งานวิสาขบูชาโลกเผยแนวบริการกิจการทรัพย์สินสงฆ์
29 พ.ค. 58 | ข่าวมหาวิทยาลัย
352
|
ข่าวมหาวิทยาลัย |
|
งานวิสาขบูชาโลกเผยแนวบริการกิจการทรัพย์สินสงฆ์ |
วันที่ ๒๙/๐๕/๒๐๑๕ |
เข้าชม : ๑๔๖๖ ครั้ง |
งานวิสาขบูชาโลกเผยแนวบริการกิจการทรัพย์สินสงฆ์
บทความวิชาการงานวิสาขบูชาโลก เผยแนวบริการกิจการทรัพย์สินสงฆ์
วันที่สองแล้วของการการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 พ.ค.2558 ที่หอประชุม มวก. 48 พรรษา มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โดยวันที่ 29 พ.ค.2558นี้ เป็นการประชุมสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อหลักเรื่อง "พระพุทธศาสนากับวิกฤติของโลก (Buddhism and World)" มีองค์ประกอบด้วยหัวข้อย่อย (Sub-Theme) 4 ประเด็นคือ
(1) พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม (Buddhist Response to Social Conflict (2) พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อม (Buddhist Response to Environmental Degradation) (3) พุทธวิธีในการแก้วิกฤตทางการศึกษา (Buddhist Response to Educational Crisis และ (4) พระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน (Buddhism and ASEAN Community) พร้อมกันนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 กลุ่ม คือ (1) พระไตรปิฏกฉบับสากล (Common Buddhist Text:CBT) และ (2) สหบรรณานุกรมทางพระพุทธศาสนา (Union Catalogue of Buddhist Texts:UCBT)
และในช่วงนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการครอบครอบทรัพย์สินของวัดจนกระทั้งมีแนวความคิดออกมาเกี่ยวกับการจะจัดเก็บภาษีกับพระและวัดซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมกันนี้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของพระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ที่ละสังขาร รวมถึงการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นที่มีความสัมพันธ์กับพระและวัดย่านปทุมธานีโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ
การประชุมสัมมนานานาชาติครั้งนี้ได้มีการนำเสนอบทความเกี่ยวกับหัวข้อย่อยดังกล่าวในจำนวนนั้นมีเรื่อง "การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม : แนวคิดว่าด้วยทรัพย์สินส่วนกลางในสังคมสงฆ์" ที่เขียนโดยพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ อาจารย์ประจำหลักสูตรโครงการปริญญาโท สาขาวิชาสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยได้สรุปแนวทางการแก้ปัญหาไว้ว่า
"เมื่อวัตถุเป็นเป้าหมายแห่งความต้องการของสังคม สังคมก็มุ่งแก่งแย่ง แข่งขันกันเพื่อจะครอบครอบหรือเก็บไว้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ซึ่งนั้นก็เป็นเหตุให้ทรัพยากรหรือวัตถุผลผลิตขาดแคลนหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ตลอดถึงคนในสังคมบางส่วนถูกกีดกัน คือ ไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับการแบ่งปันโอกาสที่เท่าเทียมกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ความขัดแย้งในสังคมก็ย่อมเกิดขึ้นในไม่ช้า
พระพุทธเจ้าทรงเมื่อพระองค์มีโอกาสและอำนาจในการออกแบบหรือสร้างระบบสังคมใหม่ที่เป็นของตนเอง พระองค์จึงสร้างสังคมสงฆ์ที่มีสิทธิ์มีอำนาจหน้าที่ที่ขึ้นต่อกันและกัน ทรงมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อสังคมส่วนรวมเป็นหลักมากว่าการปกป้องสิทธิส่วนตัวของปัจเจกชน กล่าวคือ ทรงใช้ระบบรูปแบบทรัพย์สินส่วนกลาง โดยให้สงฆ์ทุกรูปสละส่วนเกินให้ตกเป็นของส่วนกลางเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
จึงจัดได้ว่า ระบบทรัพย์สินส่วนกลางของสงฆ์เป็นการปรับฐานเศรษฐกิจของแต่ละบุคคลให้เท่าเทียมกัน และเป็นการสะท้อนระบบโครงสร้างเศรษฐกิจของความเป็นสังคมหนึ่งเดียว ที่มีการแจกจ่ายแบ่งปันกันตามความสามารถและตามความต้องการหรือความจำเป็นของแต่ละบุคคล สังคมสงฆ์จึงมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ พร้อมทั้งความเสมอภาคทางด้านสิทธิและโอกาส ลดความขัดแย้ง สร้างความสามัคคีได้จริงเพราะไม่ต้องแข่งขันกัน สร้างวัฒนธรรมแห่งสันติสันสุขเพราะการแบ่งปันผลผลิตหรือปัจจัยสี่ตามความจำเป็น และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นบนฐานของการเคารพ และการให้เกียรติแก่กันและกันแม้ว่าจะไม่รู้จักกันมาก่อนก็ตาม"
เชื่อแน่ว่าการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้คงจะมีทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งในระดับประเทศไทยและโลกด้านต่างๆ
ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20150529/207109.html |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|