ข่าวมหาวิทยาลัย |
ขันติธรรมทางศาสนาคสช.หวังแนวสร้างสันติสุขเออีซี | ||
วันที่ ๐๕/๐๙/๒๐๑๔ | เข้าชม : ๒๑๒๗ ครั้ง | |
จากกระแสความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของคนในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งขัดแย้งกันในด้านความคิด และความขัดแย้งกันทางด้านศาสนา หรือแม้แต่ในศาสนาเดียวกันก็ยังมีกรอบแนวคิดที่แตกต่างกัน ดังปรากฏที่มีการสู้รบกันเช่นปาเลสไตน์ภายใต้การนำของกลุ่มฮามาสสู้รบกับ ประเทศอิสราเอลที่มีความขัดแย้งกันด้านชาติพันธุ์โดยนำศาสนามาเป็นเครื่อง มือ ส่วนที่ประเทศอิรักที่กลุ่มไอเอสที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุนีย์สู้รบกับ รัฐบาลอีรักที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ กระแสความรุนแรงหวาดกลัวรุกลามไปตามพื้นที่ต่างๆ อย่างเช่นนายไอย์มาน อัล-ซาวาฮิรี ผู้นำเครือข่ายก่อการร้าย 'อัล ไกดา' ประกาศผ่านคลิปวิดีโอความยาว 55 นาที ที่เผยแพร่เมื่อวาน ระบุว่า อัล ไกดา ได้ตั้งสาขาใหม่ในอินเดีย เพื่อหวังแผ่ขยายการต่อสู้ในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยกองกำลังใหม่ จะทำลายพรมแดนที่แบกแย่งประชากรมุสลิมในภูมิภาคนี้ พร้อมกันนี้วิทยาศาสตร์ก็ท้าทายความเชื่ออยู่พอสมควรอย่างเช่นผลงานวิจัยทีม นักจิตวิทยาและแพทย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน (Technische Universität of Berlin) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมาว่า “ชีวิตหลังความตายมีอยู่จริง”ทั้งนี้จากผลการทดลองอิงจากพื้นฐานข้อสรุปของ การศึกษาที่ใช้ประสบการณ์การเฉียดความตายในทางการแพทย์ที่ได้รับออกแบบให้ เหมาะสมกับการทดลอง โดยทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามหลักการแพทย์ไปเป็นระยะเวลานาน 20 นาที ก่อนจะกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยถึงจะมีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ถึง กระนั้นก็ยังมีประเด็นศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงความขัดแย้งเกี่ยวกับกรณีกรณีพระอธิการคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จังหวัดปทุมธานี ตัดศีลปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์เหลือเพียง 150 ข้อ จากเดิม 227 ข้อเป็นต้น จากแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาดังกล่าวแม้ว่าจะมีองค์กรที่เรียกว่า องค์การสภาศาสนาโลกทำหน้าที่ในการระงับความขัดแย้ง โดยเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1893 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันแต่ความขัดแย้งทางศาสนาก็ยังมีอยู่
'มจร'เชิญ70ผู้นำศาสนาอาเซียนสร้างต้นแบบ'ขันติธรรมทางศาสนา' อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เห็นภัยของความขัดแย้งในรูปแบบต่างๆ ในฐานะที่สถานจัดการศึกษาต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพระหว่างศาสนา และสันติภาพโลกจึงได้เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา(เชิงพุทธ)ขึ้น โดยมี ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี หัวหน้าหลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา "มจร" เป็นหัวหน้าหลักสูตรปัจจุบันนี้เปิดเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว ประกอบกับในปี 2558 จะมีการเปิดประชาคมอาเซีน เพื่อเตรียมความพร้อมทาง มจร ร่วมกับสำหนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ"พศ."ได้รับนโยบายจากคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ(คสช.)ให้มาหาแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติในมติทาง ศาสนา จัดประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาระหว่างวันที่ 24-29 กันยายนนี้ ภายใต้ชื่อเรื่องว่า “ขันติธรรมทางศาสนา” (Religious Tolerance) ซึ่งสอดรับกับแนวทางที่ยูเนสโกให้ย้ำเตือนให้มนุษยชาติใช้หลักขันติธรรมมา เป็นเครื่องมือในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างมีผลสรุปที่จะนำ แนงทางนี้มาใช้เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของพลเมือง ประชาคมอาเซียน