เตือนพระอย่าวิตกปฏิรูปพุทธของสปช.
19 มิ.ย. 58 | ข่าวมหาวิทยาลัย
395
|
ข่าวมหาวิทยาลัย |
|
เตือนพระอย่าวิตกปฏิรูปพุทธของสปช. |
วันที่ ๑๙/๐๖/๒๐๑๕ |
เข้าชม : ๑๖๕๑ ครั้ง |
เตือนพระอย่าวิตกปฏิรูปพุทธของสปช.
เตือนพระอย่าวิตกปฏิรูปพุทธของสปช.
“พระพรหมบัณฑิต”แจงยิบปฏิรูปพุทธ สปช. พระสังฆาธิการทั่วประเทศ ชี้อย่าวิตกข้อเสนอเก็บภาษีพระ หมุนเจ้าอาวาส 5 ปี ไม่มีเข้าครม. ย้ำชัดปฏิรูปพระต้องยึดหลัก 3 ประการ กฎหมายแผ่นดิน-พระธรรมวินัย-จารีต หากใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวส่งผลทำลายพุทธศาสนา พร้อมโต้ ม.สงฆ์สอนมาเป็น 100 ปีแล้ว มีจารีตเน้นวิชาพระจะมาตั้งคำถามกันทำไม“
เตือนพระอย่าวิตกปฏิรูปพุทธของสปช.
„วันนี้( 18 มิ.ย.) ที่หอประชุมพุทธมณฑลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) จ.นครปฐม พระพรหมบัณฑิต(ประยูรธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.)ในฐานะคณะทำงานผู้แทน มส.ศึกษาประเด็นการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)กล่าวในการบรรยายประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องประจำปี 2558ว่า ขณะนี้คณะสงฆ์เองได้เกิดความกังวลต่อแนวทางการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาของ สปช.ซึ่งขอให้พระสังฆาธิการทั่วประเทศได้เข้าใจ แนวทางที่ สปช.เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)และมอบให้ พศ.หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้เสนอกลับไปครม.ภายใน 30 วันนั้น ยังไม่เป็นที่สุด เนื่องจากมส. ยังไม่ได้มีมติเกี่ยวกับการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ดังนั้น ขอให้คณะสงฆ์เข้าใจตรงกัน อย่าสับสนจนเกิดการถกเถียงโดยไม่จำเป็น ส่วนบทบาทหน้าที่ของสปช.นั้นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 มาตราที่ 27 ได้กำหนดให้มี สปช. ทำหน้าที่ศึกษา เสนอแนะ การปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่องค์กรตรากฎหมาย เพื่อใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งการออกกฎหมายต่างๆจะต้องผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เสนอครม.และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พระพรหมบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางปฏิรูปของ สปช.โดยเฉพาะเรื่องหมุนเจ้าอาวาส 5 ปี และเก็บภาษีพระสงฆ์นั้น ไม่ได้อยู่ในข้อเสนอของ สปช.ที่เสนอ ครม.นั่นจึงหมายความว่า เรื่องจะไม่ไปถึง ครม. ขณะเดียวกันข้อเสนอของ สปช. เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุ ถือว่า สร้างความกังวลให้แก่คณะสงฆ์พอสมควร เพราะเหมือนถูกมัดมือชก แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ประชุม สปช.ไม่เห็นด้วย ที่จะให้สปช.ร่างกฎหมายดังกล่าวเอง แต่เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของ ครม.ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป “ส่วนข้อเสนอแนวทางปฏิรูปของ พศ.ทั้ง 6 ข้อนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบแล้วและเตรียมนำเสนอเข้าสู่ ครม.ต่อไป อย่างไรก็ตามขณะนี้มีเรื่องโต้แย้งทางสื่อเป็นรายวันเกี่ยวกับการปฏิรูปพระพุทธศาสนา จึงอยากทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนว่า การปฏิรูปคณะสงฆ์ทุกยุคทุกสมัยโดยพระมหากษัตริย์หรือคณะสงฆ์เอง จะยึดหลัก 3 ประการ คือ 1.กฎหมายแผ่นดิน 2.พระธรรมวินัย และ3.จารีต หรือวัฒนธรรมองค์กรสงฆ์การที่จะใช้กฎหมายแผ่นดินมาปฏิรูปคณะสงฆ์นั้นทำไม่ได้ หากใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวมาแทรกแซงจะเป็นการทำลายวัฒนธรรมองค์กรทำลายพระพุทธศาสนาได้”อธิการบดีมจร.กล่าว พระพรหมบัณฑิต กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีการกล่าวถึงว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์มีการสอนทางโลก อยู่ฟรี เรียนฟรี ทั้งที่จริงแล้วพระนิสิตต้องเสียค่าหน่วยกิต และวิชาแกนหลักที่เรียนจะเป็นวิชาพระพุทธศาสนามากถึง 50 หน่วยกิต รวมทั้งในทุกชั้นปีพระนิสิตจะต้องผ่านหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานเป็นระยะเวลา 10 วัน อีกทั้งต้องออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา 1 ปี มิเช่นนั้นก็จะไม่จบหลักสูตร อย่างไรก็ตาม มจร.ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งมาเพื่อให้ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง มาเป็นระยะเวลานับ 100 ปี จนออกมาเป็นพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยฯถือ เป็นจารีตปฏิบัติของคณะสงฆ์ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะยังมาตั้งคำถามกันอยู่ทำไม“
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/education/329144
ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
|
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|