ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมาภิบาลกับการปฏิรูป โดย...พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
12 พ.ค. 59 | ข่าวมหาวิทยาลัย
580
ข่าวมหาวิทยาลัย
ธรรมาภิบาลกับการปฏิรูป โดย...พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วันที่ ๑๒/๐๕/๒๐๑๖ เข้าชม : ๑๓๒๒ ครั้ง

ธรรมาภิบาลกับการปฏิรูป
บรรยายโดย...พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อธิการบดีย้ำ "จบประโยชน์ตน นึกถึงประโยชน์คนอื่น นี่คือเสน่ห์บัณฑิต มจร. อย่าพอใจในความสำเร็จแค่นี้"

กล่าวว่า...ในฐานะผู้บริหารมหาจุฬา ขอแสดงความชื่นชมยินดีในความสำเร็จของบัณฑิต จำนวน 5663 รูป/ คน ซึ่งเวลาเราท้อ ขอให้เรานึกถึงความสำเร็จในวันนี้ เพราะเป็นความทรงจำเพื่อเป็นบันไดก้าวต่อไป เวลาเราเจอปัญหา เราก็สามารถผ่านมาจนได้ เหมือนพระโพธิสัตว์ที่ผ่านพ้นจากมือพญามาร พระพุทธเจ้าชนะมาร เพราะมีความพร้อม ความเพียรพยายาม ไม่ต้องรอให้ใครมาทำประวัติของเรา เรารู้เองทุกอย่าง เหมือนจูเรีย ไปรบมาชนะ แล้ว ขึ้นพูดบนเวที ว่า "ฉันมา ฉันเห็น ฉันชนะ" ใครชนะก็มานั่งตรงนี้ ส่วนใครยังไม่ชนะรอปีต่อไป เราจึงควรแก่การยกย่อง เพราะเป็นพระเอกนางเอก ให้คนอื่นมายกย่อง เราสร้างพระพุทธธูปยังมีการพุทธาภิเษก เพื่อให้ทราบว่า ไม่ทำธรรมดา เหมือนพวกเราจบการศึกษา ถือว่าจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ไม่ธรรมดา เวลารับปริญญามีคนมาแสดงยินดีกับบัณฑิตเป็นจำนวนมาก เพราะนิสิตของเราออกไปช่วยเหลือสังคม สอดคล้องกับ "เวลาเรามีข้าวน้ำบริบูรณ์เราไม่ได้ทานคนเดียว เรานึกถึงบุคคลอันเป็นที่รัก " เพราะกัลยาณมิตรเพิ่มความสุขเป็นหลายเท่า ลดความเศร้าได้มากมาย มหาจุฬาจึงจัดรับปริญญาอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี เราจึงมีการซ้อมรับปริญญา เพื่อความสวยงาม เพราะเราอยู่ในสายตาของคนทั้งโลก ความสำเร็จครั้งนี้เป็นการเบิกทางเป็นขั้นบันไดจะพาเราเดินทางต่อไป
แม้แต่พระพุทธเจ้ายังชื่นชมยินดีในความสำเร็จในการเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า "เสวยวิมุตติสุข" พญามารมาอาราธนาว่านิพพานได้แล้ว แต่พระพุทธเจ้าบอกมารว่า ยังมีงานที่ต้องทำ หลังจากนี้ ก็ทบทวนว่าจะนำความรู้นี้ไปช่วยคนอื่นอย่างไร การตรัสรู้เป็นประโยชน์ส่วนบุคคลคือ พระพุทธเจ้า แต่พระองค์นึกถึงคนอื่น มีการวางแผนเพื่ออนาคต พิจารณาบุคคลเหมือนดอกบัว 4 เหล่า " จบประโยชน์ตน นึกถึงประโยชน์คนอื่น "อย่ามองความสำเร็จเท่านี้" เหมือนเดินขึ้นภูเขาทังชัง ประเทศภูฏาน " มองความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมียูเทิน" ไปเพื่อบรรยาย เกี่ยวกับความสุข GNH ความสำเร็จมิใช่ขึ้นสูงสุดแล้วลงมา เหมือนโหนเถาวัลย์อันหนึ่งไปสู่อันหนึ่งไปเรื่อยๆ ส่งต่อไปเรื่อยๆ ความเร็จหนึ่งส่งต่อความสำเร็จหนึ่งไปเรื่อยๆ แต่ต้องมีพลังในการส่งต่อ ความสำเร็จต้องให้เกิดกำลังใจ มีความหวัง เราทำอะไรสำเร็จหรือล้มเหลว ถามหัวใจของตนเอง ถ้ามีความสุขมันคือ ความสำเร็จ ทำแล้วห่อเหี่ยวจิตใจ นั่นคือ ความล้มเหลว ทำแล้วเบิกบาน คือ ความสำเร็จ ความสำเร็จเป็นวงจรอิทธิบาท คือ "ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา" อยากทำไปเรื่อยๆ พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เหมือนการโหนเถาวัลย์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ 
