www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
เปิดมุมมอง 'พระนิสิตต่างชาติ' ที่มีต่อมหาจุฬาฯ
18 มี.ค. 60 | ข่าวมหาวิทยาลัย
435
ข่าวมหาวิทยาลัย
เปิดมุมมอง 'พระนิสิตต่างชาติ' ที่มีต่อมหาจุฬาฯ
วันที่ ๑๘/๐๓/๒๐๑๗ เข้าชม : ๑๔๗๘ ครั้ง

 เปิดมุมมอง 'พระนิสิตต่างชาติ' ที่มีต่อมหาจุฬาฯ

 
การที่ได้เรียนมหาจุฬาฯ ส่งผลดีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาก เพราะได้เรียนวิชากัมมฐาน อันเป็นวิชาที่ชาวโลกสนใจอยู่ตอนนี้ ได้เรียนรู้หลักการใช้ภาษาบาลี และที่สำคัญได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท... 
 
 
ผมในฐานะศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลายปีมานี้เฝ้ามองความก้าวหน้าของ มหาจุฬา ฯ ด้วยความภาคภูมิใจ ที่ผู้บริหารร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก จากข้อมูลที่ผมมีอยู่ ณ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ มีวิทยาเขตทั่วประเทศ 11 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์อีก 16 แห่ง ห้องเรียน 3 แห่ง หน่วยวิทยบริการ 14 แห่ง และสถาบันสมทบในต่างประเทศอีก 7 แห่ง

มีพระนิสิตทั้งที่เป็นทั้งพระภิกษุและฆราวาสหลายหมื่นคน โดยเฉพาะ “พระนิสิตต่างชาติ” ตอนนี้นิยมมาเรียนที่มหาจุฬาฯ กันมาก สอบถามจากเจ้าหน้าที่กองวิเทศน์สัมพันธ์ ที่ดูแล “พระนิสิตต่างชาติ” โดยตรงท่านให้ข้อมูลว่า...
 
 



“ปีนี้มหาจุฬา มีนิสิตต่างชาติทั้งพระและฆราวาสทั้งหมด 1,468 รูป /คน จาก 17 ประเทศ ทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกา หรือแม้กระทั้งรัฐเซีย มีนิสิตต่างชาติเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เป็นรองแค่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญหรือเอแบคเท่านั้น และปีหน้าคาดว่าอาจจะขึ้นครองเป็นอันดับหนึ่ง เพราะตอนนี้พระสงฆ์ในประเทศเพื่อนบ้านนิยมมาเรียนกันมาก”

ได้มีโอกาสคุยกับ “พระนิสิตต่างชาติ” 2-3 รูป ถึงเหตุผลว่าทำไมจึงมาเรียนที่มหาจุฬาฯ และเมื่อจบกลับไปแล้วจะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดอย่างไร?

พระอชินปุปพะหงษา จากคณะสงฆ์รามัญนิกาย ประเทศเมียนมาร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ปีที่ 3 คณะสังคมศาสตร์ เอกรัฐศาสตร์ ท่านให้เหตุผลว่า เนื่องจาก ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาโลก ต้องการศึกษารูปแบบการปกครอง รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยไปพัฒนาคณะสงฆ์ในรามัญนิกาย และที่สำคัญในอดีตคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์รามัญนิกายก็มีความสัมพันธ์ที่ดีแบบพี่น้อง มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน และประเด็นสุดท้าย คือ ประเทศไทย มีการเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ ไม่ลำบากด้านที่พักอาศัยและอาหารการฉัน



“อาตมาเป็นเจ้าอาวาส 2 วัดในเขตรัฐมอญ วัดหนึ่งเปิดเป็นสำนักเรียนบาลี มีพระเณรประมาณ 100 รูป อีกวัดเป็นวัดบ้านเกิด เหตุผลที่มาเรียนเมืองไทย เพราะต้องการเอาความรู้จากมหาจุฬาฯ กลับไปพัฒนาคณะสงฆ์รามัญนิกาย ปัจจุบันคณะสงฆ์มอญในพม่ากระจัดกระจายอยู่ใน 3 นิกาย”

คือ คณะสุธัมมานิกาย ซึ่งเป็นคณะที่ใหญ่ที่สุด เมื่อประมาณปี 2524 คณะสงฆ์มอญขอแยกตัวออกมาตั้งเป็น “คณะสงฆ์รามัญนิกาย” ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10,000 รูป มีวัดประมาณ 800 วัด คณะที่สองชื่อ “มหายินนิกาย” มีพระมอญอยู่ประมาณ 500 รูป คณะสงฆ์มหายินของมอญนี้ มีวัตรปฎิบัติเหมือนกับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายของประเทศไทย และคณะสงฆ์สุดท้ายที่มีพระสงฆ์มอญไปสังกัด คือ “คณะสงฆ์ซวยจินนิกาย” เป็นคณะสงฆ์เล็กๆ มีพระมอญอยู่ประมาณ 300-400 รูป คณะสงฆ์มหายินนี้ มีวัตรปฎิบัติเหมือนคณะสงฆ์พม่า


 
 



“ในอนาคตหากเป็นไปได้วันหนึ่งพวกเราก็ต้องพยายามให้รวมเป็นหนึ่งให้ได้...”

