จ    
     การเสวนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ถึงการออกแบบระบบการศึกษาสำหรับการเป็นพลเมืองโลกในสังคมพุทธ โดยยึดพื้นฐานด้านคุณค่า แบบอย่างที่ดี และวิถีทางการดำเนินชีวิตตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงไว้ในเมตตสูตร ปัจจุบันนี้สังคมที่พัฒนาแล้วมักจะพิจารณาการศึกษาว่าเป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นพลเมืองโลก สิ่งที่เป็นที่นิยมทั่วโลกในขณะนี้คือความต้องการออกแบบระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองโลก หลายชุมชน สังคมมองการศึกษาว่าเป็นการลงทุนเรื่องคนบนพื้นฐานของแต่ละบุคคล ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นกระบวนที่ทำอย่างรอบครอบและตั้งใจสำหรับให้อำนาจแก่เยาวชนรุ่นใหม่ให้สามารถต่อสู้กับความท้าทายที่ไม่แน่นอนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
     จากข้อมูลปี 2008 มีเด็กๆ ทั่วโลกนี้กว่า 69 ล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ กว่าครึ่งหนึ่งของพลเมืองที่ไม่ได้รับการศึกษาอยู่ใน 15 ประเทศเท่านั้น และที่สำคัญคือจาก 15 ประเทศนั้นมี 3 ประเทศที่มีพลเมืองส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา (ประเทศไทยมีเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา 0.6 ล้านคน) หรือมีพลเมืองส่วนน้อยที่นับถือพระพุทธศาสนา (อินเดีย 5.6 ล้านคน และบังคลาเทศ 2 ล้านคน) ซึ่งรวมถึงเด็กๆ ที่ไม่ได้รับการศึกษาด้วย เป้าหมายการพัฒนาในระยะหนึ่งพันปีจะมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการศึกษาเพื่อกำจัดความยากจน และความไม่เสมอภาคทางเพศ ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงแหล่งการศึกษาและผลสำฤทธิ์ทางการเรียนรู้ถูกมองว่าเป็นกำแพงอันมหึมาในการให้การศึกษาแก่คนทุกคน ความยากจนยังคงเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้ประชาชนทั่วโลกขาดโอกาส
      โดยทั่วไปแล้วการศึกษามีศักยภาพในการยกระดับการเป็นมนุษย์จากสภาพความยากจน สภาพทางการเมือง สังคม วัฒนธรรมและศาสนา เพื่อยกระดับความเข้าใจและการประเมินค่าให้สูงขึ้นการศึกษาทำให้มวลมนุษย์สามารถเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการศึกษายังรับประกันความสุขตลอดชีวิตสำหรับผู้เรียนอีกด้วยการศึกษาสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมสันติสุข และยุติธรรมในการวัดระดับสากล เมื่อการศึกษาให้กำเนิดความรู้สึกเป็นสังคมโลก
       ความจริงคือว่าพระพุทธศาสนาและสังคมชาวพุทธกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านความหลากหลายวัฒนธรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความต้องการให้พัฒนาวิสัยทัศน์ของพลเมืองโลก สิ่งนี้ผลักดันนักคิดชาวพุทธให้สะท้อนความคิดต่อการพัฒนาการศึกษาของพลเมืองโลกเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพลเมืองของชาติให้ประยุกต์ใช้วิสัยทัศน์ของโลกได้ ในการเตรียมพลเมืองสู่การเป็นพลโลกนั้น จำเป็นต้องยกระดับวิธีการศึกษาแบบเก่าให้เป็นการศึกษาแบบหนึ่งเดียว การจะเอาชนะข้อจำกัดด้านหลักสูตรแบบเดิมๆ การสร้างทัศนคติพลโลกใหม่ในด้านการจัดการศึกษานั้น พลเมืองสามารถได้รับการเตรียมความพร้อมและการเชื่อมต่อที่ดีเพื่อให้ตอบรับความท้าทายเรื่องราวต่างๆ ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     การสำนึกรู้ความเชื่อมต่อในด้านธุรกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางการเมืองและศาสนา เราควรใช้วิสัยทัศน์พลเมืองโลกแบบชาวพุทธเช่นหลักธรรมที่พบในเมตตสูตร (แนวคิดเรื่องการพัฒนาจิตประกอบเมตตา) เพื่อการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของระบบการศึกษา นี่อาจเป็นเพียงหนทางเดียวที่ชาวพุทธและสังคมพุทธสามารถเตรียมพลเมืองที่ดีกว่าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก   
ธรรมของพระพุทธเจ้าคือการสอนที่ดีที่สุดแก่มวลมนุษยชาติ โดยพระองค์เองซึ่งเปรียบเหมือนแสงสว่างของพระอาทิตย์ที่ส่องสว่างไปทั่วทุกมุมของโลก โดยเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นชาติ ศาสนา คนรวย หรือคนจน เพื่อช่วยให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์และพบความสุข พระพุทธเจ้าศากยมุนีเลือกที่จะออกบวชหลังจากออกจากราชสมบัติ และความสุขทุกอย่าง หลังจากค้นพบความจริงพระองค์ทรงสอนพระธรรมโปรดมนุษย์ตลอด 45 ปี ซึ่งเป็นหนทางไปสู่ความจริง และความสุขภายในจิตใจ การปลูกจิตสำนึกทางพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของการศึกษาคณะสงฆ์ ซึ่งหมายความว่า วัดควรที่จะเน้นการปฏิบัติเพื่อเป็นหนทางไปสู่นิพพาน ปาฏิโมกข์ก็เป็นฐานของปัญญา วินัยก็เป็นฐานคุณสมบัติที่ดีทุกอย่าง
     การเป็นประชาคมโลกก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะสร้างดินแดนที่บริสุทธิ์และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การศึกษาสำหรับปัญญานั้น ปัญญาไม่เพียงแต่การคัดเลือกข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งความคุ้มกันและความรัก ปัญญายังรวมไปถึงการมองเห็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ถ้าหลักสูตรเป็นส่วนที่สำคัญของปัญญาหลังจากนั้นเราจะสนับสนุน สิ่งนี้เข้าไปสู่โรงเรียนของเราอย่างไร หลักสูตรของโรงเรียนต้องแตกย่อยข้อมูลลงไปสู่บทเรียนด้วยการเน้นให้มีความรู้ต่อเนื่องได้ หลักสูตรควรพัฒนาภายใต้ความต่อเนื่องที่สำคัญ 6 อย่าง คือ
     1. หลักสูตร
     2. ชุมชน
     3. กายและใจ
     4. โลก
     5. ความคิด
     6. จิตใจ

     ยกตัวอย่างปัญญาที่ตั้งบนการศึกษาที่น่าสนใจที่สุด คือประเทศภูฏานซึ่งเป็นที่รู้จักคือเป็นประเทศที่มีเป้าหมายแรกคือพัฒนาความสุขมวลรวมของประเทศมากกว่าที่ไปเน้นเศรษฐกิจมวลรวม พวกเขาเน้นความสุขและการเป็นอยู่ที่ดี ภูฏานเน้นปัญญาที่ตั้งบนฐานวัฒนธรรมกับทัศนคติที่กว้างไกล

 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    74
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    311
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    322
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    109
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    119