ซึ่งได้จัดพิธีปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่
ที่ “นครวัด” ประเทศกัมพูชา
หลังจากขบวนธรรมยาตรา
5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขงเดินทางไกลมา 18 วัน ใน 5 ประเทศ คือ ไทย เมียนมา เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา
ในที่สุดมาถึงพิธีปิดโครงการธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง
โดยในงานพิธี
สมเด็จพระสังฆราชาเทพวงศ์ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
กล่าวสัมโมทนียกถาในฐานะประธานสงฆ์ว่า “ธรรมยาตรา”
เป็นหนทางสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจในหลักธรรมคำสอน
ที่จะใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
ประเทศแถบลุ่มน้ำโขงนับถือพุทธศาสนา
มากว่า 2,000 ปี
และพุทธศาสนาได้ลงหลักปักฐานกลายเป็น วัฒนธรรม ประเพณีของดินแดนลุ่มน้ำโขง
แม้ประเทศแถบลุ่มน้ำโขงจะเป็นดินแดนพุทธ แต่พุทธศาสนิกชนจำนวนมากไม่มีความเข้าใจใน
แก่นธรรม จึงเป็นเหตุให้เกิด สงคราม วิกฤติทางการเมือง “วิกฤติทางสังคม” นั่นเป็นเพราะขาด
พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
สมเด็จพิชัย
เสนา เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
กล่าวในระหว่างพิธีปิดโครงการธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง ว่าถือเป็นงานที่มีความสำคัญกับประเทศลุ่มน้ำโขง
โดยมีพุทธศาสนา เชื่อมความสัมพันธ์
และสร้างสันติภาพให้กับประเทศลุ่มน้ำโขง
โครงการธรรมยาตรา
ยังเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมความสัมพันธ์ทั้ง 5 ประเทศในทุกมิติ คือ ด้านสังคม
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
รองนายกรัฐมนตรีและ
รมว.กลาโหมกัมพูชา ยังกล่าวด้วยว่า หลังราชอาณาจักรกัมพูชากลับสู่ความสงบสุข
หลังสงครามกับกลุ่มเขมรแดง ทางรัฐบาลได้ฟื้นฟูพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง
เพราะในช่วงสงครามกว่า 3 ปี 8 เดือน ทั้งประเทศตกอยู่ในความมืดมน หวาดกลัว
และพุทธศาสนาถูกทำลายลง
นับตั้งแต่มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาในราชอาณาจักรกัมพูชา
ประชาชนส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธมีความเชื่อมั่น
ศรัทธาต่อพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้ง
สมเด็จพิชัยเสนา
เตีนบัน ย้ำว่า พิธีบวงสรวงที่ปราสาทนครวัดซึ่งเป็นมรดกโลก
ถือเป็นไฮไลท์ของพิธีปิดโครงการธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน และถือเป็นครั้ง “ประวัติศาสตร์”
ที่รัฐบาลอนุญาตให้หน่วยงานจากต่างประเทศเข้าร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์
เป็นการแสดงให้เห็นว่า ราชอาณาจักรกัมพูชาให้ความสำคัญ และเปิดกว้างกับมิตรประเทศ
โดยมีศาสนาพุทธ เชื่อมโยงประเทศในแถบลุ่มน้ำโขง
ในช่วงหนึ่งของพิธีปิดโครงการธรรมยาตรา
5 แผ่นดิน นายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย
แกนหลักในการจัดงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน กล่าวขอบคุณสมเด็จอัครมหาเดโชฮุนเซน
นายกรัฐมนตรี ที่เมตตาให้จัดพิธีบวงสรวงที่ “นครวัด”
อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่มีประวัติศาสตร์รุ่งเรืองยาวนาน
ขบวนธรรมยาตราเคลื่อนไปในทุกพื้นที่ล้วนได้รับการต้อนรับจากประธานสงฆ์
ผู้นำสงฆ์ ผู้นำรัฐบาล องค์กรภาคี และพุทธบริษัท แสดงให้เห็นว่า
“ชาวพุทธ”เปรียบเสมือน”ญาติธรรม” ที่มี”พ่อ” คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และมี “แม่” คือ “แม่น้ำโขง” หล่อเลี้ยงชีวิต
ขบวนธรรมยาตราที่ใช้เวลาเดินทาง
18 วัน ด้วยระยะทาง 2,400 กิโลเมตร
ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยา อินเดีย 16 ต้น
พร้อมเคลื่อน"เสาเสมาธรรมจักร" และ"ธงฉัพพรรณรังสี"
เป็นสัญลักษณ์ของ"การหมุนกงล้อแห่งธรรม"
ที่เกิดจากดำริก่อนละสังขารของ"พระอาจารย์ใหญ่มหาผ่อง สะมาเลิก"
อดีตประธานองค์การพุทธศาสนสัมพันธ์ลาว ที่ให้ใช้แนวทาง”พุทธพลิกสุวรรณภูมิ” ซึ่งจะเป็นประวัติศาสตร์อีกนับพันปี
สำหรับพิธีบวงสรวงอุทิศถวายดวงวิญญาณ"พระเจ้าชัยวรมันที่
7 "ที่”ปราสาทนครวัด” มีสมเด็จสังฆราชเทพวงศ์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีการนิมนต์สวดชยันโต
ถวายเครื่องสักการะ สวดธรรมอุทิศ ถวายเพลงพิณพาทย์ ถวายระบำบวงสรวงและเทพมโนรมย์
จากนั้นเป็นพิธีสวดมนต์พระปริตร
และนิมนต์พระสงฆ์อุทิศถวายดวงวิญญาณพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกัมพูชา สวดสรภัญญะ สมาทานศีล ถวายเมตตาธรรม
เป็นอันเสร็จพิธีบวงสรวงครั้งประวัติศาสตร์
18
วันที่ขบวนธรรมยาตราเคลื่อนไปใน 5 แผ่นดิน สัญลักษณ์แทนองค์พระศาสดา
“เสาเสมาธรรมจักร” “ธงฉัพพรรณรังสี” ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ได้ถูกปักลงในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้ง
5
เป็นการหมุน”กงล้อแห่งธรรม”และ"ขับเคลื่อนกองทัพธรรม"
ด้วยการรวบรวมชาวพุทธ กุลบุตร กุลธิดา
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้หลอมรวมใจด้วยพลังศรัทธา
เพื่อธำรงรักษาพุทธศาสนาให้มั่นคงตลอดไป
ข่าว
: วิทยาลัยพระธรรมทูต
, เพจวัดไทยพุทธคยา
รายงาน: พระมหาสมาน
ชาตวิริโย, ดร.
ภาษาอังกฤษ : พระสิริวรรณะ สิริวณฺโณ
ภาพ
: วิทยาลัยพระธรรมทูต
, พระมหาศุภกิจ สุภกิจฺโจ