ถ้าเราท้อคงไม่มีการจัดวิสาขโลกมาถึงปีที่ 13 เหมือนครูอาจารย์ที่ส่งต่อลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า มีความสำเร็จส่วนตัวแล้วสร้างความสำเร็จให้คนอื่นต่อ อย่าพอใจแค่นี้ "ไม่สันโดษในการทำความดี" ความดีต้องทำไปเรื่อยๆ อย่าสันโดษในความสำเร็จขั้นใดขั้นหนึ่ง และไม่ท้อถอยในการทำความเพียร ถ้าล้มไม่สำเร็จก็ลุกขึ้นมาใหม่ ภาษิตญี่ปุ่นกล่าวว่า "ถ้าล้มลง ก่อนลึกขึ้นมาต้องหยิบอะไรขึ้นมาด้วย" 
สติบจอบ กล่าวประโยคสำคัญให้นักศึกษาในวันสุดท้ายของการศึกษา ในStanford University ไว้ว่า "จงหิวกระหายเข้าไว้ จงโง่เข้าไว้" คือ หมั่นหาความรู้ตลอดอย่างต่อเนื่อง กระหายที่จะเรียนรู้ ทานความรู้ให้อิ่มเข้าไว้ และต้องฝึกตนเองให้โง่ เพราะจะได้เรียนรู้ตลอดเวลาตลอดชีวิต เหมือน IBM ประมาทบิลเกต ให้บิลเกตมาผลิตไมโครชอฟ แต่ไม่ทำสัญญา 
ชีวิตเราต้องระวังอย่าให้ตกรุ่น คือ ต้องฝึกฝนตนตลอด เราต้องไม่แสวงหาของเก่าๆ กินของเก่า สาขาเดิม ๆ ทำความสำเร็จจากสิ่งเดิมๆ มากเกินไป นักพูดที่เล่าเรื่องเดิมๆ ก็สูญพันธุ์ ไม่ค้นคว้าใหม่ ไม่วิจัยเรื่องใหม่ ไม่พัฒนาตนเอง สอดคล้องกับคำว่า " อย่าหาความสำเร็จกับเรื่องเดิมๆ : อย่ากินแค่บุญเก่า "
สติตจอบค้นหาสิ่งใหม่ ๆ รวมกันอยู่ในเครื่องเดียว เรามีต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าหยุดคิดนวัตกรรม เรามีพระพุทธศาสนาแต่เราบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เหมือนนางสามาวดี เห็นคนมาแย่งอาหารบ้านเศรษฐี เสียงดัง วุ่นวายนางจึงคิดนวัตกรรมใหม่ ทำรั้วให้คนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ ทำให้เสียงเงียบ เศรษฐีจึงชอบใจมาก ถือว่าเป็นนวัตกรรม สอดคล้องกับโสคราตีส กล่าวว่า "หนึ่งเดียวที่ข้าพเจ้ารู้ คือ รู้ว่าข้าพเจ้าไม่รู้" เป็นคนยอมรับว่าตนเองความโง่ ยอมรับ แล้วศึกษายังจะทำให้ฉลาด พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในธรรมบท โย พาโล....ฯ พวกที่โง่ยังสำคัญว่าตนเองฉลาด ถือว่าโง่แท้ๆ หัดโง่บ้าง แต่อย่าโง่แนบเนียนเกินไป เหมือนท่านปรีดี พนมยงค์ ในพศ. 2523 มีนักข่าวสัมภาษณ์ท่านว่า อะไรคือสิ่งที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิต คำตอบคือ " รีบทำการใหญ่ก่อนจะมีประสบการณ์ " ประเด็นคือ ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจคนไทยอย่างชัดเจน มีความอดทนน้อยไปหน่อย จึงมีความพลาดตั้งแต่ตอนนั้น ท่านจึงสรุปว่า จะทำการใหญ่ต้องมีความรู้ประสบการณ์ "พอจะให้ทำการใหญ่ก็ไม่มีตำแหน่ง พอมีประสบการณ์ ไม่มีตำแหน่งแล้ว " ท่านทำงานด้วยมาเรียนด้วย นั่นคือ ประสบการณ์ ซึ่ง " คนที่ฉลาดจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเอง แต่คนที่ฉลาดกว่าจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนอื่น " รู้ว่าไม่ดีก็อย่าทำ รู้ว่าประเทศอื่นตีกันทะเลาะกัน ประเทศพังมาเยอะ เรียนรู้แบบนี้ ยังจะโง่ทะเลาะกันอีก ควรรักกันให้มากๆ จึงนำไปสู่การปฏิรูป
เหมือนเรือยอทช์หรูมูลค่าพันล้าน จมลงในแม่น้ำท่าจีน ต่อหน้าต่อตาเจ้าของเรือชาวไต้หวัน วิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาหลักในประเทศที่กำลังพัฒนา คือ "ทุจริตคอรัปชั่น และ การบริหารผิดพลาด" ต่างวิเคราะห์ต่างๆ นานา ซึ่งในอดีตประเทศไทยเศรษฐกิจโตขึ้นถึง 9-10 % แต่ตอนนี้ไม่ถึง 3 % อดีตคนอื่นมาดูงานเรา ตอนนี้ไม่มีใครมาดูแล้ว 
จึงนำไปสู่การมีธรรมาภิบาล ระบบบริหารกิจการที่ดี ใครมีอำนาจก็ถูกกล่าวหาว่าคอรัปชั่น เพราะไม่มีธรรมาภิบาล เรามองว่าใครมามีอำนาจ มาโกงมากิน ใครมามีอำนาจก็ถูกโค้น เราจะสร้างระบบให้มีความโปร่งใส มหาจุฬาต้องใช้ธรรมาภิบาล เราไม่อยากใช้เพราะคนมีอำนาจจะถูกตรวจสอบ จึงมีการปฏิรูปเกิดขึ้น ให้พระเณรเรียนให้ทันเหตุการณ์ เช่น กำลังให้ ปธ.๙ ยกระดับปริญญาเอก

