www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
สังฆราชกัมพูชาชี้ ไทย-กัมพูชาทั้งผองล้วนพี่น้องกัน
19 มี.ค. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
339
ข่าวมหาวิทยาลัย
สังฆราชกัมพูชาชี้ ไทย-กัมพูชาทั้งผองล้วนพี่น้องกัน
วันที่ ๑๙/๐๓/๒๐๑๑ เข้าชม : ๘๑๕๔ ครั้ง

   

เมื่อวันที่ ๑๕-๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานั้น  ได้มีการประชุมและสัมมนาโต๊ะกลมนานาชาติ เรื่อง “ความสมานฉันท์ และการสร้างสันติภาพ: บทบาทของพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมทางศาสนาอื่นๆ ต่อประเด็นความจริง ความยุติธรรม การเยียวยาหลังความขัดแย้งในสังคมเอเซีย” (The Role of Buddhism and Other Religious Traditions Truth, Justice, and Healing in Post-Conflict Asian Societies) ณ ประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งดำเนินการจัดโดยสมาคมศาสนาเพื่อสันติภาพ และสถาบันเพื่อสันติภาพสหรัฐอเมริกา (United States Institute of Peace: USIP)  

     ในประชุมและสัมมนาโต๊ะกลมครั้งนี้ ได้มีผู้นำศาสนา และนักวิชาการด้านศาสนาในประเทศต่างๆ แถบประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา จีน ลาว พม่า สิงค์โปร์ ศรีลังกา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และไทย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เกี่ยวกับการสร้างความสมานฉันท์และสันติภาพ จำนวนทั้งสิ้น ๗๕ รูป/คน  ซึ่งทุกท่านที่ได้รับเชิญเข้าร่วมล้วนมีประสบการณ์ในการเข้าไปเกี่ยวกับการ จัดการความขัดแย้งในมิติใดมิติหนึ่งมาแล้วในอดีต  และได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอ  ซิสเตอร์ เทเรซ่า (Sister Theresa L.H. Seow) ในฐานะเลขานุการกิตติมศักดิ์ขององค์กรด้านศาสนาประเทศสิงค์โปร์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “เรื่องราว และบทเรียนจากคนอื่นๆ อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นๆ” (The story from others might be useful for others)

     สมเด็จเทพ วงค์ อัครมหาสังฆราชประเทศกัมพูชา ในฐานะเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษได้นำเสนอประสบการณ์ที่น่าสนใจว่า “ในอดีตที่ผ่านมานั้น ประเทศกัมพูชาได้เกิดสงครามกลางเมือง และนำไปสู่กรณีทุ่งสังหาร ความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ก่อให้เกิดความรุนแรง ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ ประชาชนจำนวนมากได้ทำร้ายและฆ่ากันโดยมุ่งหวังอำนาจ และผลประโยชน์ทางการเมือง อย่างไรก็ดี การให้อภัยเป็นบทเรียนสำคัญที่เราต้องนำมาใช้พัฒนาตัวเอง และสังคม เพราะมนุษย์ทุกคนมิใช่คนที่สมบูรณ์แบบ และไม่เคยมีมนุษย์คนใดที่ไม่เคยทำสิ่งใดผิดพลาดบกพร่อง”

     “การจะให้อภัยกันนั้น เราไม่ควรนำอดีต หรือประวัติศาสตร์มาตอกย้ำหรือตำหนิเพื่อนมนุษย์เพื่อเปิดปากแผลของความไม่เข้าใจกันอันจะนำไปสู่การทำร้าย และทำลายซึ่งกันและกัน  จะเห็นได้จากกรณีประสาทเขาพระวิหาร  เรื่องที่เกิดขึ้นเป็น “เหตุการณ์บ้าๆ” (Abnormal Situation) ของคนบางกลุ่มที่พยายามจะนำการเมืองระหว่างประเทศไปสร้างความแตกแยกของคนทั้งสองประเทศ จะเห็นว่า พระสงฆ์ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกดังจะเห็นได้จากการที่ข้าพเจ้าได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่มหาจุฬาฯ ได้นิมนต์อยู่เสมอ  พระมหากษัตริย์ของทั้งสองประเทศก็มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และประชาชนที่อยู่ในแถบชายแดนก็อยู่ร่วมกัน ไปมาหาสู่กันประดุจญาติมิตร” สมเด็จเทพ วงค์ได้ยกกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับประสาทเขาพระวิหารที่เกิดขึ้นเอาไว้อย่างน่าสนใจ

