ข่าวประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์หน้าแรก UNESCO Bangkok รายงานการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๓
09 มิ.ย. 53 | ข่าวมหาวิทยาลัย
492
ข่าวมหาวิทยาลัย
เว็บไซต์หน้าแรก UNESCO Bangkok รายงานการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๓
วันที่ ๐๙/๐๖/๒๐๑๐ เข้าชม : ๘๘๑๗ ครั้ง

        (๙ มิถุนายน ๒๕๕๓) ยูเนสโก กรุงเทพฯ  รายงานข่าวการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ  ใจความว่า "ผู้นำชาวพุทธต่างประเทศกว่า ๑,๗๐๐ ท่าน เป็นพระสงฆ์และนักวิชาการ จาก ๘๓ ประเทศ ทั่วโลก มาประชุมพร้อมกัน เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หัวข้อเรื่อง “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ” Global Recovery: The Buddhist Perspective"  มีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ Inner Trip Reiyukai International (ITRI) of Japan ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุม"
         ยูเนสโก เป็นองค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เป็นองค์การชำนาญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ
          ยูเนสโกเป็นองค์การด้านพุทธิปัญญา มิใช่องค์การที่ให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ดังนั้นยูเนสโกจึงให้ความช่วยเหลือบรรดาประเทศสมาชิกในรูปของแนวความคิดที่ก้าวหน้าจากการวิจัย หรือจากการประชุมปรึกษาหารือ ที่ยูเนสโกเป็นผู้จุดประกายทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
          องค์การยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีสมาชิก 193 ประเทศ ผู้อำนวยการใหญ่คนปัจจุบันคือ นายโคอิชิโระ มัทซึอุระ
สำหรับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาปี พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education) ปัจจุบันสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ เป็นสำนักงานของโครงการระดับภูมิภาคด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน และสารสนเทศ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสำนักงานผู้แทนโดยตรงของประเทศไทย พม่า ลาว และสิงคโปร์ และประสานงานกับยูเนสโกในประเทศเวียตนาม และเขมร เกี่ยวกับกิจกรรมและโครงการของประเทศเหล่านี้ ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุง เทพฯ คนปัจจุบันคือ นายกวาง โจ คิม 
           ภารกิจหลักของสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ มุ่งเน้นด้านการศึกษา โดยมีโครงการภายใต้การดำเนินงานอยู่ 3 โครงการหลักคือ 1. โครงการการศึกษาเพื่อปวงชนแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Programmes of Education for All) 2. โครงการนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Programmes of Educational Innovation and Development) 3. ฝ่ายนโยบายและแผนงานด้านการศึกษา (Education Policy and Reform).
           นอกจากนี้ยูเนสโก กรุงเทพฯ ยังทำหน้าที่ประสานงาน และส่งเสริม โครงการ และกิจกรรม ในภูมิภาคเอเซีย และแปซิคฟิคในสาขาต่างๆ คือ
ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์มรดกโลก การพัฒนาและดำเนินการแผนงานวิจัย การเผ้าสังเกตการณ์มหาสมุทรและการบริการในพื้นที่นั้นๆ
ด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมการเรียนรู้มาตรฐานและความร่วมมือทาง ปัญญา เพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลทางสังคม ที่ตระหนักถึงคุณค่าของความยุติธรรม อิสรภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ด้านเอชไอวี อนามัยเจริญพันธุ์ในเยาวชน และสุขศึกษาในโรงเรียน
ด้านการสื่อสาร และสารสนเทศ

          เนื้อหาข่าวจากเว็บไซต์ ยูเนสโก กรุงเทพฯ  http://www.unescobkk.org/
          09.06.10 Buddhist approaches showcased as a means to solve global crises Over 1700 Buddhist leaders, monks and scholars from 83 countries around the world gathered in Thailand for the United Nations Day of Vesak celebrations from 22-26 May 2010. The three-day high-level summit and academic conference focused on the theme “Global Recovery: the Buddhist Perspective”.
In her message to the assembly, UNESCO Director-General Irina Bokova noted that, “The Buddha’s emphasis on living together in peace and harmony and accepting diversity resonate particularly strongly in this International Year for the Rapprochement of Cultures”.  The principal aim of the International Year is to promote knowledge and mutual understanding, reinforce shared values and foster dialogue as the best guarantees of sustainable development and, ultimately, peace.
         The final declaration from the conference entreated the world community to introduce humanistic education in order to promote human dignity, security and social and economic solidarity.  World religious and political leaders were also urged to strengthen ongoing dialogue in order to avoid mistrust and violence between different cultures.
The conference was hosted by Mahachulalongkornrajavidyalaya University of Thailand and Inner Trip Reiyukai International (ITRI) of Japan.
          His Holiness Somdej Phra Maha Ratchamangkalajahn, the Vice President of the Executive Committee for the Supreme Patriarch of Thailand and HRH Crown Prince Maha Vajiralongkorn of Thailand presided over the opening ceremonies.
Vesak, which commemorates the birth, enlightenment and passing of the Lord Buddha, was internationally recognized by the UN General Assembly in December 1999.
          Thailand and HRH Crown Prince Maha Vajiralongkorn of Thailand presided over the opening ceremonies.  Vesak, which commemorates the birth, enlightenment and passing of the Lord Buddha, was internationally recognized by the UN General Assembly in December 1999.

        ค้นข่าวโดยพระมหาศรีทนต์  สมจาโร  ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ทำบุญปีใหม่ มจร 2568 จับฉลากล ลุ้นรางวัล
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    63
  • พิธีถวายพระพรชัยมงคลและเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พุทธศักราช ๒๕๖๘
    15 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    57
  • "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ข้ากราบสักการะ "พระเทพวัชรสารบัณฑิต" ปมเปรียบพระเกจิกับสุนัข
    11 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    126
  • พิธีอัญเชิญปัจจัยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม โดย นายกิติภัค เกษรสิริธร ผู้แทนพระองค์
    08 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    133
  • "อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร" นำสัมมนานานาชาติ เสริมพลังพุทธศาสนาและวรรณกรรมเพื่อความเท่าเทียม
    07 ม.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    108