สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗ ประเภทบุคคล
29 ก.ค. 58 | ข่าวมหาวิทยาลัย
1106
|
ข่าวมหาวิทยาลัย |
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗ ประเภทบุคคล |
วันที่ ๒๙/๐๗/๒๐๑๕ |
เข้าชม : ๒๕๐๘ ครั้ง |
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น แด่พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.)
วันจันทร์ ที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗ ประเภทบุคคล (ประเภท ค) แด่พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๒ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ซึ่งรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมนี้ โดยสมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญเสนอชื่อ อาคาร ชุมชน บุคคล และองค์กร ให้เข้ารับคัดเลือก เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗ จัดเป็นประเภทดังนี้
ประเภทรางวัล
ก. อาคาร
๑. อาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ
๒ อาคารพาณิชย์
๓. เคหสถานและบ้านเรือนเอกชน
๔. ปูชนียสถานและวัดวาอาราม
ข. ชุมชน
ค. บุคคลหรือองค์กร
หลักเกณฑ์ในการพิจารณารางวัล
ก. ประเภทอาคาร
ต้องเป็นอาคารที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป หรือน้อยกว่า แต่มีคุณสมบัติไม่น้อยกว่าเกณฑ์ต่อไปนี้
๑. อาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม โดยไม่จำกัดว่าจะมีรูปแบบของชนชาติใดโดยเฉพาะ
๒. อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีหรือสังคม
๓. อาคารที่มีการบำรุงรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี โดยมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายและขนบประเพณี
๔. อาคารที่ใช้ประโยชน์อย่างประสมกลมกลืนไปกับชีวิต และสังคมสืบต่อมาจนปัจจุบัน
หมายเหตุ : หากอาคารในครอบครองดูแลของสำนักพระราชวัง อาทิเช่น พระราชวัง พระตำหนัก ฯลฯ อยู่ในฐานะ
เหนือการพิจารณา
ข. ประเภทชุมชน
๑. ชุมชนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ทั้งที่พบเห็นได้ทางกายภาพ หรือทางจิตใจ
๒. ชุมชนที่มีกิจกรรมในการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมไว้ได้ด้วยกฎหมาย หรือขนบธรรมเนียมประเพณี หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติทั่วทั้งชุมชน
๓. ชุมชนที่ประชาคมมีการรวมกลุ่ม หรือการจัดองค์กร ดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
๔. ชุมชนพื้นถิ่นที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งชุมชนในเขตเมืองและชนบท โดยไม่จำกัดขนาดชุมชน
ค. ประเภทบุคคล หรือองค์กร
๑. บุคคล หรือองค์กร ผู้มีประสบการณ์ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ได้แก่ ผู้ออกแบบ ผู้ดำเนินการ หรือช่างฝีมือ
๒. บุคคล หรือองค์กร ผู้ริเริ่มผลักดันให้มีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่อง
๓. บุคคล หรือองค์กร ผู้ให้การสนับสนุนโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ : ทั้งนี้ต้องเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในสังคมถึงแนวความคิดด้านการอนุรักษ์ มิใช่เป็นการสะสมของเก่า และ
เพื่อประโยชน์ส่วนตน
วิธีดำเนินการคัดเลือก
ในการคัดเลือกอาคาร บุคคล หรือองค์กร และชุมชนพื้นถิ่นเพื่อรับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมนั้น คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมจะพิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไว้เป็นหลัก
เมื่อได้รับรายชื่อในชั้นต้นแล้ว คณะกรรมาธิการฯ จึงทำการสำรวจเบื้องต้น รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมและภาพถ่าย จากนั้นคณะกรรมาธิการฯ จัดประชุมเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและคัดเลือกจากข้อมูลในรอบแรก เมื่อเหลือจำนวนที่เหมาะสมจึงจะตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดอีกครั้ง และประเมินผลการอนุรักษ์เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินในรอบสุดท้าย จนได้ผลสรุปเป็นเอกฉันท์
การประกาศรางวัล
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัลจะได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจาก จดหมาย ในช่วงกลางเดือน เมษายน ๒๕๕๗ โดยทางสมาคมฯ จะจัดให้มีการแสดงนิทรรศการรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ในงานสถาปนิก’๕๗ ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗
การเข้ารับพระราชทานรางวัล
ผู้ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีการกราบบังคมทูลเพื่อขอเบิกตัวผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลทุก ๒ ปี โดยเมื่อได้หมายกำหนดการแน่นอนจึงจะแจ้งให้ทางผู้เข้ารับพระราชทานรางวัล ทราบ
นำเสนอข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ
ภาพ : พระครูโสภณปริยัตยานุกิจ Type the text here
|
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|