     พณฯ จอร์ช โย (H.E. Georgh Yeo)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ประเทศสิงค์โปร์ ได้นำเสนอประเด็น “การสร้างสังคมสันติสุข” เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “รัฐบาลประเทศสิงค์โปร์มีนโยบายที่จะทำให้กลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสิงค์โปร์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขท่ามกลางพหุวัฒนธรรม และความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาต่างๆ ในสิงค์โปร์ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเชื่อมให้กลุ่มชนต่างๆ อยู่ร่วมกันถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน  ยกตัวอย่างเช่นการใช้เครื่องเสียงเพื่อสวดมนต์ วัด โบสถ์คริสต์ และมัสยิด จะต้องหันลำโพงเครื่องเสียงเข้าไปในสถานที่ของตัวเองเพื่อเป็นการไม่รบกวน เพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลจะจัดช่องวิทยุให้หนึ่งช่องเพื่อให้กลุ่มคนที่นับถือศาสนาต่างๆ ได้เปิดฟังเป็นการส่วนตัว”

     “เราไม่แปลกใจว่า เพราะเหตุใด ประเทศต่างๆ จึงให้ความสนใจประเทศสิงค์โปร์ ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทข้ามชาติ การจัดสัมมนาระดับนานาชาติ และกลุ่มคนต่างๆ มักจะเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาดูงานเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัฒนธรรม เชื้อชาติ และศาสนาอยู่เสมอ  และเรามุ่งหวังที่จะทำให้สิงค์โปร์เป็นประเทศแบบอย่างที่มีความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ และประชาชนกลุ่มต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขท่ามกลางความกลางแตกต่าง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ สิงค์โปร์กล่าวเพิ่มเติม

     พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการทำงานด้านสันติภาพว่า “ความจริง (Truth) ความยุติธรรม (Justice)  อภัยทาน (Forgiveness) และความปรองดอง  (Reconciliation) เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก  เมื่อใดก็ตามที่สังคม หรือชุมชนขัดแย้งจนนำไปสู่การแสดงออกซึ่งความรุนแรงต่อกันนั้น  ความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่คนในสังคมจะต้องช่วยกันค้นหาโดยอาจจะใช้วิธีการสานเสวนา (Dialogue) หรือการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อเสาะหา เพราะความจริง (Truth) จะนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust) ระหว่างคนที่อาศัยอยู่ด้วยกัน เมื่อเราความจริงอย่างรอบด้านแล้ว เราอาจจะนำหลักการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการเพื่อให้สอดรับกับความเป็นไปของสถานการณ์  ในขณะเดียวกัน เมื่อความจริงปรากฎแล้ว มาตรการการเยียวยากลุ่มคนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจำเป็นจะต้องดำเนินการ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะนำไปสู่การให้อภัยซึ่งกันและกัน และจะทำให้กลุ่มคนต่างๆ อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขภายใต้ประโยชน์และความต้องการที่แตกต่างกัน”

     จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้แทนทางการเมือง และศาสนาต่างๆ ครั้งนี้   ได้ก่อให้เกิดผลในเชิงบวกต่อมุมมอง และท่าทีของกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เพราะการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมจะก่อให้เกิด “ความเข้าใจ และยอมรับความที่เขาเป็นเขา โดยไม่พยายามที่นำเขามาเป็นเรา”  ดังจะเห็นได้จากมุมมองของผู้เข้าสัมมนาที่สอดคล้องกันว่า “เกื้อกูน แต่ไม่ก้าวก่าย เข้าใจแต่ไม่ปะปน

บทความภาษาอังกฤษ
Buddhist Values towards Conflict and Peace: Truth, Justice, Forgiveness and Reconciliation

File Powerpoint
Truth, Justice, Forgiveness and Reconciliation in Buddhism


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    146
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    401
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    490
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    148
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    160