ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสด เสนอข่าวสกู๊ปพิเศษ เวทีอธิการบดีมหาวิทยาลัยพุทธฯ ถกพุทธจริยศาสตร์-สนใจวิปัสสนา
30 ก.ย. 51 | ข่าวมหาวิทยาลัย
539
ข่าวมหาวิทยาลัย
ข่าวสด เสนอข่าวสกู๊ปพิเศษ เวทีอธิการบดีมหาวิทยาลัยพุทธฯ ถกพุทธจริยศาสตร์-สนใจวิปัสสนา
วันที่ ๓๐/๐๙/๒๐๐๘ เข้าชม : ๑๐๘๒๒ ครั้ง

 ในปัจจุบัน พระพุทธศาสนากลายเป็นศาสนาที่ประชากรโลกล้วนให้ความสนใจ โดยเฉพาะการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนามีการเปิดสอนกันอย่างจริงจังตามมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาทั่วโลก แม้แต่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกของฆราวาส ยังได้เปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนา เพื่อตอบสนองความต้องการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ และการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ ๑ เรื่อง พุทธจริยศาสตร์ ณ อุโบสถกลางน้ำ มจร. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้แทนมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ๑๑๖ แห่ง จาก ๓๐ ประเทศทั่วโลก เข้าร่วม พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาจุฬาฯ ในฐานะประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (สมพน.) เล่าถึงความเป็นมาของการจัดงานให้ฟังคร่าวๆ ว่า เนื่องในวันวิสาขบูชานานาชาติ ปี ๒๕๕๐ ผู้แทนจากชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามปฏิญญากรุงเทพ, (Bangkok declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธ ศาสนานานาชาติ (International Association of Buddhist Universities : IABU) และให้มีสำนักงานเลขาธิการใหญ่ ตั้งอยู่ที่ มจร. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างเครือข่ายวิชาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลการสอน การวิจัย การพัฒนาบุคลากร หลักสูตรเกี่ยวกับวิชาการด้านพระพุทธศาสนาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ 
  เมื่อวันที่ ๑๓-๑๕ กันยายน  ๒๕๕๑  ณ มจร วังน้อย มีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกัน ๗ กลุ่ม คือ พุทธจริยศาสตร์กับวรรณคดี พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาจิตใจ พุทธจริยศาสตร์กับรัฐศาสตร์ พุทธจริยศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ พุทธจริยศาสตร์กับการพัฒนาคน พุทธจริยศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ และพุทธจริยศาสตร์กับการศึกษา โดยผู้แทนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุมได้ต่างแสดงจุดยืนที่จะร่วมกันพัฒนาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาต่อไป
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานโอวาทว่า การเกิดขึ้นแห่งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ เป็นการเกิดขึ้นของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก ทำให้ท่านทั้งหลายภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ให้ประโยชน์แก่โลก การที่มหาวิทยาลัยจากประเทศต่างๆ ที่มีการเปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนาจึงได้มีโอกาสมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน จะทำให้เกิดประโยชน์เบื้องต้นต่อไป ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว ประเทศไทยมีโอกาสทำงานรับใช้สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย และ มจร ซึ่งเป็นการรับใช้ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เมื่อชาวพุทธจากทั่วโลกมารวมตัวกัน จะสามารถดับความร้อนของโลกได้ ด้วยสติ ปัญญา ความรู้ ที่ได้จากการประชุม แม้ทุกคนจะอยู่กันคนละประเทศ แต่นับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน เมื่อมารวมกันต่างมีจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงทำให้เราเป็นประเทศเดียวกันในโลก..ต่อไป
   พระธรรมโกศาจารย์ ได้สรุปผลการประชุมในครั้งนี้ ว่า ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยผู้แทนมหาวิทยาลัยนานาชาติได้ลงนามความร่วมมือกันใน ๔ มติ คือ
  มติที่ ๑ จะร่วมมือพัฒนาวิชาการ หลักสูตรการศึกษาให้มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยของฆราวาสทั่วไป รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการกลางทำหน้าที่แลกเปลี่ยน ครู อาจารย์ นักศึกษา ร่วมมือกันทำวิจัย ตลอดจนช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนด้านกองทุน โดยที่ประชุมเห็นควรให้มีการตั้งกองทุนกลาง และจะตั้งคณะกรรมการในการระดมทุนขึ้นด้วย
  มติที่ ๒ มหาจุฬาฯ และมหามกุฏฯ  และมหาวิทยาลัยที่มีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ๒๕ แห่ง ได้ลงนามร่วมกันพัฒนาบัณฑิตด้านการวิจัยและระบบการเรียนการสอนวิชาการพระพุทธศาสนา
  มติที่ ๓ มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ๑๐ แห่ง จาก ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ได้ลงนามความร่วมมือจัดตั้งสมาคมการศึกษาพระพุทธ ศาสนาลุ่มแม่น้ำโขงขึ้น เพื่อพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน และ
  มติที่ ๔ มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย กับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ประเทศบราซิล และมหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศบราซิล กับสถาบันพระพุทธศาสนา โซไมยะ แห่งมหาวิทยา ลัยบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ลงนามระดับทวิภาคีร่วมกัน เพื่อพัฒนาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกกำลังขาดแคลนเป็นจำนวนมากและกำลังหาแนวทางแก้ไข คือ อาจารย์สอนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน


แหล่งข่าว  คอลัมน์ สกู๊ปพิเศษ ข่าวสดรายวัน ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๖๕๐๖ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ หน้า ๓๐
ค้นข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ



เอกสารประกอบ
ไฟล์แนบ : iabunews.pdf
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ข้อปฏิบัติในการเข้ารับประทานปริญญาบัตร ในพิธีประสาทปริญญา
    25 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    10
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    128
  • พระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ., รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    126
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์  รองประธานกรรมการจัดการแข่งขันผู้อุปถัมภ์การปรับปรุงพื้นที่สนามรอบกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อการแข่งขันกีฬามหาจุฬาอยุธยาเกมครั้งที่ ๑๕
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    191
  • กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ คณะครุศาสตร์ได้จัดโครงการปัจฉิมนิเทศการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
    18 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    107