ส่วนอีกท่านเป็น พระภิกษุณี ชื่อ Nguyen Thi Hai Uyen เป็นภิกษุณีนิกายมหายาน จากประเทศเวียดนาม ปัจจุบันเป็นนิสิตระดับปริญญาโท สาขาพระพุทธศาสนา ท่านเล่าว่า ที่ประเทศเวียดนามเปิดสอนแค่ระดับปริญญาตรี จึงต้องเดินทางมาเรียนนที่มหาจุฬาฯ เพราะที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับปริญญาโท ที่ประเทศเวียดนามไม่มีการสอน

“การที่ได้เรียนมหาจุฬาฯ ส่งผลดีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาก เพราะได้เรียนวิชากัมมฐาน อันเป็นวิชาที่ชาวโลกสนใจอยู่ตอนนี้ ได้เรียนรู้หลักการใช้ภาษาบาลี และที่สำคัญได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ชีวิตหลังจากจบจากมหาจุฬาฯ จะเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย...”

ปัจจุบันประเทศเวียดนาม มีพระภิกษุณีมากกว่าพระภิกษุ กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ และอนาคตพระภิกษุณีจะเป็นฐานสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่วน ประเทศไทย เรากลุ่มสิทธิสตรีหลายกลุ่มก็พยายามดิ้นรนเพื่อให้มีภิกษุณีให้ครบตามพุทธบริษัทสี่ ในการรักษาปกป้องพระพุทธศาสนา ก็ไม่รู้ว่า “ทำไมบวชไม่ได้” เพราะถ้าอ้างว่า “ขาดสูญ” แล้วทำไมหลายประเทศที่นับถือพุทธแบบเถรวาทมีได้...



ส่วนรูปสุดท้ายเป็นพระไทใหญ่ ชื่อ พระสิริวรรณะ สิริวณฺโณ จากรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่กองวิเทศสัมพันธ์ และกำลังเรียนอยู่ในระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ด้วย

“ปัจจุบันพระสงฆ์ไทใหญ่มาเรียนที่มหาจุฬาฯ มีประมาณ 100 รูป มหาจุฬาฯ กับรัฐฉาน โดยเฉพาะกับพระไทใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และตอนนี้ที่รัฐฉานเราก็กำลังก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ นำโดย พระอาจารย์ ดร.คำหมาย ธัมมะสมิ เพราะท่านเชื่อว่าการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน”

คณะสงฆ์ไทใหญ่เดียวนี้นิยมมาเรียนที่มหาจุฬาฯ กันมาก เพราะทั้งการเดินทาง ทั้งการเป็นอยู่ การใช้ภาษา ไม่ลำบาก ญาติโยมที่เมืองไทยทั้งที่เป็นชาวไทใหญ่และคนไทยก็ดูแลอุปถัมภ์ดี หลังจากอาตมาจบแล้ว จะนำความรู้ที่ได้ จากมหาจุฬาฯ กลับไปพัฒนาคณะสงฆ์และประชาชนในรัฐฉาน



ทั้งหมด คือ “มุมมองของพระนิสิตนานาชาติ” ที่มาเรียน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะศิษย์เก่าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มหาจุฬา ฯ คงจะเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาในการสร้างคนให้มีคุณภาพ มีความรู้ สู้กับเขาได้ เมื่ออยู่ในเพศสมณะก็เป็นสมณะที่มีคุณภาพ เมื่อออกมาครองเรือนก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพ

มีเรื่องขำๆ ตบท้ายว่า...ตอนผมจบ และสึกออกไปใหม่ๆ ไปทำงาน มีหัวหน้าคนหนึ่งถามผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่า... “เอามหามาทำอะไร ทำงานสื่อ เขียนข่าว ไม่ใช่มาเขียนคำเทศน์นะ...” 

แฮ่ะ...แฮ่ะ...คุณไม่รู้ว่าคุณสมบัติของความเป็น “มหา” อย่างผมนี่นะ ถูกสอนมาให้มีความอดทน และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูงมาก และยิ่งจบจากมหาจุฬาฯ ด้วยแล้ว อุปมาอุปไมยเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ถูกฝึกมาดีแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น...



…...................................
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย เปรียญ10 : riwpaalueng@gmail.com

ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว จาก เดลินิวส์

 

แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    35
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    61
  • คณะครุศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นที่ 10 จัดโครงการเสริมความเป็นครูแก่นิสิตกิจกรรมไหว้ครู "ศิษย์น้อมวันทา บูชาคณาจารย์"
    07 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    256
  • “มจร” จัดงานครบรอบ 12 ปีสถาบันภาษา
    28 มิ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    154
  • ประกาศรายชื่อ สภามหาวิทยาลัย มจร
    28 มิ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    198