www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
พระมหากษัตริย์ไทย : พระธรรมทูตสายต่างประเทศ มจร.
20 มี.ค. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
351
ข่าวมหาวิทยาลัย
พระมหากษัตริย์ไทย : พระธรรมทูตสายต่างประเทศ มจร.
วันที่ ๒๐/๐๓/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๑๖๘๗ ครั้ง

      ด้วยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศเฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๘๔ รูป โดยในหลักสูตรการอบรมได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ภาค คือ
       ๑. ภาคสาธารณูปการ การอบรมเกี่ยวกับงานก่อสร้างถาวรวัตถุ ศาสนสถาน โดยในปีนี้ได้มีมติสร้าง “กุฏิกรรมฐานเฉลิมธรรมิกราช ๘๔ พรรษา”  ใช้งบประมาณ ๓๗๐,๑๓๕ บาท และผู้เข้ารับการอบรมจะต้องวางแผนและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๒๐ วัน
       ๒. ภาคจิตตภาวนา การอบรมฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อฝึกอบรมจิตและเจริญปัญญา กำหนดระยะเวลา ๓๐ วัน
      ๓.ภาควิชาการ การอบรมความรู้วิชาการด้านพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ ฝึกทักษะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ และวิชาการอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
      การอบรมภาคที่ ๑ และ ๒ ดำเนินการที่ ศูนย์พัฒนาศาสนาแค้มป์สน ต.แค้มป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ ส่วนภาคที่ ๓ ดำเนินการที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา การอบรมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ถึง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔

       พระพรหมวชิรญาณ กล่าวว่า "พระธรรมทูต คือผู้ทำหน้าที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาในนามคณะสงฆ์ของไทย พระธรรมทูตจึงต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีอาจาระงดงาม มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความเสียสละ ตั้งตนอยู่ในหลักพระธรรมวินัย และกฎหมายของบ้านเมืองนั้นๆ นอกจากนี้พระธรรมทูตจะต้องเรียนรู้กฎหมาย ประเพณี วัฒนธรรม และเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนรู้ภาษาพื้นเมือง ของประเทศนั้นๆ การทำงานจะต้องสร้างเครือข่ายทั้งในวัดและนอกวัด ในวัดคือพระสงฆ์ นอกวัดคือญาติโยม ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของพระพุทธศาสนานั้นเอง วิชาการที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ประสิทธิประสาทให้ช่วงระยะเวลา ๓ เดือน เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น เมื่อไปอยู่ต่างประเทศแล้วยังจะต้องมีประสบการณ์อีกมากหมาย พระธรรมทูตจึงไม่เป็นเพียงมีความรู้ หรือปฏิบัติด้วยตนเองได้เท่านั้น จะต้องสามารถสอนคนอื่นได้ด้วย"

       ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ แม้เธอทั้งหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ ขอจงอย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ครบ บริสุทธ์บริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”  จากพระราชดำรัส ทำให้พระพุทธศาสนายั่งรากฐานมั่นคงในชมพูทวีปและเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา

        สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งชมพูทวีปครองราชย์ ณ ราชธานี คือ พระนครปาฏลีบุตร ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพินทุสารกับพระนางธรรมา แห่งราชวงศ์โมริยะ (สันสกฤตเรียกเมารยะ) ประสูติใน พ.ศ. ๑๘๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา ทรงเป็นอุปราชของพระเจ้าพินทุสาร เสด็จไปครองแคว้นอวันตี ณ นครอุชเชนีทรงเสกสมรสกับพระนางเวทิสามหาเทวี ทรงมีพระโอรสองค์แรกเมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา คือ เจ้าชายมหินทะ และมีพระราชธิดาองค์แรก คือ พระนางสังฆมิตตา เมื่อพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา พ.ศ. ๒๑๔ พระเจ้าพินทุสารเสด็จสวรรคต เจ้าชายอโศกมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา ได้เสด็จกลับพระนครปาฏลีบุตร ทำสงครามชิงราชสมบัติได้สำเร็จเสด็จเสวยราชสมบัติ และราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ พร้อมกับทรงสถาปนาพระนางอสันธิมิตตาเป็นพระอัครมเหสี เดิมพระเจ้าอโศกถวายทานแก่พวกอาชีวกตามอย่างพระราชบิดา ต่อมาไม่ทรงพอพระทัยปฏิปทาของพวกนักบวชเหล่านั้น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๒๔ ทรงได้พบสามเณรชื่อนิโครธ กล่าวกันว่าเป็นพระราชภาคิไนยแท้ ๆ ของพระองค์เอง (คือ เป็นโอรสของเจ้าชายสุมนะ องค์รัชทายาท พระเชษฐาที่พระเจ้าอโศกทรงปลิดพระชนมชีพเพื่อแย่งราชสมบัติ) ทรงอาราธนาสามเณรนิโครธให้เข้ามาในพระราชฐาน

