พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร หวั่นโพสต์มารว่อนสร้างเครือข่ายพุทธต้าน
พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร หวั่นโพสต์มารว่อนสร้างเครือข่ายพุทธต้าน
"มจร"จัดสัมมนานาชาติ "พระพุทธศาสนาในยุคดิจิตอล" ปัญหาโรฮิงญากระฉ่อน มส.หวั่นโพสต์มารว่อนมุ่งสร้างเครือข่ายพุทธต้าน มุ่งผลิตเนื้อหาพุทธเชิงบวกเสริมคุณค่ามนุษย์
วันที่ 15 กันยายน 2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิกาบดี มจร และประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนาในยุคดิจิตัล" (Buddhism in Digital Era) โดยมีศาสตราจารย์ อาจารย์ นิสิต และผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนากว่า 20 ชาติ
พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า ในยุคดิจิตอลเทคโนโลยีมีความเจริญมาก ขณะเดียวกันข้อมูลที่เผยแพร่ทางโลกดิจิตอลนั้นมีลักษณะเป็นมารคือมีทั้งจริงและไม่จริงเป็นภัยก็มาก ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นข้อมูลเชิงบวกที่เป็นประโยชน์ขึ้นไปในกระแสโลกดิจิตอลบ้าง แนวทางก็คือจะต้องมีการร่วมมือของชาวพุทธเป็นลักษณะเครือข่าย
ด้วยเหตุนี้มหาจุฬาฯจึงได้ลงทุนงบประมาณเป็นจำนวนมากด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการจัดการศึกษา กิจกรรมการเรียนสอน ทั้งสื่อการสอน การสอนและประชุมทางไกล ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีถูกลงมาก
"อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญอยู่ที่เนื้อหา (Content) ซึ่งอาจารย์และนิสิตควรร่วมมือกันออกแบบเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาให้น่าสนใจ เพื่อพานิสิตเข้าถึงองค์ความรู้ที่กว้างขวางและมีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลก เพื่อตอบโจทย์ข้อนี้ มหาจุฬาฯ จึงมุ่งที่จะนำพระไตรปิฏกฉบับสากล (Common Buddhist Text: CBT) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog of Buddhist Text:UCBT) โดยการสร้างโปรแกรมดิจิตอล เพื่อแปรข้อมูลพระไตรปิฏกฉบับต่างๆ ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ชาวโลกสามารถ Search Engine เข้าถึงเนื้อหาที่เชื่อมโยงถึงกันเหมือนกัน Google" พระพรหมบัณฑิตระบุ
พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ได้กล่าวว่า หลังจากนั้นได้มีการอภิปรายโต๊ะกลมโดยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักวิชาการจากทั่วโลก เพื่อนำเสนอปัญหา และโอกาสของยุคดิจิตอล โอกาสของยุคดิจิตอลนั้น ได้เปิดช่องทางให้ชาวโลกได้เชื่อมถึงกันอย่างรวดเร็ว ทั้งการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี สำหรับการไปมาหาสู่ทั้งทางบก และทางอากาศ การมีศักยภาพที่จะเข้าถึงและใช้สอยข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ต่างๆ ในการสร้างความร่วมและแสวงหาประโยชน์ร่วมกันของมนุษยชาติ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมาในยุคดิจิทัลก็มีมากมายเช่นกัน เราใช้การสื่อสารเพื่อเชื่อมกัน แต่นับวันความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และสังคมเริ่มเหินห่างกันมากยิ่ง คนสนใจดิจิทัลแต่ไม่สนใจชีวิตของกันและกัน คนชอบที่จะเสพมากกว่าที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ข้อมูลที่ท่วมทันแต่อยากที่จะแยกแยะอันไหนจริงและปลอม คนในสังคมจึงขัดแย้งเพราะข้อมูล และใช้ข้อมูล หรือบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกัน ทางออกที่สำคัญคือ คือ การนำข้อมูลที่มากหมายและหลากหลายมาสร้างมูลข้อเพิ่ม Big Data จะไม่มีประโยชน์อันใด หากมนุษย์ไม่สามารถนำมาสร้างมูลค่า
"เพิ่มและต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในเชิงบวก ในยุคดิจิตอลที่หมู่คนเห็นแก่ตัว ว้าเหว่ และเปลี่ยวเหงา และแปลกแยกกันในสังคม เราจึงควรใช้จุดเด่นเรื่องจิตใจของพระพุทธศาสนาไปพัฒนา และดูแลจิตใจ โดยการพัฒนาจิตใจให้ทัน และมองดิจิตอลแบบเสริมมูลค่ามนุษย์ แทนที่จะลดทอนคุณค่าของมนุษย์ โดยพัฒนาจาก Digital Mind ไปบูรณาการเชื่อมสมานโลกในยุคดิจิตอล (Digital World) โดยใช้ทั้งสติกับสมาธิเข้ามาช่วยเติมจิตใจที่แปลกแยก ขาดชีวิตชีวา เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกัน แบ่งปัน (Caring&Sharing) ความสุขและความทุกข์ของกันและกันตลอดไป" พระมหาหรรษา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการอภิปรายโต๊ะกลมนั้นได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาโรงฮิงญาที่ประเทศเมียนมาโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในโลกดิจิดอลที่เป็นเท็จเสียเป็นส่วนมาก ซึ่งพระมหาหรรษา กล่าาวว่า ในภาวการณ์ปัจจุบันนี้ประเทศเมียนมามีปัญหาหลายประการ ยากที่นางออง ซาน ซูจี ผู้นำประเทศเมียนมาจะแก้ปัญหาโดยเบล็ดเสร็จและมีลักษณะเหมือนหนังหน้าไฟ ดังนั้น เธอจึงเลือกที่จะนิ่ง
ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/politic/90892
ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว เว็บไซต์ข่าว บ้านเมือง
|