ข่าวประชาสัมพันธ์
พระธรรมโกศาจารย์ชี้คำ"ไม่เป็นไร"คนไทยหายไป มีแต่การแบ่งสี
18 ม.ค. 53 | ข่าวมหาวิทยาลัย
351
ข่าวมหาวิทยาลัย
"พระธรรมโกศาจารย์"ชี้คำ"ไม่เป็นไร"คนไทยหายไป มีแต่การแบ่งสี
วันที่ ๑๘/๐๑/๒๐๑๐ เข้าชม : ๘๒๒๐ ครั้ง

เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๓ : พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง กะเทาะเปลือกวัฒนธรรม : การปรับเปลี่ยนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ภายใต้หัวข้อ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อไทยรุ่งเรืองหรือเรียวลง จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ว่า วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตที่นำมาซึ่งความสุข หลายประเทศหันมานำความเจริญด้านวัฒนธรรมหรือมวลรวมของความสุขเป็นตัววัดความเจริญของประเทศ แทนผลิตภัณฑ์มวลรวมด้านเศรษฐกิจ ส่วนไทยเองยังเป็นคำถามในสังคมว่า เราจะนำความเจริญด้านใดมาวัดกันดี เพราะเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมสามารถก่อให้เกิดเอกภาพและความสามัคคีได้ เนื่องจากความรู้สึกร่วมภูมิใจของคนในสังคม แต่น่าเสียดายว่าทุกวันนี้กลับมีการนำวัฒนธรรม ศาสนา มาเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้งทางสังคม ทั้งการเมืองในประเทศ ปัญหาภาคใต้ เป็นต้น แม้จะมีหลายฝ่ายเข้าไปแก้ปัญหาความแตกแยกแต่ก็ยังไม่สามารถต่อให้ติดเหมือนเดิมได้

               พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อว่าหากจะให้วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อของไทยรุ่งเรือง คนในสังคมต้องมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว สมัยก่อนมีคำติดปากคนไทยว่า ไม่เป็นไร ขอกันกินมากกว่านี้ ซึ่งหมายถึงการเอื้อเฟื้อมีเมตตาต่อกัน หรือการเป็น "สยามเมืองยิ้ม" ต้องการให้หันมองว่าแล้วปัจจุบันวัฒนธรรมเหล่านี้เลือนหายไปไหน มีการแบ่งสี แบ่งฝ่าย นำข้อมูลข่าวสารมาต่อสู้กันจนเป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไป หากเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้สังคมไทยเรียวลง

           ด้าน ศ.กิตติคุณ ปรีชา ช้างขวัญยืน ประธานคณะกรรมการสาขาปรัชญา สภาวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก มีผลให้วัฒนธรรมไทยเปลี่ยนไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางด้านภาษา เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามา ภาษาที่มาควบคู่ส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศ โดยคนรุ่นใหม่จะเป็นผู้รับภาษาเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องภาษาที่ปกติ ขณะที่คนรุ่นเก่าเริ่มวิตกว่าภาษาไทยจะวิบัติ เพราะคำไทยแท้เริ่มหายไป ดังนั้นจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักจัดบรรทัดฐานภาษาขึ้นมา แม้จะรับภาษาสมัยใหม่แต่จะต้องให้ความสำคัญกับภาษาไทยดั้งเดิม ซึ่งไม่ใช่แค่ภาษาไทยกลาง แต่หมายถึงภาษาท้องถิ่น หรือภาษาเผ่าต่างๆ ที่อาศัยในประเทศ
 
             เห็นว่าการเรียนสมัยนี้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ควรเน้นเรียนการออกเสียง ที่มีการผันวรรณยุกต์ การแยกอักษรสูง ต่ำ กลาง เมื่อผสมกันเป็นคำจะได้คำที่มีโทนเสียงสูงต่ำ คนโบราณจะบอกว่าไพเราะ แต่ตอนนี้เราไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนี้แล้ว อย่างไรก็ดี อยากให้เกิดดการผสมผสานทั้งการรับภาษาสมัยใหม่ ในขณะที่ภาษาไทยเดิมของเราก็ต้องสอนให้เด็กนำมาใช้ไม่ให้ลืมด้วย ศ.กิตติคุณ ปรีชา กล่าว

           แหล่งข่าว มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1263626647&catid=04
           ค้นข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร



เว็บไซต์อ้างอิง
  Web Link : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1263626647&catid=04
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    96
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    113
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    91
  • “ความเป็นผู้รู้จักเวลา เป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้คนเราสามารถดูแลรับผิดชอบตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต เด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรปฏิบัติสิ่งใด..เหมาะแก่เวลาเสมอ” พระบรมราโชวาท ร.10 เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
    05 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    283
  • “เจ้าคุณประสาร” มอง “อ.เบียร์” ขาด “คารวตา” ปมวิจารณ์ “พระเกจิสังขารไม่เปื่อย” ให้สติ “อย่าเป็นชาล้นถ้วย”
    04 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    135