พระมหาหรรษา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเตรียมการจัดงานได้สรุปผลการประชุมเตรียมการดัง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ประกอบด้วย (1) เพื่อสร้างเวทีให้ผู้นำศาสนาต่างๆ ในประชาคมอาเซียน ได้นำเสนอองค์ความรู้ และหลักการสำคัญเกี่ยวกับขันติธรรมทางศาสนาตามที่ปรากฏในคัมภีร์ และความเชื่อของแต่ละศาสนา (2) เพื่อให้ผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียนได้ร่วมกันถอดบทเรียนเกี่ยวกับการอยู่ ร่วมกันอย่างมีขันติธรรมในประชาคมอาเซียนของแต่ละศาสนิกชนในประชาคมอาเซียน 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างผู้นำศาสนาในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเอื้อต่อการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ทางด้านศาสนาสังคมและวัฒนธรรมอย่างมีขันติธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (4) เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาระดับโลกในอนาคต โดยผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรทางพุทธศาสนาและศาสนา อื่นๆ ทั่วภูมิภาค สำหรับการประชุมโต๊ะกลมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาอาเซียนครั้งนี้ จะประกอบด้วยผู้นำศาสนาจากทุกศาสนาในประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ จำนวน 70 รูป/คน และจะมีนิสิตพร้อมทั้งบุคคลทั่วไปจำนวนทั้งสิ้น 300 รูป/คน กิจกรรมต่างๆ จะประกอบด้วยการศึกษาดูงานพื้นที่กุฎีจีนในเขตพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มคนที่มีความเชื่อที่แตกต่างระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วม กันอย่างสันติสุข การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ขันติธรรมทางศาสนา” โดยพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร และเลขาธิการอาเซียน การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “บทบาทของผู้นำศาสนากับการสร้างขันติธรรมในประชาคมอาเซียน” ระหว่างผู้นำจาก 5 ศาสนาหลัก การประชุมโต๊ะกลมเพื่อถอดบทเรียนของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน อย่างมีขันติธรรมของศาสนิกต่างๆ วันสุดท้ายจะเป็นการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้นำศาสนาต่อประเด็นการกำหนด กิจกรรม และสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต่อไป ซึ่งผู้สนใจในสามารถติดต่อสอบถาม หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 035 248098 หรือ โครงการปริญญาโทสาขาสันติศึกษา www.li.mcu..ac.th
จัดถก'ศาสนาในฐานะต้นเหตุแห่งสงครามและต้นตอแห่งสันติภาพ'
อิสลามเปิดตัวสถาบันวะสะฏียะฮ์แนวคิดทางสายกลาง ขณะเดียวกันทางด้านศาสนาอิสลามประจำประเทศไทยนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี พร้อมด้วยตัวกระทรวงศาสนสมบัติแห่งรัฐคูเวต ร่วมเปิดตัวสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา โดยมีนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนทูตานุทูตและอุปทูตคูเวตประจำประเทศไทย ร่วมด้วย เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2557 ที่ผ่านมา โดยนายอาศิส กล่าวว่า สถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา มีแผนการพัฒนาและยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านความคิดสายกลางในอิสลาม เพื่อเผยแพร่ให้สังคมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ดำรงอยู่ในทางสายกลางของทุกมิติคำสอน ทั้งเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจและการดำเนินชีวิต ซึ่งการเปิดสถาบันร่วมกับรัฐคูเวตครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญทาง ศาสนาเพื่อให้คนไทยได้มีความเข้าใจและเข้าถึงคำสอนของอิสลามได้ดียิ่งขึ้น
นักข่าวแนะรู้ปัญหาจริงลงคลุกพื้นที่ แนวทางดังกล่าวนี้ข้างต้นนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง'ขันติธรรมทางศาสนา' เป็นความพยายามและเป็นตัวเชื่อมให้ประชาคมอาเซียนและโลกอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุขบนสภาพพหุวัฒนธรรมความแตกต่างแต่ไม่แตกแยก
ที่มา: ‘ขันติธรรมทางศาสนา’คสช.หวังแนวสร้างสันติสุขเออีซี : สำราญ สมพงษ์รายงาน |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||