ข่าวประชาสัมพันธ์
เจ้าคุณประสาร เผยขันธ์ 5 คือทางออกและแสงสว่างเป็นธรรมะประจำใจเพื่อชีวิตที่สดใส
22 ก.ย. 64 | ข่าวมหาวิทยาลัย
28346

วันที่ 21 กันยายน 2564 พระเมธี ธรรมาจารย์ (เจ้าคุณ ประสารรองอธิการบ ดีฝ่ายวางแ ผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณร าชวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะสังคมเมืองหลวงเป็นสังคมที่แข่งขัน แย่งชิง เร่งรีบค่อนข้างสูง วิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบนี้ทำให้ปลูกฝั่งในสิ่งที่อยากได้ อยากมีอยากดี อยากเด่นสารพัดอยากโดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
การแข่งขันทุกชนิดถ้ามีกฎ กติกาและศีลธรรมเข้ามากำกับก็เป็นปกติของชาวโลกทั่วไป แต่ถ้าเกินเลย เกินขอบเขต จะต้องมี ต้องได้ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องดีงาม นี่ก็อันตราย

ในทางพระพุทธศาสนาเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าไฟคือ ความร้อน ความร้อนภายในเกิดจากไฟ 3 กอง คือไฟโลภะ(อยากได้ไฟโทสะ(คิดประทุษร้ายไฟโมหะ(ความหลง ไม่รู้จริงทั้ง 3 อย่างนี้คืออกุศลมูล ซึ่งเป็นต้นตอของความชั่วทั้งปวง



การเป็นอยู่หรืออยู่เป็น เพื่อไม่ทุกข์ ไม่หนัก ไม่แบก และไม่หลุดโลก (ยังคงเป็นคนปกติในสังคมทั่วไปพระพุทธศาสนาสอนไว้อย่างไร

พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว เมื่อครั้งเสด็จออกบวชใหม่ๆทรงไปศึกษากับสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส (สมาบัติ 8 ฌาน เป็นกำลังของสมาธิ ) พระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริงจึงปลีกออกไปปฎิบัติขั้นอุกษฎ์ด้วยพระองค์เอง แต่ก็ยังไม่ใช่ทางอยู่นั่นเอง ในที่สุดก็กลับมาเสวยอาหารเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ เป็นเหตุให้ปัญจวัคคีย์เสื่อมศรัทธาและหลีกหนีไป และในที่สุดพระองค์ก็ทรงค้นพบวิธีปฎิบัติเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูงสุดในแบบมัชฌิมาปฎิปทา ไม่ใช่แบบอัตถกิลมัตถานุโยค (ทรมานตนหรือแบบกามสุขัลลิกานุโยค(เพลิดเพลินในกามนั่นคือทางอันประเสริฐคือ มรรคมีองค์ 8 (อริยอัฏฐังคิกมรรคประกอบด้วย

1.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

2.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

ทั้งสองอย่างนี้คือปัญญา

3.สัมมาวาจา วาจาชอบ

4.สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ

5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

ทั้งสามอย่างนี้คือศีล

6.สัมมาวายามะ เพียรชอบ

7.สัมมาสติ ระลึกชอบ

8.สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

ทั้งสามอย่างนี้คือสมาธิ

รวมแล้วก็คือไตรสิกขานั่นเอง

ทั้งหมดนี้เป็นหลักธรรมสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและนำพาเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงซึ่งแบ่งเป็น 4 จำพวกหรือความเป็นพระอริยบุคคล 4 ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์

เมื่อทรงตรัสรู้แล้วพระองค์ประสงค์จะโปรดเวไนยสัตว์ (เวเนยฺยคือ ผู้พึงแนะนำได้โดยพิเศษ ด้วยพระคุณ 3 คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระมหากรุณาคุณ จึงนึกถึงอาฬานดาบส และอุทกดาบส แต่ทั้งสองก็เสียชีวิตแล้ว จึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปนตนมฤคทายวัน ทรงแสดงหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาปรากฎในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทรงแสดงให้เห็นถึงการปฎิเสธที่สุด 2 อย่าง (ทรมานตน ,เพลิดเพลินในกามแสดงทางสายกลางสำหรับปฎิบัติให้พ้นทุกข์

มรรคข้อแรกคือ สัมมาทิฎฐิ เห็นชอบ คือรู้ในอริยสัจ 4 เห็นไตรลักษณ์ อกุศล อกุศลมูลหรือปฏิจจสมุปบาท

พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดในหลักไตรลักษณ์ คือ การยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเราเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์)

ขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน รู้เท่าทัน รู้ธรรมชาติของมัน ไม่ยึดมันว่าเป็นเรา เปิดทางให้ได้ใช้ปัญญา(ญาณจึงเป็นคำสอนที่สำคัญและหักล้างความเชื่อในศาสนาเดิมและลัทธิเดิมๆ

ในพรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก กล่าวว่ามีทิฐิ 62 ประการ แต่ที่สำคัญมี 6 ลัทธิ คือ ลัทธิของครูทั้ง 6 ประกอบด้วย

1.ปูรณะ กัสสปะ ลัทธิอกิริยาวาที กรรม (การกระทำไม่มีผล

2.อชิตะ เกสกัมพล ลัทธิอุจเฉทวาที เชื่อว่าหลังตายแล้ว อัตตาดับสูญ

3.ปกุทธะ กัจจายนะ ลัทธิสัสตวาที เชื่อว่าอัตตาและโลกเที่ยง

4.มักคลิ โคสาล ลัทธิอเหตุวาที เชื่อว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุปัจจัย

5.สญชัยเวลัฐบุตร เป็นประเภทอมราวิเขปิกะ คือวาทหลบเลี่ยง ไม่ตายตัว

6.นิครนนาฏบุตร เป็นประเภทอัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานร่างกายจะทำให้พ้นทุกข์ได้ เป็นประเภทสัสสตวาทเห็นว่าชีวะเที่ยง



ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่า ขันธ์ทั้ง 5 ไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนแล้วจึงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ถ้ามีอุปาทานในขันธ์แล้วก็เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ทั้งปวง คือ

1.รูป ทุกสิ่งทุกอย่างใน (คน สัตว์และสิ่งของมีรูป

2.เวทนา รู้สึกชอบ ไม่ชอบและเฉยๆ

3.สัญญา จำได้ หมายรู้ (อดีต อนาคต)

4.สังขาร การปรุงแต่ง

5.วิญญาณ อายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

ทั้ง 5 กองนี้เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นห่วงโซ่ คือ

รูป+วิญญาณ (รับทางอายตนะ)+เวทนา(รู้สึกชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ)+สังขาร(ปรุงแต่ง)สัญญา จำได้ หมายรู้

ขันธ์นี้ก็คือ กายกับใจ (รูป กับนามนั่นเอง เราสามารถใช้ชีวิตปกติโดยการใช้หลักขันธ์ 5 ในชีวิตประจำวันได้ ไม่เป็นคนหลุดโลก  เช่น รู้เท่าทัน คือ รู้ว่าไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้ ตามใจเราไม่ได่ จึงไม่ต้องปรุงแต่ง (สังขารไม่ต้องจดจำ (สัญญาชีวิตจะมีสุข

ขันธ์ 5 จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นทุกอย่างในชีวิตในแต่ละวัน

ถ้าเราเรียนรู้ เข้าใจ นำมาใช้ในวิถีชีวิตได้จริงๆ ทุกข์และปัญหาต่างๆ จะลดน้อยถอยลง ตัวปัญญาก็จะเข้ามาแทนที่ พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งปัญญา คือ ปัญญาเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา สำหรับคนธรรมดา ถ้ามองเห็นอย่างนี้แล้ว อย่างน้อยก็จะพ้นจากทุกข์ที่ร้อยรัดเราอยู่ในชีวิตประจำวันจากสารพัดปัญหาที่มีในวันนี้ พรุ่งนี้และวันต่อๆไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด จะทำอย่างไร เราจะไม่หาทางออกจากทุกข์หรืออย่างไร หรือเราจะแบกจะหามอยู่อย่างนี้ตลอดไป จะไหวไหมชีวิตนี้

ขันธ์ 5 คือ ทางออกและแสงสว่าง

นี่คือเป็นธรรมะประจำใจเพื่อชีวิตที่สดใสในแต่ละวัน


https://www.onbnews.today/post/65084


https://www.thaitimenews.com/content/26784


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร ถวายการปฏิสันถาร และฟังพระธรรมเทศนาพิเศษ H.E.Vairochana Rinpoche และคณะ
    21 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    72
  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    93
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    112
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    156
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    155