          สามเณรนิโครธได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าอโศก หลังได้ฟังธรรมแล้ว ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ ทรงพระราชทานทรัพย์จำนวนมากเพื่อทำทานทุกวันและเมื่อทรงทราบจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระว่าเคยมีพระสถูปในพระพุทธศาสนาถึง ๘๔,๐๐๐ แห่ง จึงทรงโปรดให้สร้างวัดเท่ากับจำนวนนั้น โดยโปรดให้สร้างวัดอโศการามที่เมืองปาฏลีบุตรด้วย

          เมื่อพระราชกุมาร คือ เจ้าชายมหินท์ และเจ้าหญิงสังฆมิตตา ทรงมีอายุ ๒๐ และ ๑๘ ตามลำดับ ทรงโปรดให้ผนวชในพระพุทธศาสนา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระมหินท์ และพระธรรมปาลเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าหญิงสังฆมิตตา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้รับพระราชูปถัมภ์ให้จัดทำตติยสังคายนาขึ้น เพื่อขจัดอลัชชีและพวกมิจฉาทิฏฐิที่ปลอมแปลงมาบวชในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งกล่าวกันว่า พระภิกษุผู้ทรงคุณธรรมปฏิเสธที่จะร่วมสังฆกรรมกับพวกอลัชชีกับเดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนา ตติยาสังคายนาสำเร็จในปีที่ ๑๗ แห่งรัชกาล

          พระเจ้าอโศกรับสั่งว่า “ บัดนี้คณะสงฆ์บริสุทธิ์แล้ว ขอพระคุณเจ้าจงประกอบอุโบสถสังฆกรรมเถิด” แต่นั้นจึงทรง ส่งพระสมณทูตไปประกาศศาสนา ๙ สาย 
          สายที่ ๑. มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน
          สายที่ ๒ พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย
          สายที่ ๓ พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
          สายที่ ๔ พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์
         สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย
         สายที่ ๖ พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี
         สายที่ ๗ พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล
         สายที่ ๘ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น
         สายที่ ๙ พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา
  
         ต่อมาได้ทรงโปรดให้พระสังฆมิตตาเถรีนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยาไปปลูก ณ เมืองอนุราธปุระ ที่ประเทศลักา พร้อมทั้งให้อุปสมบทแก่เหล่ากุลสตรีในลังกาที่ประสงค์จะเป็นภิกษุณี พระเจ้าอโศก ทรงโปรดให้สร้างจารึกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑ ปีที่ ๑๒ ในรัชกาล ทรงสร้างวัดครบ ๘๔,๐๐๐ แห่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๗ พระอัครมเหสี คือพระนางอสันธิมิตตาสวรรคต พ.ศ. ๒๕๐ ทรงสถาปนาพระนางติษยรักษิตาเป็นพระอัครมเหสี ในปี พ.ศ. ๒๕๒ พระนางติษยรักษิตา ไม่พอพระทัยที่พระเจ้าอโศกทรงให้ความสนพระทัย เอาพระทัยใส่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา) จึงได้พยายามทำลายล้างต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระเจ้าอโศก ทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก ทรงใช้ความพยายามสุดกำลังความสามารถชุบชีวิต ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้สำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราชเสวยราชย์รวมทั้งสิ้น ๓๗ ปี (พ.ศ. ๒๑๘ - พ.ศ. ๒๖๐) ในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “ พระเจ้าธรรมาโศกราช” เพราะเป็นผู้สืบทอดอายุกาลพระพุทธศาสนา โดยอาศัยพระธรรมทูตสายต่างประเทศ

         พระมหากษัตริย์ไทย ทุกๆ พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม มีการส่งสมณะทูตไปประเทศต่างๆ มากหมาย อาทิ ไทยและศรีลังกามีความแนบแน่นทางพุทธศาสนามายาวนานกว่า ๘๐๐ ปี นับตั้งแต่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชส่งคณะผู้แทนไปศรีลังกา เพื่อ นิมนต์พระภิกษุศรีลังกา ๓ รูป มาช่วยฟื้นฟูเผยแผ่พุทธศาสนาที่นครศรี ธรรมราช ก่อนที่จะเผยแผ่ไปยังอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้พุทธศาสนาในประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองขึ้น เรียกว่านิกาย "ลังกาวงศ์" ต่อมากลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ศรีลังกามีศึกทั้งภายในและภายนอกจากการรุกรานของชาติตะวันตก ซึ่งต้องการล้มล้างพระพุทธศาสนาในศรีลังกาและเผยแผ่คริสต์ศาสนาทำให้พุทธศาสนาเสื่อมถอยอย่างมาก ไม่มีแม้แต่ พระสงฆ์สักรูปเดียวในศรีลังกา พระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์จึงนิมนต์พระสงฆ์จากสยามไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในศรีลังกา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คณะพระสงฆ์จากไทยนำโดยพระอุบาลีมหาเถระจึงเดินทางไปศรีลังกาตามคำร้องขอและอุปสมบทให้แก่สามเณรสรณังกรที่วัดศรีนเรนทรารามา ราชมหาวิหารายา เมืองแคนดี้ นับเป็นการเริ่มต้นประดิษ ฐานนิกาย "สยามวงศ์" หรือสยามนิกายในศรีลังกา

