ข่าวมหาวิทยาลัย |
สุวพันธุ์ชี้สันติภาพไทยเกิดยากแต่ต้องสร้าง | ||
วันที่ ๑๗/๐๗/๒๐๑๕ | เข้าชม : ๑๓๐๕ ครั้ง | |
‘สุวพันธุ์’ชี้สันติภาพไทยเกิดยากแต่ต้องสร้าง‘สุวพันธุ์’ชี้สันติภาพไทยเกิดยาก แต่ต้องสร้างไม่เช่นนั้นไม่น่าอยู่ : พระปราโมทย์ วาทโกวิโทและนายสำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงานตั้งแต่มีการยึดอำนาจการปกครอง ร่างรัฐธรรมนูญปฏิรูปประเทศสร้างโครงสร้างสังคมการเมืองไทยใหม่ เพื่อหวังให้เกิดการปรองดองลดความขัดแย้ง ให้เป็นสังคมที่น่าอยู่เกิดสันติภาพ แต่ต้องรับความจริงกันว่ายังไม่เห็นแสงที่ปลายอุโมงค์เกรงว่าจะเป็นการยึด อำนาจเสียของ เพราะยังไม่เห็นแนวทางหรือวิธีการที่ชัดเจน ประกอบกับการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมืองที่มี ส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเท่าที่ควร ดูได้จากการจะเปิดเวทีเดินหน้าปฏิรูปประเทศโดยจะเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมแสดงความคิดเห็นก็มีเสียงคัดค้านมองว่าไม่ใช่แนวทางปรองดอง ความรู้สึกดังกล่าวนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ของประเทศเท่านั้น แม้แต่บุคคลที่ร่วมอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ก็มีความรู้สึกเช่นนี้เช่นเดียว กัน บุคคลดังกล่าวคือนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ระบายความรู้สึกแบบเปิดใจ ในโอกาสเดินทางไปบรรยายพิเศษ เรื่อง "ปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จต่อการสร้างสันติภาพในสังคมไทย" ให้กับนิสิตปริญญาโท หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ที่มีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีเป็นหัวหน้าหลักสูตร เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2558 ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นการพูดครั้งแรกของนายสุวพันธุ์ที่เกี่ยวกับแนวทางการสร้าง สันติภาพในสังคมไทย ทั้งในบริบทสังคมการเมืองและปัญหาชายแดนภาคใต้ นายสุวพันธุ์ได้เริ่มจากการให้ความหมายของคำว่า "สันติภาพ" คืออะไร โดยมองว่า "สันติภาพ" นั้นต้องเป็นสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีความรุนแรงถึงจะมีความ แตกต่างกันบ้าง ความเห็นอาจจะไม่ตรงกันแต่ไม่ขยายสู่ความรุนแรง มีพื้นฐานคิดดี พูดดีทำดี แล้วตอนนี้สังคมไทยเป็นอย่างไร? ซึ่งเราก็มีความเห็นไม่ตรงกันอยู่ จริงๆแล้วสังคมไทยมีสันติภาพหรือไม่? สมาชิกของคนในสังคมมีความแตกต่าง พรรคการเมืองเห็นไม่ตรงกัน เรามีหลายพรรค แต่ประเทศสหรัฐอเมริกามีสองพรรคใหญ่ก็อยู่ร่วมกันได้ ดังนั้นตนจึงเห็นว่าสังคมที่มีสันติภาพคือสังคมที่ไม่มีความรุนแรงขนาดใหญ่ แล้วที่สังคมไทยไม่มีความรุนแรงเพราะมีอำนาจกฎหมายพิเศษบังคับหรือไม่ ตนยอมรับว่าเข้ามาด้วยการรัฐประหารทั้งนี้ก็เพื่อมาแก้ปัญหา ตอนนี้ถือว่าบ้านเมืองเรามีสันติภาพอยู่บ้าง แม้ว่าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีความรุนแรงอยู่ยังไม่เกิดสันติภาพ โชคดีที่เกิดขึ้นที่ปลายด้ามขวานแต่โชคร้ายที่เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เราจึงไม่สามารถพูดได้ว่าสังคมไทยเกิดสันติภาพอย่างแท้จริง "สังคมไทยตอนนี้ก็มีความขัดแย้ง ผมโทษคนที่อยู่เบื้องหลังทั้ง 2 ฝ่ายที่เอาประเทศเป็นตัวประกัน โดยไม่นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม นึกแต่ประโยชน์ส่วนตัว เทคโนโลยีสมัยใหม่มีอิทธิพลต่อชีวิตคนปัจจุบัน แต่ก็ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างสันติภาพ สื่อจึงมีอิทธิพลมากทุกวันนี้จึงสู้กันด้วยข้อมูลข่าวสาร สุดท้ายสังคมไทยไม่มีสันติภาพจริงๆ ดังนั้นทำอย่างไรให้คนไทยจะอยู่บนเส้นทางกับความขัดแย้งได้" นายสุวพันธุ์ กล่าวและว่า อะไรที่จะเป็นเงื่อนไขของสันติภาพในลักษณะของสังคมไทยปัจจุบัน โดยดูที่มิติด้านสันติภาพ คือ 1.มีความขัดแย้งที่หยั่งรากลึก 2.มีความคิดใช้ความรุนแรงต่อกัน 3.มีช่องว่างระหว่างประชาชน 4.การแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ ตอนนี้ประเทศไทยเราเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนฉะนั้นการปฏิรูปประเทศจึงมีความ สำคัญ แต่รัฐธรรมนูญใหม่คนจะยอมรับหรือไม่? มีการเลือกตั้งแล้วจะกลับไปที่เดิมอีกหรือไม่? แล้วจะทำอย่างไร? หากคนในสังคมยังคิดแต่เรื่องแพ้ชนะกันอยู่ไม่เดินทางสายกลางแล้วบ้านเมือง เดินไปได้อย่างลำบากจริงๆ สำหรับตนเองแล้วมีทางออกคือต้องยึดธรรมะเห็นแก่ประโยชน์บ้านเมือง สันติวิธีจึงมีความสำคัญ แต่ขณะนี้ตนสรุปว่า "สังคมไทยไม่มีสันติภาพอย่างยั่งยืนและมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง" ดังนั้นปัจจัยสู่ความสำเร็จเกิดสันติภาพมีความปรองดองกัน คือ 1.การระบุรากเหง้าของความขัดแย้งก็ต้องดูว่าอะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้ง ของสังคมไทยอย่างแท้จริง คำตอบคืออำนาจทางการเมือง หากรอแต่การเลือกตั้งวงจรเดิมก็กลับมาอีกแม้ว่าจะยังไม่ถึงทางตันแต่ตนมอง ว่า "ยาก" อำนาจการเมืองนั้นสามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ยังมองไม่เห็นว่าแก้ปัญหาได้อย่างไร? ดังนั้นผู้นำจึงมีความสำคัญมากต้องยึดผลประโยชน์คนส่วนมากมากว่าตนเอง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้แม้วิธีการเข้ามาเป็นรัฐบาลอาจจะไม่ถูกแต่ก็พยายามจะทำ เพื่อส่วนร่วม ส่วนการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีความศักดิ์สิทธิ์คนทำผิดกฎหมายมากมาย ดังนั้นแต่สิ่งที่มีปัญหาคือการบังคับใช้กฎหมาย 2.สร้างพื้นฐานของความไว้วางใจและความรับผิดชอบ 3.การไกล่เกลี่ยที่ดี ตอนนี้ไทยเรายังไม่มีผู้ไกล่เกลี่ยที่ได้รับการยอมรับ ทหารเข้ามาคำหน้าที่อีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับ 4.การแก้ไขกฎหมายที่ทำให้ไปสู่การอยู่ร่วมกัน โดยรัฐบาลต้องมีกลไกในการแก้ไขความขัดแย้ง คนที่แก้ไขความขัดแย้งได้ต้องมีความคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบไร้รูปแบบ สุดท้ายก็กฎหมายไม่ว่าจะเป็นการอภัยโทษและนิรโทษกรรม แต่ต้องเป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรม ดังนั้นการจะสร้างสันติภาพได้ต้องใช้กฎหมายที่เป็นธรรม เพราะกฎหมายคือตัวกำหนดกรอบ ทีนี้มาดูเงื่อนไขของความสำเร็จ 1.บุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องยินยอมพร้อมใจ ไว้วางใจ คือ ทุกสีต้องยินยอมพร้อมใจ ถ้าใจไม่มาทุกอย่างจบ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่ "ใจ" เท่านั้น ปรับใจของเราเพื่อการยินยอมพร้อมใจ ฉะนั้นเราต้องมี 3 T คือ (1)"Trust" คือ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เมื่อไว้วางใจก็แก้ปัญหา (2) "Team" การทำงานเป็นทีม ทุกคนมีจุดอ่อน เราต้องหาคนมาปิดจุดอ่อนของเรา เราต่างเกื้อหนุนกันให้สมบูรณ์ "ระวังผงที่เข้าตา ทำให้ตาบอดได้ คือ เล็กๆ ทำให้เราตาบอดตาได้ อย่าคิดแต่เรื่องใหญ่ๆ " ผมถือว่ามีบุญที่ได้ทำงานกับคณะสงฆ์ พระสงฆ์ถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ของผม (3) "Tomorrow" คือ ให้เราคิดถึงวันข้างหน้า "สร้างพรุ่งนี้ จากวันนี้" มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลไปข้างหน้า ถ้าเป็นผู้บริหารที่ดี ต้องมีคำพูดสั้นๆ คือ change แปลว่า การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องมีอุบายเพื่อให้คนในองค์กรเดินไปข้างหน้า 2.กระบวนการมีความต่อเนื่อง คือ มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ความต่อเนื่องจึงมีความต่อเนื่อง 3.ยึดแนวทางสันติวิธีคือต้องเดินทางสันติภาพอย่างเดียว ยึดสันติวิธีด้วยการใช้อาวุธไม่ประสบความสำเร็จเพราะมันมีการบังคับ 4.การถกแถลงถึงข้อเท็จจริงที่ผ่านมาและที่เป็นอย่างตรงไปตรงมา 5.เมื่อเห็นถูกต้องพร้อมใจกัน แล้วต้องนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง คือ บางครั้งทำคนไม่ได้คิด แต่คนคิดไม่ได้ทำ เราต้องมีเวทีรับรู้รับทราบร่วมกัน นายสุวพันธ์สรุปว่า ความจริงแล้วการจะแก้ปัญหาได้ก็อยู่ที่ "ใจ" เท่านั้น เพื่อจะยุติความขัดแย้งโดยมีกรอบคือ ความขัดแย้ง การทำความเข้าใจ การยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน แนวทางปฏิบัติที่เป็นธรรม ดังนั้นเราต้องมาสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นกับสังคมไม่เช่นนั้นสังคมไทยจะไม่ เป็นสังคมที่น่าอยู่อีกต่อไป ช่วงบ่ายเป็นการอภิปรายร่วม เรื่อง " สันติภาพในมุมมองศาสนา " โดย มงชินญอร์แอนดรูว์ วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย นายสถิตย์ กุมาร ประธาน Ramakrishna Vedanta Association of Thailand และนายเอกราช ซาบูร์ ผู้อำนวยการสถาบันสันติภาพและการพัฒนาศึกษานานาชาติ ดำเนินรายการโดยพระครูพิพิธสุตาทร อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา วิทยากรทุกคนต่างก็มองว่าสันติวิธีเป็นแนวทางที่ทุกศาสนาจะต้องจับมือกัน สร้างทุบกำแพงสร้างสะพานเชื่อมโยงเข้าหากันมีการจาริกร่วมกันพูดคุยกันมาก ขึ้น ต้องมีวิธีการสื่อสารสิ่งดีๆของศาสนาเสนอข่าวเชิงสันติมากขึ้นไม่เช่นนั้น แล้วโลกจะไม่น่าอยู่ สรุปปัญหา คือ 1.ความมีอัตตาสอนให้ลดอัตตาหรือยัง 2.ผลประโยชน์ สอนให้พอเพียงหรือยัง 3.การศึกษา ให้การศึกษาที่ถูกต้องหรือยัง
ที่มา :http://www.komchadluek.net/detail/20150713/209640.html ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว จากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||