อธิการบดีแสดงธรรม เพื่อครูเรียนรู้สู่การสอน
14 พ.ย. 51 | ข่าวมหาวิทยาลัย
462
|
ข่าวกิจกรรม |
|
อธิการบดีแสดงธรรม เพื่อครูเรียนรู้สู่การสอน |
วันที่ ๑๔/๑๑/๒๐๐๘ |
เข้าชม : ๙๕๑๕ ครั้ง |
ใน โอกาสสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประกวดกิจกรรมการเรียนรู้ "คุณธรรมนำการคิด" โดยร่วมกับภาคเอกชน คือสำนักพิมพ์แม็ค จำกัด กราบนิมนต์ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9, พธ.บ., Ph.D.) เจ้าคณะภาค 2 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แสดงธรรมหัวข้อคุณธรรมนำการคิดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนคุณธรรม จริยธรรม สรุปความดังนี้
การศึกษามีเป้าหมายเพื่อพัฒนาปัญญาให้เกิด ความรอบรู้ ความรอบรู้ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความแบบเชื่อมโยงก็ได้เรียกว่ารู้รอบ หรือรู้ไปถึงแก่นความจริงเรียกว่ารู้ลึก รู้รอบกับรู้ลึกเป็นปัญญา ปัญญานั้นถ้ามีในผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นคนที่คิดกว้างแล้วก็มองลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นการศึกษาให้คนเห็นมองเชื่อมโยงของสิ่งทั้งหลาย และทำนองเดียวกันก็เข้าสู่เบื้องหลังของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าสามารถสร้างคนให้มีปัญญาดังกล่าวมานี้ได้ เขาก็จะดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง เพราะ ถ้ารู้รอบระหว่างตัวเองกับคนอื่น ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม เขาก็ถนอมรักษาสิ่งแวดล้อม ถนอมรักษาคนอื่น ซึ่งเรียกว่ามีคุณธรรมจริยธรรมนั้นเอง และถ้ารู้ลึกไปถึงเบื้องหลังสิ่งทั้งหลาย เขาก็จัดการดำเนินการให้สอดคล้องถูกต้องกับความรู้ที่ได้นั้น ปัญหาต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น เรื่องที่เราอบรมสั่งสอนให้เด็กเกิดปัญญา ก็จะต้องกำหนดตั้งเป้าหมายว่า ถ้าจะทำให้เขารู้รอบและรู้ลึกดังกล่าวมานี้จะทำอย่างไร ในทางพุทธศาสนาได้แบ่งปัญญาหรือความรอบรู้ออกเป็น 3 ประเภท ประเภท ที่ 1 สุตมยปัญญา ประเภท ที่ 2 จินตมยปัญญา
การ สอนในห้องเรียน คุณธรรมจริยธรรมต้องทำทั้ง 3 ขั้น 3 ลำดับ ขั้นที่ 1 คือ สุตมยปัญญา ความรู้ที่เกิดจากการรับข้อมูลนั้น ครูจะต้องเป็นผู้สอนให้รู้ และเมื่อรู้แล้วจะต้องคิดสอนให้เขาคิด ทีนี้จะสอนอย่างไรที่จะให้เด็กเกิดขั้นที่ 2 จินตมยปัญญา ครูจะต้องทำให้ดูคือคิดให้ดู นำไปก่อนเลยว่าคิดอย่างนี้ วิเคราะห์อย่างนี้ เหมือนกับสาธิตในทางจิตใจ ปกติเราเข้าห้องแล็บห้องทดลองนี่มองเห็น แต่ถ้าเรื่องการคิดเราลองคิดให้เด็กดู หรือเราคิดนำ พูดออกมาดังๆ อันนี้เรียกจินตมยปัญญา คือคิดให้ดู
ขั้นที่ 3 ภาวนามยปัญญา เป็นการลงมือปฏิบัติ ครูต้องอยู่ให้เห็น คือการดำรงชีวิตอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นตัวแบบ เป็นโมเดลลิ่ง จึงจะมีผลสัมฤทธิ์ในพฤติกรรมของเด็กก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อยากให้เด็กไหว้พระสวดมนต์ ครูก็ไหว้พระสวดมนต์ให้เด็กดูด้วย ทำเป็นวิถีชีวิตอย่างนี้ก็ต้องมีผล "สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น"
การ ย่อยหรือคิดด้วยจินตาของครู ที่ว่าคิดให้ดูหรือทำให้ดูนั้น แยกออกเป็น 2 แบบ คือ 1.คิดเพื่อให้เกิดปัญญา 2.คิดเพื่อให้เกิดคุณธรรม 2 แบบนี้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือเมื่อมีปัญญาแล้วไปสู่คุณธรรมได้ โดย
แบบที่ 1 คิดเพื่อให้เกิดปัญญา แบบที่ 2 คิดแล้วเกิดคุณธรรม
การ คิดเป็นต้องให้เสรีภาพมองได้หลายมุม เรื่องเดียวกันชั่งหลายๆ ด้าน หลังจากสอนเสร็จถามว่าคิดอย่างไร ให้เขาฟังเพื่อนคิด ในที่สุดเขาก็จะรู้ว่าคิดไม่เหมือนกัน และครูก็ไม่ต้องสรุปหรอก เด็กสรุปเองว่าคิดอย่างไรถึงจะเหมาะ แล้วสังคมก็จะเกิดปัญญาเพราะสร้างสรรค์ในการคิด
แหล่งข้อมูล: วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6560 ข่าวสดรายวัน |