ร่วมงานพิธีเปิดกงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาเล่าเรียนและทำงานเพื่อนมนุษย์เพราะพระพรหมบัณฑิตเป็นต้นแบบ เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงอิทธิพลทางด้านจิตวิญญาณของโลกในปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า " เราไม่ได้สร้างมหาจุฬาเพื่อประโยชน์ของชาวมหาจุฬาเท่านั้น แต่เราสร้างมหาจุฬาเพื่อประโยชน์ของชาวโลก " หนึ่งในคำของโลก(Quote of the World)ที่ปรากฏในนิทรรศการ "กงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต" เป็นคำกล่าวที่มีความใจกว้างจบประโยชน์ตนนึกถึงประโยชน์ผู้อื่น มิใช่เฉพาะไทยแต่ทั้งโลก นี่คือความสุดท้ายด้านจักขุมาของพระพรหมบัณฑิต ในการสร้างนิทรรศการในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น ๕ ประเด็น คือ
๑) พระพุทธศาสนาสร้างบัณฑิต
๒) บัณฑิตสร้างมหาจุฬา
๓) พระพุทธศาสนาพึ่งพาบัณฑิต
๔) บัณฑิตนำมหาจุฬาสู่ศูนย์กลางพุทธโลก
๕) บัณฑิตผู้นำธรรมสู่สังคม
ท่านพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร.อธิการบดี กล่าวว่า เรามีการพัฒนาการมหาจุฬาในรอบ ๑๓๐ ปี เราจึงมีการรวบรวมผลงานแนวคิดเพื่อคนรุ่นหลังจะได้ทราบมหาจุฬาว่าเราเป็นมาอย่างไร? ท่านพระพิมลธรรมคิดอะไร ? อธิการบดีคิดอะไร ? คุณหญิงสมปองที่ถวายที่ดินสร้างมหาจุฬาคิดอะไร? ถือว่าเป็นจัดการความความรู้ จากบุคคลไปสู่สาธารณปัญญา ว่าคนรุ่นหลังๆ คิดอย่างไรจนมาถึงวันนี้ เมื่อผ่านไป ๕๐ ปี จะไม่มีใครรู้เลยว่าอธิการบดีมหาจุฬาคิดอะไร ? ถ้าเราไม่จัดการความรู้ อธิการบดีทำงานเยอะมาก บรรยายเยอะมาก แต่มีใครรู้บ้างว่าอธิการพูดอะไร? อธิการไปพูดที่องค์การสหประชาชาติ ยังไม่เห็นสิ่งที่พูดเลย ทีมงานต้องรวบรวมไว้เพื่อคนรุ่นหลังๆจะได้ศึกษา มุ่งให้บุคคลและนิสิตได้ศึกษา ทำไมมหาจุฬาจึงสามารถผลิตบัณฑิตอย่างสมด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ประยุตโต) และ ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เราต้องทำโรดแมป ว่าเส้นทางแห่งการพัฒนตนเองท่านเป็นอย่างไร? จึงประสบความสำเร็จ เราต้องไปสัมภาษณ์ศึกษาว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร ? มีกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างไร ? เราต้องทำ KM ไว้ เพื่อคนรุ่นหลังๆ ต่อไปคนรุ่นหลังจะไม่ได้ลำบากและเตือนสติว่ากว่าจะมาเป็นมหาจุฬา
ฉะนั้น ท่านอธิการย้ำว่าจะต้องจัดการความรู้ด้วยการรวบรวมผลงานทุกรูปแบบ เพื่อเป็นสาธารณปัญญาให้คนปัจจุบันและรุ่นหลังได้เรียนรู้ มีโอกาสได้ชม
ผลงานท่านพระพรหมบัณฑิต ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาพัฒนาตนให้สุดยอดแล้วออกไปช่วยเหลือคนอื่นและสังคม เรียกว่า " จบประโยชน์ตน นึกถึงประโยชน์คนอื่น " สิ่งสำคัญได้อ่านดุษฏีนิพนธ์ของท่านพระพรหมบัณฑิต จักเป็นแรงบันดาลใจในการทำดุษฏีนิพนธ์ต่อไป
สาราณียธรรม
พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท
นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา
ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
๑๗ กันยายน ๒๕๖๐
ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว กองสื่อสารองค์กร มจร