ข่าวประชาสัมพันธ์
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร. ชี้วิสาขบูชาโลก ดึงคนเข้าใกล้ธรรม
31 พ.ค. 50 | ข่าวมหาวิทยาลัย
687
ข่าวมหาวิทยาลัย
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร. ชี้วิสาขบูชาโลก ดึงคนเข้าใกล้ธรรม
วันที่ ๓๑/๐๕/๒๐๐๗ เข้าชม : ๑๐๘๒๒ ครั้ง

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, Ph.D.) ศาสตราจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เกี่ยวกับการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ 4 เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2550 ว่า
 "ปี 2550 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระชนมายุ ครบ 80 พรรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม ที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก จึงมีมติให้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 3 ติดต่อกัน เพื่อให้ชาวพุทธจากทั่วโลกได้ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสสำคัญร่วมกับคนไทย อีกทั้งคณะพระสังฆราช ผู้แทนพระสังฆราช พระสงฆ์ และผู้นำศาสนาพุทธกว่า 60 ประเทศ จะเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อีกด้วย การประชุมวิชาการชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ 4  เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2550 ว่าด้วยเรื่อง คุณูปการของพระพุทธศาสนาที่มีต่อธรรมาภิบาลและการพัฒนา ณ หอประชุมพุทธมณฑล นครปฐม ซึ่งถูกแต่งตั้งให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก (Buddhism Center of the World) และ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 31 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)  ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดการประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชา กล่าวถึงคนไทยกับศาสนาให้ฟังว่า ถ้าพูดถึงความห่างเหินของคนรุ่นใหม่กับศาสนา มีอาการที่น่าเป็นห่วง เพราะศาสนาเป็นเรื่องของตัวอย่าง คำสอนที่เข้าถึงจิตใจประชาชน โดยผ่านสื่อต่างๆและการเรียนการสอน แต่ปรากฎว่า ทั้ง 2 สื่อมีปัญหา ด้านสื่อ รับแต่วัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่สอดคล้อดกับค่านิยมและความเชื่อทางศาสนา เป็นวัตถุนิยมมากไปหาความสุขทางร่างกายมากกว่าความสุขสงบทางจิตใจ รวมทั้ง เพิกเฉย ละทิ้งคุณงามความดีทางจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ผนวกกับข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน ทำให้การไหลบ่าวัฒนธรรมแบบบริโภควัตถุนิยมเข้ามาท่วมคุณค่าทางศาสนาในประเทศไทยอีกเรื่องหนึ่งที่ตามกันไม่ทัน คือ  การอบรมจิตใจเยาวชนในโรงเรียน แม้จะมีความพยายามให้มีการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากครูที่สอนไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของพุทธศาสนา เมื่อต้องมาจึงไม่สามารถสอนได้ ส่วนพระสงฆ์ที่เข้าไปเสริมสมทบ ไม่ได้ฝึกในเรื่องของการใช้สื่อและอุปกรณ์ ศาสนาจึงกลายเป็นนามธรรม

ในหลายประเทศที่เข้าร่วมประชุมเป็นประเทศที่เคยประกาศไม่รับพุทธศาสนา เช่น ประเทศจีน เวียดนาม และกัมพูชา แต่ในวันนี้ ล้วนกำลังก่อสร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน รัฐบาลอนุญาตให้มีการจัดสร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้นที่เมืองฝู่โถวซาน ใช้งบประมาณ 16,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่แม้กระทั่ง เวียดนาม ที่เริ่มมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนไม่อยากมีความสุขบนวัตถุแต่จิตใจมีปัญหา จึงหันเข้าหาพุทธศาสนา อย่างในครั้งนี้ ทางสถานฑูตวเวียดนามได้ส่งท่านเลขานุการเอกมาร่วมสังเกตุการณ์ และเข้าร่วมประชุมด้วย นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับกิจกรรมในครั้งนี้  รวมทั้งนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้มีการส่งสารมาให้ เพื่ออ่านในการประชุมที่สหประชาชาติ ในการสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

ในปีนี้ นอกจากการประชุมสัมมนาและร่วมกิจกรรมต่างๆ แล้ว ผู้นำทางศาสนาของแต่ละประเทศหรือที่เรียกันว่า ไอ โอ ซี จะมีการลงนามในปฏิญญาและทำกฎบัตรร่วมกันเพื่อจัดตั้ง สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาโลก ขึ้นตอนนี้กำลังมีการดำเนินการชี้แจงรายละเอียดที่เน้นการประชุมแบบเวิร์ค โดยศูนย์กลางของสมาคมพุทธศาสนาโลกจะอยู่ที่ประเทศไทย แต่จะจัดตั้งที่ใดนั้นกำลังอยู่ในช่วงการปรึกษากันอยู่ การที่ประเทศไทยได้รับให้เป็นศูนย์กลางของสมาคมฯ มาจาก 2 ส่วน คือ บรรยากาศทางการเมือง ผู้นำที่เป็นชาวพุทธ ที่สามารถต้อนรับผู้นำศาสนาและชาวพุทธต่างประเทศได้อย่างอบอุ่น และประชาชน เพราะพระพุทธศาสนาในหลายๆ ประเทศเป็นเสียงข้างน้อย เมื่อมาเห็นในประเทศไทย ไปที่ใดจะเห็นวัดวาอาราม เห็นชาวบ้านมาร่วมชุมนุมในวันสำคัญทางศาสนา เหมือนกับกำลังมองเห็นสังคมในอุดมคติ ซึ่งในต่างประเทศไม่ค่อยมีให้เห็น ส่วนใหญ่พระจะอยู่ในฐานะเฝ้าศาลเจ้า แต่ของประเทศไทย พระมีบทบาทในการประสานงานและจัดการงานได้
ค้นข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
แหล่งข่าว หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 หน้าวาไรตี้โชน



เว็บไซต์อ้างอิง
  Web Link : http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=128987&NewsType=1&Template=1
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระดับปริญาตรี ประจำปี การศึกษา ๒๕๖๗ มจร
    20 ธ.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    139
  • พิธีประสาทปริญญา ประจำปี ๒๕๖๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    12 ธ.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    218
  • ข้อปฏิบัติในการเข้ารับประทานปริญญาบัตร ในพิธีประสาทปริญญา
    25 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    537
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    414
  • พระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ., รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    384