คำว่า "ปฏิรูป" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า "ปรับปรุงให้สมควร" เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Reform" หมายถึง "ปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งไม่พึงประสงค์" เป็นการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นภายในโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ฉะนั้นการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาต้องยึดหลักที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงมีพระมหาสมณมติไว้เมื่อ พ.ศ.2447 ความตอนหนึ่งว่า "ภิกษุสงฆ์มีกฎหมายอันจะพึงฟังอยู่ 3 ประเภท คือ กฎหมายแผ่นดิน พระวินัย และจารีต" ฉะนั้น อย่าเน้นแต่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว โดยเฉพาะกิจการของคณะสงฆ์มีพระวินัยและจารีตกำกับจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร พระวินัยกับจารีตสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่ทำให้เรียกว่า "เถรวาท" ซึ่งหมายถึง สายพระพุทธศาสนาที่ปฏิบัติตามมติของพระมหากัสสปะในท้ายการสังคายนาครั้ง 1 ที่ว่า "สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว"
การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งคำว่า "ธรรมาภิบาล มาจากคำว่า Good Governance หมายถึง การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี" ซึ่งรัฐบาลไทยนำเรื่องธรรมภิบาลมาประกาศใช้ตั้งแต่ พศ.2542 จึงควรนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนามี 6 ข้อ คือ
1.การมีส่วนร่วม (Participation)
2.ความโปร่งใส (Transparency)
3.ความโปร่งใส (Accountability)
4.หลักนิติธรรม (Rule of Lew)
5.ประสิทธิภาพ (Efficiency)
6.ประสิทธิผล (Effectiveness)
สรุป คือ "การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการพระพุทธศาสนาที่ทำโดยไม่คำนึงถึงพระธรรมและจารีต แทนที่จะเป็นคุณกลับเป็นโทษแก่พระพระพุทธศาสนา เพราะทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือ แทนที่จะปฏิรูปศาสนา กลายเป็นปฏิวัติศาสนา"
คำว่า รับผิดชอบ คือ รับผิดชอบร่วมกันไปสู่เป้าหมายร่วมกัน นิสิตไม่จบถือว่าครูบาอาจารย์ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เรามานั่งรถไปด้วยกัน เพื่อความสามัคคีของการอยู่ร่วมกัน อย่ามัวแต่นั่งข้างทางอยู่ และทะเลาะกันในรถเลย เพื่อความสุขของคนในสังคมและประเทศชาติต่อไป

สรุปข่าว โดย พระปราโมทย์ วาทโกวิโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร



แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    87
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    101
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    146
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    154
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    121