ข่าวประชาสัมพันธ์
มจร ประกาศใช้แผนพัฒนาระยะ 13 บูรณาการ ‘ศาสตร์สมัยใหม่-สร้างพุทธนวัตกรรม’
01 เม.ย. 65 | ข่าวมหาวิทยาลัย
2710

พระเมธีธรรมาจารย์ หรือ เจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะทำงานยกร่างแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ 13 เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานฯ เมื่อวันที่ 31 มี..ที่ผ่านมาว่า อาตมาพร้อมคณะ ได้เสนอแผนฯต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติประกาศใช้เป็นแผนระยะ 5 ปี ต่อไป

พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวว่า แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ 13 (..2566-2570) ฉบับนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้เป็น “มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” หมายถึง การเป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการขับเคลื่อนพันธกิจเพื่อสร้างพุทธนวัตกรรมในการพัฒนาจิตใจ และสังคม อันเป็นผลที่ได้มาจากกระบวนการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ที่ยึดหลักการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ โดยได้จัดให้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย ในการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์ ตามนโยบายของผู้บริหาร และกำหนดยุทธศาสตร์ ภายใต้พันธกิจและกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี โดยมีความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566 – 2570) สอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา สอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 4 กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา โดยยังคงเป็นไปตามปรัชญา ปณิธาน ตลอดจนพันธกิจของมหาวิทยาลัย


พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ฉบับนี้ เริ่มจากการประชุมคณะทำงานยกร่างแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 โดยมีผู้แทนจากส่วนงานในภูมิภาคต่างๆของมหาวิทยาลัย มาวางแผนการทำงาน โดยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผน 12 และยกร่างแผน 13 จำนวน 3 ครั้งตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

ครั้งที่ 1 ส่วนงานภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2564  วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติ โดยมีส่วนงานที่เข้าร่วมจำนวน 9 ส่วนงาน ได้แก่ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตแพร่ วิทยาเขตพะเยา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย วิทยาลัยสงฆ์ลำปาง วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง

ครั้งที่ 2 ส่วนงาน ส่วนกลาง ภาคกลาง ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม – 1 เมษายน 2564  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีส่วนงานที่เข้าร่วมจำนวน 15 ส่วนงาน ได้แก่ ส่วนกลาง วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆสวิทยาเขตนครศรีธรรมราช วิทยาเขตนครสวรรค์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี วิทยาลัยสงฆ์สุราษฏร์ธานี วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ วิทยาลัยสงฆ์ระยอง วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์ วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร วิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี

ครั้งที่ 3 ส่วนงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  วิทยาเขตขอนแก่น ระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน 2564 โดยมีส่วนงานที่เข้าร่วมจำนวน 12 ส่วนงาน ได้แก่ วิทยาเขตหนองคาย วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตนครราชสีมา วิทยาเขตอุบลราชธานี วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาลัยสงฆ์เลย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ วิทยาลัยร้อยเอ็ด และวิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม

หลังจากนั้นคณะทำงานประชุมเพื่อทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ และได้ทำการประชาพิจารณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามภูมิภาคต่างๆอีกจำนวน 4 ครั้ง ผ่านระบบออนไลน์โดยแบ่งเป็นภูมิภาค ดังนี้


วันที่ 7 มี.. 2565 มจร โซนภาคใต้
วันที่ 8 มี.. 2565 มจร โซนภาคเหนือ
วันที่ 9 มี.. 2565 มจร โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 10 มี.. 2565 มจร โซนภาคกลาง

หลังจากนั้น คณะทำงานได้ทำการประชุมเพื่อปรับแก้ไข (ร่างแผนพัฒนา  จากเวทีประชาพิจารณ์ ในระหว่างวันที่12- 14 มีนาคม 2565  วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

ได้กำหนดยุทธศาสตร์จำนวนทั้งสิ้น 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 เป้าประสงค์ 37 ตัวชี้วัด 29 กลยุทธ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้


ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษา พัฒนาบัณฑิตให้มีสติ ปัญญาและคุณธรรม โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นไปตามจุดมุ่ง่หมายของการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่  กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา และเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาการศึกษาชาติที่ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือ และกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นพลเมือง มีทักษะความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุขประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ 16 ตัวชี้วัด 11 กลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนางานวิจัยและสร้างพุทธนวัตกรรมให้มีคุณภาพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และพุทธนวัตกรรม เพื่อให้สามารถตอบสนองความตต้องการในการแก้ไขปัญหาของชุมชน สังคม ประเทศชาติ โดยใช้หลักพุทธศาสนา ตามเป้าหมายหลักของนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ 9 ตัวชี้วัด 6 กลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริม และสนับสนุน ชุมชน วัดและสังคมสันติสุขโดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายในสังคมเพื่อบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และปรัชญาในพื้นที่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างชุมชนและสังคมสันติสุขภายใต้บริบทและความเข้มแข็งของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย 2 เป้าประสงค์ 3 ตัวชี้วัด 3 กลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 อนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนโดยมุ่งอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และสืบสานเจตนารมณ์รวมไปถึงพัฒนาศิลปะวัฒนธรรม ของไทยให้แพร่หลาย เป็นที่รู้จัก แก่สังคม ชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 2 เป้าประสงค์ 2 ตัวชี้วัด 2 กลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรเชิงพุทธบูรณาการ เพื่อให้เป็นต้นแบบขององค์กรวิถีพุทธที่นำหลักพระพุทธศาสนามาบูรณาการกับ การบริหารจัดการสมัยใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 เป้าประสงค์ 7 ตัวชี้วัด 7 กลยุทธ์

พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวว่า แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ 13 (..2566 – 2570) ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปก็จะเป็นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและให้ทุกส่วนงานมาลงนามรับทราบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป


https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_3265004


https://www.thaitimenews.com/content/29872


https://www.banmuang.co.th/news/education/275144


 https://thebuddh.com/?p=60854

แสดงความคิดเห็น