          ทั้งนี้เพราะเหตุว่า "พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา" ในเรื่องของการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาของชนชาติไทย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่หลายทาง  ไม่ว่าจะจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศก-มหาราชเข้ามาทางอาณาจักรสุวรรณภูมิ  (ปัจจุบันคือนครปฐม)   เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔  หรือจากศิลาจารึกเก่าแก่ชื่อว่า “จารึกอาณาจักรน่านเจ้า”   ที่เชื่อกันว่ากระทำโดยนักปราชญ์จีน “เชงเหว” เมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๙ จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณกาล  และพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ล้วนทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการทำนุบำรุงและปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาสืบต่อมาทั้งสิ้น แม้องค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้ทรงแสดงพระราชปณิธานไว้ในนิราศท่าดินแดงว่า  “ตั้งใจจะอุปถัมภก  ยอยกพระพุทธศาสนา   จะป้องกันขอบขัณฑสีมา     รักษาประชาชนและมนตรี

         ซึ่งก็ได้ทรงปฏิบัติตามพระราชปณิธานนั้นมาโดยตลอด  และพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ มาก็ได้ทรงทำนุ-บำรุงพระพุทธศาสนาทุกพระองค์อย่างต่อเนื่องจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังพระราชดำรัสพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงประกาศไว้ว่า "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" (พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕) และว่า " ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด... เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา..." (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) และว่า "เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยือนสำนักวาติกัน เมื่อปีคริสต์ศักราช ๑๘๖๐ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ ๒ ตรัสถามถึงคนไทยนับถือศาสนามากน้อยเพียงใด ข้าพเจ้าทูลตอบว่า คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ" (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน) (ที่มา : ศาสนาประจำชาติไทย'' พระธรรมโกศาจารย์ ๒๕๕๐)

           เพราะฉะนั้น พระธรรมทูตสายต่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซึ่งรับมอบหมายจากมหาเถรสมาคม, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยการอุปถัมภ์ของพุทธศาสนิกชนและรัฐบาล ทั้งในและต่างประเทศ ได้จัดอบรมไปแล้ว ๑๖ รุ่น รุ่นที่กำลังอบรมอยู่เป็นรุ่นที่ ๑๗

           พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี ให้ดูแลรับผิดชอบงานต่างประเทศ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ร่วมกันดำเนินการโครงการอบรมพระภิกษุ เพื่อทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ เป็นต้นมา ปัจจุบันมีพระธรรมทูตที่ผ่านการอบรมและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในต่างประเทศต่างๆ ทั่วโลก มากกว่า ๑,๑๑๑ รูป มีศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอยู่ทั่วโลกกว่า ๙๓ แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาและนับวันก็ยิ่งมีความต้องการพระธรรมทูตเพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจมากยิ่งขึ้น, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ดำเนินนโยบายด้านกิจการต่างประเทศ ตามวิสัยทัศน์ที่มุ่งให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนรระดับนานาชาติ ในหลายโครงการ เช่น การประชุมชาวพุทธนานาชาติ การรับวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาในต่างประเทศเข้าเป็นสถาบันสมทบ และการจัดอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเพทศ อันเป็นการสนองงานของคณะสงฆ์ ส่งพระสงฆ์ที่มีคุณภาพไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ และการอบรมครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นการปรับพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้ และรู้จักแก้ไขปัญหาเมื่อต้องไปใช้ชีวิตในต่างแดน ซึ่งจะต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคนานาประการ เช่น ปัญหาการใช้ภาษาท้องถิ่น การปรับตัวให้เข้ากับอากาศ อาหาร และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งการสื่อหลักธรรมและจิตภาวนาอย่างชัดเจนเป็นต้น ซึ่งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ คณะกรรมการได้คัดเลือกพระสงฆ์จากทั่วประเทศเข้ารับการอบรม จำนวน ๘๖ รูป เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา  และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการสร้างพระธรรมทูตเผยแผ่พระเกียรติคุณในต่างประเทศด้วย"

