ข่าวประชาสัมพันธ์
มติสภามหาวิทยาลัย มจร อนุมัติเปิดหลักสูตรพุทธศิลปกรรม ป.โท-เอก ณ วิทยาเขตเชียงใหม่
29 ก.ค. 64 | ข่าวมหาวิทยาลัย
1663


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กรกฎาคม ..๒๕๖๔ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่/๒๕๖๔ มีมติอนุมัติ “หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ..) สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม หลักสูตรใหม่ ๒๕๖๔” และหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ..) สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม หลักสูตรใหม่ ๒๕๖๔” และอนุมัติโครงการเปิดสอนทั้งสองหลักสูตร  บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่


      ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรได้รับความชื่นชมจาก UNESCO ว่าเป็นรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ที่เรียกว่า “การอนุรักษ์เชิงป้องกันมากว่า 10 ปี และได้รับเมตตาจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบันทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ร่วมดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฯ เริ่มจากการยกร่างหลักสูตรฯ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ กระทั่งได้ปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา คำอธิบายรายวิชา ตลอดถึงรายละเอียดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes – PLOs) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education – TQF:HEd) และ ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (Desired Outcome of Education – DOE)



ผู้ใหญ่ที่เป็นแรงบันดาลใจและมีอุปการคุณ ที่เมตตาให้หลักสตรพุทธศิลปกรรมได้รับการอนุมัติ ที่ขออนุญาตกล่าวนามได้แก่ พระพรหมบัณฑิต อุปนายกสภามหาวิทยาลัย พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี พระเทพปวรเมธี เลขานุการสภามหาวิทยาลัย พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย .ดร.สันติ เล็กสุขุม ราชบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม คุณมณฑิรา หรยางกูร อูนากูล องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ (UNESCO Bangkok) และอีกหลาย  ท่าน


ข้อเสนอแนะของพระเดชพระคุณ พระพรหมบัณฑิต เรื่องการทำความร่วมมือกับยูเนสโก (UNESCO) ในการทำให้เป็นต้นแบบหลักสูตรพุทธศิลปกรรม ซึ่งประเทศพุทธจะได้นำไปพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์มรดกพุทธศิลปกรรม และสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมอันทรงคุณค่าเพิ่มมูลค่าสู่สากล เป็นข้อเสนอแนะที่ทรงคุณค่ายิ่ง


เราจะร่วมมือกันดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่สามารถช่วยชี้นำการอนุรักษ์ ประยุกต์และสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ในสังคมไทย ก้าวไกลถึงสังคมโลก


คงในการที่จะเข้ามาศึกษาในหลักสูตรทั้งสองระดับ เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่มีความถนัดในการพัฒนางานพุทธศิลปกรรม จะสามารถเรียนสาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ได้หรือไม่ ???


ทั้งหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ..) สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม [แผน  แบบ  (แผน  แบบ  ()] และหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ..) สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม [แบบ . และ แบบ .ได้วางโปรแกรมการศึกษาค้นความให้เหมาะสมกับสองกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ) “กลุ่มศิลปิน” ผู้ผ่านการศึกษาสายศิลปะมาโดยตรง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นสาย “รูป” และ ) “กลุ่มนักคิดนักเขียน นักวิจารณ์” ผู้มีอุปนิสัยช่างสังเกตและมองศิลปะผ่านมุมมองทางแนวคิดทฤษฎี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นสาย “นาม


ผลงานการศึกษาค้นคว้าหรืองานวิทยานิพนธ์ของ “กลุ่มศิลปิน” ซึ่งทำ “พุทธศิลปะวิจัย” ก็จะออกมาเป็น “ชิ้นงานพุทธศิลปกรรม + รายงานเอกสาร ?” ในขณะที่ผลงานการศึกษาค้นคว้าหรืองานวิทยานิพนธ์ของ “กลุ่มนักคิดนักเขียน นักวิจารณ์” ซึ่งทำ “วิจัยพุทธศิลปะ” ก็จะออกมาเป็น “รายงานเอกสาร + ชิ้นงานพุทธศิลปกรรม ?”


ท่านที่สนใจ ติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่

แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    12
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    83
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    72
  • “ความเป็นผู้รู้จักเวลา เป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้คนเราสามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต เด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรปฏิบัติสิ่งใด..เหมาะแก่เวลาเสมอ” พระบรมราโชวาท ร.10 เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
    05 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    221
  • “เจ้าคุณประสาร” มอง “อ.เบียร์” ขาด “คารวตา” ปมวิจารณ์ “พระเกจิสังขารไม่เปื่อย” ให้สติ “อย่าเป็นชาล้นถ้วย”
    04 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    113