วันนี้ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ห้องเธียรเตอร์ C อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D.) ศาสตราจารย์, ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เจ้าคณะภาค ๒,อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของมหาวิทยาลัย และมอบนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยสังเขปดังนี้
"มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงส่วนงานของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกล่าง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ สถาบันสมทบต่างประเทศ โดยสร้างถนนที่เรียกว่า ชูเบอร์ไฮเวย์ เป็นเวลา ๑๐ ปี ปัจจุบันมีแต่ถนน มีระบบทะเบียน,มีระบบการบริหารจัดการ แต่ยังไม่สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารได้ เมื่อมีสาขามากระบบประหยัดกระดาษต้องมีนั้นคือระบบเบเบอร์เรส เพื่อประหยัดกระดาษ สร้างนิสัยการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์,มีระบบห้องสมุด,วางระบบให้พร้อมที่จะใช้งาน,มีระบบ Scan เอกสารประกอบการประชุม เมื่อมีประชุมก็นำขึ้นจอโปรเจคเตอร์ ส่ง e-mail, รวมทั้งการทำวิทยานิพนธ์ส่งเข้า e-mail อาจารย์ที่ปรึกษา ส่งงานผ่านอินเตอร์เน็ต นิสิตไม่ต้องพบหน้าอาจารย์ ซึ่งเขาใช้กันจำนวนมากในต่างประเทศ มีการเรียนการสอนทางไกล, ซึ่งได้วางระบบเอาไว้หมดแล้ว เหลือแต่คนใช้งานเท่านั้น, คนสร้างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้สร้าง,ต้องทำการสำรวจจำนวนคอมพิวเตอร์อัตราส่วนเท่าไรในระดับปริญญาตรี,ระดับปริญญาโท หรือระดับปริญญาเอก, เวลาส่งบทความส่งทาง e-mail ซึ่งอยู่กันคนละที่, ต่อไปหน่วยงานไหนจะส่งเอกสารประกอบการประชุมสภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัย ให้ Scan แล้วส่งมาที่เลขาฯ พัฒนาจอคอมพิวเตอร์ให้ครบห้องประชุม, ทุกภาคส่วนสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันทั้งกองแผน กองวิชาการ กองกลาง กองทะเบียน, รวมทั้งภาวะการมีงานทำของนิสิต, ขอให้ทุกภาคส่วนช่วยกันดำเนินงาน, มีระบบตรวจสอบติดตามการทำงาน มีการติดตามงาน หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลัก (Center) รวมทั้งติดตามอย่างเป็นระบบ, มีการสำรวจการใช้งานเช่นห้องสมุด คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยต้องนำระบบไอทีเพื่อการบริหารจัดการด้านงบประมาณ การเงิน บัญชี พัสดุ บุคลากร,การสื่อสาร e-mail, การเรียนการสอนทางไกล Conference, พัฒนาบุคลากรที่จำเป็นต้องพัฒนา เช่นด้านคอมพิวเตอร์ เราต้องการบุคลากรประเภทไหน ใช้งบประมาณพัฒนาบุคลากร ซึ่งในแต่ละปีตั้งไว้เป็นสิบล้าน, วางระบบในการใช้งาน, ให้วางแผนระบบแนวคิด จัดทำสัญญาประชาคมร่วมกัน เพื่อทำงานร่วมกันต่อไป"
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗ - ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยผู้บริหารระดับสูง กลุ่มงานบุคคล,กลุ่มงานการเงินและบัญชี,กลุ่มงานระบบทะเบียนนิสิต,กลุ่มงานการจัดทำแผนงบประมาณ,กลุ่มงานพัสดุ,และกลุ่มงานจัดทำหลักสูตรและประกันคุณภาพการศึกษางานบุคคลจากวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสวนาแลกเปลียนเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กร และสัมมนาเชิงปฏิบัติการระบบบุคลากร,การเงินและบัญชี,ระบบทะเบียนนิสิต,การจัดทำแผนงบประมาณมหาวิทยาลัย,ระบบงานพัสดุ,หลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษา
พระมหาถวิล กลฺยาณธมฺโม หัวหน้าทะเบียนนิสิต กองทะเบียนและวัดผล สำนักงานอธิการบดี ผู้แทนกองทะเบียนนิสิตกล่าวว่า "เจ้าหน้าที่ระบบทะเบียนนิสิตประกอบด้วย วิทยาเขต ๑๐ แห่ง, วิทยาลัยสงฆ์ ๕ แห่ง, หน่วยวิทยบริการ ๑๒ แห่ง,สถาบันสมทบ, ปัญหาของทะเบียนส่วนใหญ่บุคลากรลาออก เปลี่ยนหน้าที่การทำงานบ่อยมาก และในการประชุมครั้งนี้ส่วนงานส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการประชุมสัมมนาไม่ครบตามจำนวน, ปัจจุบันฐานข้อมูลระบบทะเบียนนิสิตสามารถใช้งานได้แล้วและเคยไปตรวจเยี่ยมงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาจจะมีบางแห่งเท่านั้นยังมีปัญหา ในการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน คือการกรอกข้อมูลนิสิต,ผลการเรียน,จำนวนนิสิตที่ชัดเจนต่อไป"
พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที รักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ ซึ่งรับผิดชอบเรื่องหลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษา กล่าวว่า "การดำเนินการใดๆ เช่นการของบประมาณจากรัฐบาล ต้องผ่านการประเมินจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งมีผลต่อการของบประมาณ เพราะรัฐบาลจะดูผลงานการจัดการศึกษาว่ามีคุณภาพหรือไม่, การจัดการนอกที่ตั้งมีกี่แห่ง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง มีคณาจารย์เท่าไร เจ้าหน้าที่เท่าไร (ส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ เป็นการจัดการศึกในที่ตั้ง, ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ เป็นการจัดการนอกที่ตั้ง ตาม พร.บ.มหาวิทยาลัย) ในการประกันคุณภาพการศึกษา ให้ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละภาคการศึกษาเป็นรายปีตามภาคการศึกษาปีละ ๑ เล่ม สถานการศึกษานอกที่ตั้งใด (หน่วยงานที่เป็นลูก) ไม่ผ่านการประเมินของหน่วยงานประเมินภายในนอกแห่งใดแห่งหนึ่ง จะทำให้มหาวิทยาลัยทั้งหมดไม่ผ่านการประเมินไปด้วย โดยทางมหาวิทยาลัยจะต้องออกมาตรการ เช่นปิดหน่วยวิทยบริการ ปิดห้องเรียน ปิดวิทยาลัยสงฆ์ ปิดวิทยาเขตแห่งนั้นซึ่งไม่ผ่านการประเมินเพื่อทำการปรับปรุงหรือแก้ไขจนกว่าจะผ่านการประเมิน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งการประเมินมหาวิทยาลัยมิได้เป็นผู้ประเมินเอง ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาเป็นผู้รวบรวมข้อมูลนำเสนอส่วนงานประเมินภายนอกทำการเมินต่อไป การประกันคุณภาพภายนอกจึงเป็นเรื่องซีเรสอย่างมาก ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันให้มหาวิทยาลัยมีคุณภาพด้านวิชาการอย่างเต็มที่"
พระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต ผู้อำนวยการกองแผนงาน รับผิดชอบด้านงบประมาณ กล่าวว่า "ในการสัมมนาในเครื่องนี้ ต้องพัฒนาระบบการทำงาน เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์สเตนอะโรน มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายถึงกัน นโยบายของอธิการบดีต้องการให้มีการเรียนการสอนทางไกล,การทำสำนักงานไร้กระดาษที่เรียกว่า เปเบอร์เรส, ระบบทะเบียนนิสิต, ระบบประกันคุณภาพ เรายังเป็นเครื่องสเตนอะโรนอยู่ ยังไม่เชื่อมโยงถึงกัน ยังขาดมิติในการเชื่อมโยงไปยังผู้ใช้บริการ ความล้าช้าด้านการส่งข้อมูลกัน, ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยังขาดการประเมินประสิทธิภาพการใช้งาน, ด้านบุคลากรต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, เรื่องบุคลากร เรื่องนโยบาย แผนงาน ต้องไปด้วยกัน อุปสรรคของฝ่ายจัดทำแผนงาน คือ การบูรณาการแผนฯ, นโยบายที่ทางผู้บริหารระดับสูงได้มอบหมาย ๑ ชั่วโมง ทางผู้ปฏิบัติดำเนินการ ๔ - ๕ ปี ถึงจะสำเร็จหรืออาจจะไม่สำเร็จก็ได้ เพราะฉะนั้น กระบวนการประกันคุณภาพ ที่ว่าจะปิดหน่วยที่ไม่ผ่านการประเมิน เป็นเรื่องยาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับนิสิต เรื่องกฏหมาย, แผนพัฒนามหาวิทยาลัยจะไปได้ก็ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็ว"
นายธวัชชัย เสมอเนื้อ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายตรวจสอบภายในกล่าวว่า "ในการตรวจสอบการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยที่ผ่านมา โดยภาพรวมก็อยู่ในเกณฑ์เป็นที่หน้าพอใจ ในการลงพื้นที่ก็มีคำถามแย้งว่า ฉันเป็นหน่วยงานไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย มาตรวจสอบฉันทำไม ฉันจะดูแลงบประมาณเฉพาะที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ๑๐,๐๐๐ บาทเท่านั้น เพราะฉะนั้นหน่วยวิทยบริการ จึงต้องจัดบันทึกรายการใช้จ่ายเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส มีทรัพย์สินเท่าไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร ซึ่งฝ่ายตรวจสอบภายในจะช่วยให้การดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีมีความถูกต้อง เป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ต่อไป"
ในการนี้ ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำการถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยไปทั่วประเทศ ในวันที่ ๗ - ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เฉพาะในช่วงมีการบรรยาย เพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบรับชมการประชุมสัมมนาโดยพร้อมเพรียงกัน ระหว่างการประชุมเสวนาสามารถติดต่อเสนอความคิดเห็นผ่านมือถือผู้แทนแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมได้
ข่าวโดยพระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาพโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ |