1. ทำอย่างไร เราถึงจะสามารถก้าวพ้น ความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม
2. ทำอย่างไร เราถึงจะสามารถก้าวพ้น ความแตกต่างกันทางความเชื่อ
เพราะบางครั้งการที่เราพยายาม ค้นหาคำตอบทั้งสองคำถามนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน แทนที่เราจะได้ความสามัคคีร่วมมือ เราอาจจะได้ความขัดแย้งมาแทน ซึ่งการมาร่วมสัมมนา ของนักวิชาการจากทั่วโลก ในครั้งนี้ที่เมียนมาร์ สามารถหาคำตอบร่วมกันได้ เพราะกลยุทธ์ทางพระพุทธศาสนา ถ้าเราต้องการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ (Peaceful Co-Existence) เราต้องทราบก่อนว่าคำว่า "สันติ" นั้นสามารถให้คำนิยามได้ 2 แบบคือ
1. สันติเชิงลบ คือ ภาวะไร้สงคราม ไร้ความขัดแย้ง
2. สันติเชิงบวก คือ ภาวะมีความสามัคคี และความเป็นหนึ่งเดียว บนพื้นฐานของความเมตตา และกรุณา
ทั้งนี้ มีพุทธพจน์ที่กล่าวว่า "สุขา สังฆสะ สามัคคี"The Unity of the Group is Happiness.อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่ง "สันติภาพ" ออกได้เป็น
1. สันติภาพภายใน
2. สันติภาพภายนอก
ในทางพุทธศาสนา เรามุ่งเน้นการสอน หรือ "สิกขา" ในเรื่อง ศีล, สมาธิ, ปัญญา โดยท่านอธิบายว่า การมีศีล ก็คือการควบคุม ความประพฤติของตนเอง การมีสมาธิ ก็คือการอบรมจิตของตน, --- การมีปัญญา ก็คือการมองเห็นว่าเราทุกคน อาศัยร่วมกันบนโลกนี้ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เป็นไปตามกฎปฏิจจสมุปบาท ทั้งนี้ทั้งนั้น จะทำให้เราเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องเป็นปัจจัยของกันและกัน ถ้าเรารู้ดังนี้ เราจะกำจัดอวิชชา ที่ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความเห็นแก่ตัว ส่งผลให้เรามีความอ่อนโยน อ่อนน้อม และตระหนักถึงการมีสัมพันธภาพ ระหว่างมนุษย์ และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้
จากการเห็นความจริงนี้ ไร้อวิชชา เข้าสู่การไร้อัตตา ภาวะสุญญตา ทำให้ในปี 1996 ทาง UNESCO ให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยมีการเรียนรู้ 4 แบบ คือ 1. Learning to know 2. Learning to do 3. Learning to live together 4. Learning to be a human-being" พระพรหมบัณฑิต กล่าว.
ขอขอบคุณการสรุปข้อมูลโดย
อาจารย์พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย