ข่าวประชาสัมพันธ์
วัดโป๋วหลิน-มจรจับมือฝึกพระธรรมทูตใช้ไอทีแผ่พุทธศาสนา
01 ก.ค. 60 | ข่าวมหาวิทยาลัย
503
ข่าวมหาวิทยาลัย
"วัดโป๋วหลิน-มจร"จับมือฝึกพระธรรมทูตใช้ไอทีแผ่พุทธศาสนา
วันที่ ๐๑/๐๗/๒๐๑๗ เข้าชม : ๗๑๗ ครั้ง

 

"วัดโป๋วหลิน-มจร"จับมือฝึกพระธรรมทูตใช้ไอทีแผ่พุทธศาสนา

 

"วัดโป๋วหลิน-มจร"จับมือฝึกพระธรรมทูตใช้ไอทีแผ่พุทธศาสนา


ปิดฉากการประชุมวิชาการฟื้นความสัมพันธ์พุทธศาสนามหายานและเถรวาทตามเส้นทางสายไหม ที่วัดโป๋วหลินยอดภูเขาพระพุทธรูปเทียนทานองค์ใหญ่บนเกาะฮ่องกง
จับมือกับ "มจร"ฝึกพระธรรมทูตใช้ไอทีเผยแผ่พุทธศาสนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระหว่างวันที่ 29 - 30 มิถุนายน 2017 ที่เกาะฮ่องกง ประเทศจีน คราคร่ำไปด้วยชาวพุทธทั้งพระภิกษุ ภิกษุณี และนักวิชาการ ที่ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก (Ph.D. Scholars) จำนวน 167 รูป/คน จาก 24 ประเทศ เดินทางไปที่วัดโป๋วหลิน(Po Lin Monastery) ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสร้างขึ้นในปี 1906  เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 20 การส่งคืนเกาะฮ่องกง และ 25 ปี ของพิธีเปิดพระพุทธรูปเทียนทาน (Tian Tan Buddha Statue)  


และการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "พระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายานตามเส้นทางสายไหม - Theravada and Mahayana Buddhism along the Belt and Road" นำเสนอผลการวิจัย ให้ข้อเสนอแนะ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาบนเส้นทางสายไหม เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน ในการนำภูมิปัญญาพุทธมาบูรณาการเพื่อสังคมในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลและสังคมแห่งสันติ


ภาคเช้าของวันที่ 29 มิถุนายน  เริ่มด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 20 การส่งคืนเกาะฮ่องกง และ 25 ปี ของพิธีเปิดพระพุทธรูปเทียนทาน (Tian Tan Buddha Statue) ณ วัดโปหลิน (Po Lin Monastery) ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา


ขณะที่ภาคบ่ายเป็นพิธีเปิดและฟังบรรยายพิเศษในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "พระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายานบนเส้นทางสายไหม - Theravada and Mahayana Buddhism along the Belt and Road"  จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้นำทางศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายาน พร้อมด้วยนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย พระธรรมาจารย์ เซ่อเฉิง (Venerable Xuecheng) ประธานพุทธสมาคมจีน(BAC) (Buddhist Association of China) ศาสตราจารย์ Lai Yonghai จากมหาวิทยาลัยหนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีน พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ศาสตราจารย์ Stephe F. Teiser ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยปรินต์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา     ศาสตาจารย์ Lewis  Lancaster จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบริคเลย์ สหรัฐอเมริกา และพระธรรมจารย์ จิ้งหยิน ( Venarable Jing Yin) เจ้าอาวาสวัดโป๋วหลิน


ในการนี้พระพรหมบัณฑิต  กล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนาระหว่างนิกายเถรวาทและมหายานนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านวิชาการและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ครั้งนี้นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ทั้งสองฝ่ายหันมาจับมือกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและจะได้ร่วมมือกันในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มากยิ่งขึ้นต่อไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างดียิ่ง ซึ่งท่านเซอะเฉิง ประธานพุทธสมาคมจีน ได้เดินทางมาเป็นประธานในการสัมมนาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทก็เล็งเห็นความสำคัญในการสัมมนาได้ประสานงานและอาราธนาพระสงฆ์นักวิชาการมาจากทั่วโลกเพื่อมานำเสนอบทความทางวิชาการและแลกเปลี่ยนแนวความคิดทางด้านพระพุทธศาสนากับคณะสงฆ์ฝ่ายมหายาน ซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดโปหลินให้การสนับสนุนและประสานงาน  
 

