ข่าวประชาสัมพันธ์
คุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ระดับดี
31 ต.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
507

คุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ระดับดี

 


เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2567 คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ พิษณุ เจียวคุณ ประธานกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ธรรมสัจการกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม มูลเมือง กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนันท์ สายัณห์ปทุม กรรมการ และรองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช กรรมการและเลขานุการ นำเสนอข้อมูลผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2566 มีพระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี และผู้บริหาร เข้าร่วมฟังผลการประเมิน ณ ห้องประชุม 405 อาคารพระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในระดับ "ดี" ได้คะแนน 4.36 

​การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566 คณะกรรมการตรวจประเมินได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม พ.ศ.2567 ตามกระบวนการในระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) 13 ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้เพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และ องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ รวมทั้งสิ้น 20 ตัวบ่งชี้ 

​ปัจจุบัน มีส่วนงานจัดการศึกษาของมหาจุฬาฯ ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx “Education Criteria for Performance Excellence” จำนวน 12 ส่วนงาน 

​คณะกรรมการ กล่าวถึงจุดเด่นของมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการหลักสูตร มีผลการประเมินระดับหลักสูตรด้วยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2558 ในระดับดีมากและดี ในสัดส่วนระดับที่สูง โดยมหาวิทยาลัยมีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ ในรอบปีที่ผ่านมาถึง 1,292 ชิ้น จากจำนวนอาจารย์ 1,368รูป/คน คิดเป็น 0.94 ชิ้นต่อคน นับว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีผลงานวิจัยจำนวน 134 โครงการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ถึง 99 โครงการ มีบุคลากรที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชน และออกไปให้บริการอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยเป็นทางเลือกของนิสิตนานาชาติที่มีความสนใจศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระดับปริญาตรี ประจำปี การศึกษา ๒๕๖๗ มจร
    20 ธ.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    58
  • พิธีประสาทปริญญา ประจำปี ๒๕๖๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    12 ธ.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    183
  • ข้อปฏิบัติในการเข้ารับประทานปริญญาบัตร ในพิธีประสาทปริญญา
    25 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    512
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    378
  • พระพรหมวัชรวิมลมุนี วิ., รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรการแข่งขันกีฬา "มหาจุฬาอโยธยาเกมส์"
    22 พ.ย. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    359