ข่าวประชาสัมพันธ์
116 มหาวิทยาลัยทั่วโลกลงนามความร่วมมือการสอนพระพุทธศาสนา
17 ก.ย. 51 | ข่าวมหาวิทยาลัย
546
ข่าวมหาวิทยาลัย
116 มหาวิทยาลัยทั่วโลกลงนามความร่วมมือการสอนพระพุทธศาสนา
วันที่ ๑๗/๐๙/๒๐๐๘ เข้าชม : ๘๙๘๖ ครั้ง

          เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ กล่าวถึงผลการลงนามความร่วมมือในระดับต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา จำนวน 116 แห่ง ในงานประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ว่า การประชุมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก 30 ประเทศทั่วโลกที่มีการเปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเข้าร่วมงาน รวมทั้งสถาบันการศึกษาในไทยด้วย
      มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีการลงนามเพื่อการทำงานร่วมกันในสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ และบันทึกข้อตกลงร่วม 116 สถาบัน นอกจากนี้ยังมีการแยกบันทึกข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัย โดยสรุปการลงนามแบ่งได้เป็น 4  มติ คือ 
    1. มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ทั้ง 116 สถาบันลงนามการทำงานร่วมกันของสมาคมฯ ใน 3 เรื่อง ได้แก่
    1.1ร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ เช่น หลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ต้องมีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยของฆราวาสทั่วไป รวมทั้งศึกษาแนวทางการรักษาเอกลักษณ์ทางวิชาการพระพุทธศาสนา และเสรีภาพทางวิชาการโดยคณะกรรมการบริหารสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการในการดูแลการทำงานดังกล่าว
    1.2 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเป็นคนกลางกำหนดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ครู อาจารย์ และนักศึกษา ร่วมมือกันทำงานวิจัยและร่วมมือกันจัดการประชุมวิชาการ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จทั้งความร่วมมือในการเสนอผลงานและการบริหาร รวมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดงานประชุมวิชาการดังที่เกิดในครั้งนี้ โดยการประชุมวิชาการนานาชาติ จะเกิดขึ้นอีกครั้งในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ.2552 โดยสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติเป็นผู้จัดงาน
     1.3 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมงานมาจากหลากหลายประเทศ ทำให้ประเทศที่มีควมพร้อมในทุกๆ ด้านให้ความช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนด้านกองทุนในการพัฒนางานวิชาการของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ที่ประชุมเห็นควรให้มีการตั้งกองทุนกลางช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีคณะกรรมการในการระดมทุน 
     2. ลงนามด้านการวิจัยและการเรียนการสอนประกอบด้วย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยหลัก คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่สอนพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอีก 25 มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตทางพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย
     3. มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ไทย กัมพูชา  ลาว พม่า และเวียดนาม โดย 10 มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของ 5 ประเทศ ในการทำการศึกษาวิจัย จัดประชุม และจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยจัดตั้งเป็น สมาคมการศึกษาพระพุทธศาสนาลุ่มแม่น้ำโขง เป็นการเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคเดียวกันในการทำงานร่วมกัน
      4. เป็นการลงนามระดับทวิภาคี ระหว่างมหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย กับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ประเทศบราซิล และระหว่างมหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศบราซิล กับสถาบันพระพุทธศาสนา โซไมยะแห่งมหาวิทยาลัย บอมเบย์ ประเทศอินเดีย พระธรรมโกศาจารย์กล่าวเพิ่มเติมว่า
         จากการจัดงานประชุมทางวิชาการฯในครั้งนี้มีการลงนามทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มเล็กๆ ระหว่างประเทศมากขึ้น เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้งยังประหยัดเงินและเวลา ในการทำงานอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์และบันทึกหน้าใหม่ของการพัฒนาการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของโลก ซึ่งคณะผู้เข้าร่วมประชุมต่างมีความหวังให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลก ได้รับการศึกษาพระพุทธศาสนาในรูปแบบใหม่ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับอานิสงส์จากนักวิชาการ นักปราชญ์ ราชบัณฑิตและ ผู้นำชาวพุทธที่เข้าร่วมกิจกรรมในการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย/ข่าว


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ข้อปฏิบัติในการเข้ารับประทานปริญญาบัตร ในพิธีประสาทปริญญา
    25 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    5
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    128
  • พระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ., รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    126
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์  รองประธานกรรมการจัดการแข่งขันผู้อุปถัมภ์การปรับปรุงพื้นที่สนามรอบกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อการแข่งขันกีฬามหาจุฬาอยุธยาเกมครั้งที่ ๑๕
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    191
  • กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ คณะครุศาสตร์ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
    18 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    107