ข่าวประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย
18 ม.ค. 53 | ข่าวมหาวิทยาลัย
423
ข่าวมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย
วันที่ ๑๘/๐๑/๒๐๑๐ เข้าชม : ๒๑๖๐๔ ครั้ง

ในคอลัมน์ "เหะหะพาที" ประจำวันศุกร์ที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา มีข้อผิดพลาดที่สำคัญเกิดขึ้นประการหนึ่ง ซึ่งผมเพิ่งจะพบเมื่อ 2 วันก่อนนี่เอง เมื่อกลับไปอ่านทบทวนอีกครั้ง
ที่ผมเขียนไว้ว่า ผมแวะไปทำบุญวันเกิดของเพื่อนรุ่นพี่ คุณ สถาพร กวิตานนท์ อดีตเลขาธิการบีโอไอ ที่ วัดชูจิตธรรมาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั่นแหละครับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อของวิทยาลัยสงฆ์ที่ตั้งอยู่ ณ วัดชูจิตธรรมาราม ได้แก่ "มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย" ครับ แต่ที่ปรากฏอยู่ในบทความของผมกลับเป็น "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" ไปเสียได้ตอนอ่านหลังจากพิมพ์แล้ววันแรก ผมยังไม่สะดุดใจ และไม่ได้นึกว่าตัวเองเขียนผิดแต่ประการใด
จนกระทั่งวันหนึ่งจะตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังกลับไปอ่านอีกครั้ง จึงพบว่าผมผิดไปเสียแล้ว เพราะวัดและวิทยาลัยสงฆ์แห่งวังน้อยที่ผมไปเยือนที่ถูกต้องก็คือ มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยความผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากอะไรผมขออนุญาตไม่แก้ตัวใดๆทั้งสิ้น ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น และขออนุญาตกราบขออภัยท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้แต่เมื่อผิดแล้วก็ดีไปอย่าง เพราะจะได้หาเหตุมาอธิบายว่า ของที่ถูกต้องคืออะไร?

ทำให้ต้องไปค้นไปคว้าและเป็นที่มาของข้อเขียนวันนี้

ถามว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ปรากฏอยู่ในคอลัมน์ของผมเมื่อวันที่ 8 ม.ค. ที่ผมบอกว่าตั้งอยู่ที่อำเภอวังน้อยนั้น มีหรือไม่?
    ตอบว่า มีครับ และเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่ผ่านอำเภอวังน้อย โดยเฉพาะก่อนจะเข้าตัวอำเภอคงจะเห็นพระอุโบสถ และบริเวณวัดขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ข้างๆทางได้ถนัดชัดเจนนี่คืออาณาบริเวณที่ต่อไปจะเป็นศูนย์กลางใหญ่ ของ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และมีสถานที่ค่อนข้างคับแคบ ไม่ค่อยสะดวกในการที่จะประสานกับวิทยาเขตถึง 10 กว่าแห่งทั่วประเทศจนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2542 นายแพทย์ รัศมี และ นาง สมปอง วรรณิสสร เจ้าของโรงพยาบาลสยาม ได้ถวายที่ดินเนื้อที่กว่า 84 ไร่ ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย ดังกล่าว เพื่อจัดสร้างศูนย์กลางการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542จึงได้มีการจัดสร้างอาคารต่างๆ เช่น อาคาร หอประชุม อาคารเรียน และพระอุโบสถ จนใกล้จะแล้วเสร็จดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้เสร็จสรรพเมื่อไรก็คงจะเป็นศูนย์กลางที่สมบูรณ์ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต่อไปปัจจุบันนี้ มหาจุฬาลงกรณ์ฯมีคณะต่างๆอยู่ 5 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย, คณะพุทธศาสตร์, คณะครุศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์มีวิทยาเขตทั้งสิ้น 10 วิทยาเขต มีวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสิ้น 5 แห่ง และมีห้องเรียนอยู่ตามวัดในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ รวม 12 จังหวัด 12 ห้องเรียน

ครับ! กล่าวโดยสรุปแล้วอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้องถือเป็นอำเภอที่มีบุญอย่างมากอำเภอหนึ่ง เพราะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ถึง 2 แห่งด้วยกันได้แก่ "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร และต่อไปก็จะคงจะย้ายศูนย์กลางใหญ่ไปอยู่ที่วังน้อยกับ "มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย" ซึ่งเป็นวิทยาเขตหนึ่งของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยสงฆ์ดังกล่าวมีประวัติยาวนานสืบเนื่องไปจนถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เลยทีเดียว คงจะได้มีโอกาสเขียนถึงอีกสักครั้งในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า
บอกแล้วไงครับว่าการเขียนอะไรผิดๆเนี่ย บางครั้งก็เป็น กุศล หรือเป็นผลดีได้เหมือนกัน...คือทำให้ต้อง ไปค้นคว้าเพิ่มเติม จนได้ความรู้มาฝากแฟนๆ ซอกแซก ปึกใหญ่ในวันอาทิตย์นี้.

"ซูม"
ที่มา; หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ17 มกราคม 2553
สืบค้น ; ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่
หมายเหตุ: ข้อมูลเรื่องพื้นที่ของมหาวิทยาลัยยังใช้ข้อมูลเดิม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้ประสานเพื่อส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้เขียนแล้ว



เว็บไซต์อ้างอิง
  Web Link : http://www.thairath.co.th/column/life/zoomzokzak/59146
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    96
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    113
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    91
  • “ความเป็นผู้รู้จักเวลา เป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้คนเราสามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต เด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรปฏิบัติสิ่งใด..เหมาะแก่เวลาเสมอ” พระบรมราโชวาท ร.10 เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
    05 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    283
  • “เจ้าคุณประสาร” มอง “อ.เบียร์” ขาด “คารวตา” ปมวิจารณ์ “พระเกจิสังขารไม่เปื่อย” ให้สติ “อย่าเป็นชาล้นถ้วย”
    04 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    135