นอกจากนั้น อธิการบดี มจร ยังกล่าวว่า  ในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโก ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมชาวพุทธโลก ในเรื่องการจัดทำพระไตรปิฎกสากลซึ่งรวมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เผยแพร่ในฝ่ายเถรวาท มหายาน และวัชรญาณ เข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้เวลาถึง 7 ปี ในการจัดทำและบัดนี้ได้ดำเนินการและจัดพิมพ์แล้วเสร็จเป็นภาษาอังกฤษโดยมุ่งหวังที่จะนำเผยแพร่ให้มากยิ่งขึ้น และในอนาคตกำลังดำเนินการจัดแปลเป็นภาษาจีน เพื่อเผยแพร่และคาดหวังว่า ทางจีนจะได้ให้การสนับสนุนในการดำเนินการต่อไป
 

ด้านพระธรรมาจารย์เซ่อเฉิง ประธานพุทธสมาคมจีน กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยถือเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านพระพุทธศาสนาที่ทั่วโลกให้การยอมรับและการจัดสัมมนาครั้งนี้สำเร็จได้ก็เพราะได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ซึ่งทำหน้าที่ในการประสานงานอาราธนาและเชิญนักวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนามาร่วมเสนอบทความทำให้การสัมมนามีความหลากหลายและได้เห็นความสัมพันธ์อันดีที่เกิดขึ้นระหว่างพระสงฆ์นักวิชาการทั้งจากฝ่ายเถรวาทและมหายานได้มีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางได้เชื่อมต่อพระพุทธศาสนาของทั้งสองฝ่ายตามเส้นทางสายไหมของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่อดีตและหวังว่าจากผลของการสัมมนาครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือทางด้านวิชาการที่แน่นแฟ้นต่อไป”
 

ขณะที่พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร ในฐานะผู้จัดงานฝ่ายเถรวาท กล่าวว่า จากที่ได้ประสานงานมาตั้งแต่ต้น ความร่วมมือกันทางด้านวิชาการระหว่างสองนิกายได้ทำมาช้านานแล้ว ซึ่งแต่เดิมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็ได้ไปมาหาสู่ระหว่างไทย-จีน-ฮ่องกง เรื่อยมา มีการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันอย่างสม่ำเสมอ แต่ครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมจัดสัมมนาและนำเสนอบทความทางวิชาการกันอย่างเข้มข้น โดยได้รับความร่วมมือของพระสงฆ์นักวิชาการที่เดินทางมาจากหลายประเทศมานำเสนอ รวมทั้งนักวิชาการจากฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งในอนาคต จะมีการแลกเปลี่ยนในด้านการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาระหว่างคณะสงฆ์ของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระดับอุดศึกษาจะได้สานสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมต่อไป  


ต่อมาวันที่ 30 มิถุนายน เป็นการนำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น ประวัติศาสตร์และสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศบนเส้นทางสายไหม" ซึ่งมีทั้งสิ้ง  11 บทความ ซึ่งจากผลการศึกษาไม่สามารถลงรายละเอียดได้ทุกอย่าง แต่เป็นเพียงการบันทึกเรื่องราวที่สำคัญๆ ของเหตุการที่เกิดในอดีตเท่านั้น การบอกว่าเรื่องราวในอดีตนั้นเป็น “เรื่องจริง” ไม่ได้หมายความว่าเป็น “ความจริงอย่างสมบูรณ์” แท้จริงคือเป็น “ความจริง” ที่ถูกสนับสนุนด้วย “ข้อเท็จจริง” เท่านั้น


การศึกษาวิจัยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะ หรือผ่านการบันทึกด้วยภาษาต่างๆ ตามบริบทและกาลเวลาที่เปลี่ยนไป มีความสำคัญเพราะ ทำให้เข้าใจสภาพสังคม การเปลี่ยนแปลง ช่วยอนุรักษ์และสืบสานเรื่องราวในอดีต ทำให้เกิดความบันเทิง ผ่อนคลาย และได้มุมมองใหม่จากเรื่องราวประวัติศาสตร์ เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้ศึกษา ในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เป็นบทเรียนความผิดพลาดที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ และบทเรียนความสำเร็จที่เราจะนำไปสานต่อในสังคมปัจจุบัน สอนผู้ศึกษาให้เป็นคนที่ต้องฝึกฝนพัฒนาตนให้ดียิ่งขึ้น


ขณะที่ภาคบ่ายเป็นพิธีปิดการประชุมสัมมนา จากนั้นเดินทางไปทัศนศึกษา ณ วิทยาลัยการอุดมศึกษาชูไห่ "Chu Hai College of Higher Education" ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1947 บนพื้นที่ที่เหล่าพระเถระชาวจีนที่จาริกมาจากที่ต่างๆในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศจีนมักกล่าวถึง นิยมมาขึ้นฝั่งที่นี่ ปัจจุบันวิทยาลัย ได้พัฒนาระบบการเรียน e-learning (Electronic) component และ M-learning (Mobile) component ที่น่าสนใจคือ วิทยาลัยการอุดมศึกษาชูไห่ได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสตร์ประยุกต์ (Master of Arts in Applied Buddhist Studies) ภายใต้การอำนวยการของ Ven. Jing Yin, Director of Center of Buddhist Studies อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.chuhai.edu.hk/


 จากการประชุมสัมมนาครั้งนี้น่าจะช่วยให้ความร่วมมือที่เคยมีมาของ มจร กับ วัดโปหลินและสถาบันทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาในฮ่องกงและจีนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยในอนาคตจะมีการจัดสัมมนาลักษณะนี้ร่วมกันเป็นประจำ มีการจัดหลักสูตรร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติร่วมกัน ต่อไป


อย่างไรก็ตาม การประชุมสัมมนาครั้งนี้ยังมีสิ่งต้องปรับปรุงเพื่อการพัฒนาต่อไปอีกหลายประการ โดยเฉพาะ จำนวนบทความที่มีจำนวนมากแต่จัดเวลานำเสนอเพียงครึ่งวัน (เช้าวันที่ 30 มิถุนายน) ทำให้ไม่สามารถจัดเวลานำเสนอให้ได้สาระเท่าที่ควร อีกทั้งผู้เข้าร่วมประชุมก็ไม่สามารถเข้ารับฟังบทความดีๆ ที่ตนเองสนใจได้ และการแบ่งห้องประชุมจำนวนมาก เพื่อแบ่งบทความนำเสนอในห้องให้เสร็จภายในครึ่งวัน ทำให้ต้องแบ่งบางห้องไปจัดในอีกโรงแรม ทำให้เสียเวลาในการเดินทาง และผู้เข้าร่วมประชุมไม่สะดวกที่จะเดินทางไปร่วมรับฟังในห้องอื่นที่สนใจได้


ถึงกระนั้น การสัมมนาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการจัดงานสัมมนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และคณะสงฆ์มหายาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นการสร้างความร่วมระหว่างคณะสงฆ์เถรวาทและมหายานให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในการทำงานเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่  อนึ่ง วัดโป๋วหลิน ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นศูนย์ฝึกพระธรรมทูต วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย  


และในโอกาสเดียวกันนี้ นับเป็นการฉลองครบ 20  ปี แห่งการกลับคืนสู่มาตุภูมิจีนแผ่นดินใหญ่ ของเกาะฮ่องกงด้วย โดยอังกฤษยินยอมส่งคืนเกาะฮ่องกงกลับสู่การปกครองของจีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 ภายใต้ “หนึ่งประเทศ-สองระบบ” ที่รับประกันว่า ชาวฮ่องกงจะได้รับเสรีภาพและอิสระภาพ แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในจีนแผ่นดินใหญ่  และทางรัฐบาลจีนในขณะนั้น ได้ให้สัญญาว่า ระบบทุนนิยมของฮ่องกงจะคงอยู่อย่างน้อยอีก 50 ปี จนถึงปี 2047


...................................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay Doojai)

 

ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/education/84520

ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว เว็บไซต์ข่าว บ้านเมือง

 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    75
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    73
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    136
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    140
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    114