          ความเป็นมาโครงการพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
          โครงการการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดถวายความรู้ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติแก่พระสงฆ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศก่อนเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศในหลายรูปแบบ เช่น การเยี่ยมเยือน เจริญความสัมพันธไมตรี การจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอินเดีย โดยเปิดอบรมถวายความรู้เป็นประจำทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ ๑๖ หรือ รุ่นที่ ๑๖ โดยพระสงฆ์ที่เข้ารับการอบรมถวายความรู้ จะเป็นกำลังสำคัญทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เจริญรอยตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และที่สำคัญเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ศาสตร์ใหม่ ๆ และความเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างเอกภาพและสามัคคีธรรมให้แก่งานพระธรรมทูตต่างประเทศ  พระภิกษุเหล่านี้หลังจากผ่านการอบรมตามหลักสูตรจะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในทวีปเอเชีย, ทวีปยุโรป, และโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นพระธรรมทูตผู้ปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก และในแต่ละปีผู้แทนมหาเถรสมาคม ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี พร้อมด้วยญาติโยมได้เดินทางไปเยี่ยม ติดตาม ประชุมปรึกษาหารือ กำหนดแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี

          ดร.อาจารย์แม่ศรีเพ็ญ จัตุทะศรี ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาจุฬาฯ ผู้บริหารมูลนิธิอาจารย์พร รัตนสุวรรณ ผู้มีบทบาทสำคัญทำหน้าที่ดูแลรักษาศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า "ในนามมูลนิธิอาจารย์พร รัตนสุวรรณ ดีใจมากที่ผู้บริหารมหาจุฬาฯ พระธรรมทูตทุกๆ รุ่น ได้มาใช้แคมป์สนเป็นสถานที่ฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศเป็นประจำ พระธรรมทูตเป็นผู้นำบุญมาให้ ให้โยมได้มีโอกาสทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้" พร้อมกันนี้อาจารย์ศรีเพ็ญ ยังได้นิมนต์พระธรรมทูตให้แวะเวียนมาเยี่ยม กลับมาเป็นเนื้อหนาบุญที่ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สนได้ตลอดเวลา
          สำหรับศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหน่วยงานในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศูนย์พัฒนาศาสนา แคมป์สน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เดิมเป็นสถานที่พักของวิศวกร ช่าง และคนงานอื่นๆ ของผู้ได้รับสัมปทานการสร้างถนนสายหล่มสักพิษณุโลก ช่วงระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๐๐ - ๒๕๐๓) เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้ว ได้ยกที่พักเหล่านี้ให้แก่กรมทางหลวงแผ่นดิน 
          เมื่อปี ๒๕๑๗ อาจารย์พร รัตนสุวรรณ ได้มาพบสถานที่แห่งนี้ ซึ่งบ้านพักหลายหลังอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก จึงได้ติดต่อประสานงานกับกรมทางหลวงแผ่นดิน เพื่อขออนุญาตใช้สถานที่โดยทำการปรับปรุงซ่อมแซม และปลูกสร้างอาคารสถานที่เพิ่มเติมตามความเหมาะสม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมพัฒนาให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิเจริญวิปัสสนาแก่พระนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป ภูมิลักษณะของศูนย์พัฒนาศาสนา แคมป์สน มีพื้นที่มากกว่า ๒,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันถูกชาวบ้านบุกรุก เหลือพื้นที่จริงๆ ประมาณ ๙๘๐ ไร้ ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้มีอากาศเย็นสบาย ศูนย์นี้มีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการปลูกป่า อนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้เป็นสวนป่า มีสระน้ำ ดังนั้น สภาพต้นไม้ทั่วไป จึงเป็นป่าสน ๓ ใบและต้นไม้อื่นๆ นานาชนิดเขียวขจีร่มรื่นเจริญตา เหมาะที่จะเป็นธุดงคสถานอย่างยิ่ง ตั้งอยู่ที่ ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างทางหลวงสายเอเซียหมายเลข ๑๒ สายหล่มสักพิษณุโลก ระหว่าง กม.ที่ ๙๙-๑๐๐ ต่อมา อาจารย์พร ซึ่งเป็นอาจารย์สอนท่านหนึ่ง องมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบสถานที่แห่งนี้ ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดำเนินการ และมีคุณศรีเพ็ญ จัตุทะศรี รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยมี วัตถุประสงค์และกิจกรรมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ จนถึงปัจจุบันดังนี้
          ๑. ส่งเสริมการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่นิสิต นักศึกษา ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
          ๒. ชักชวนนักเรียน และนักศึกษาให้มาเข้าค่ายอบรม ในระหว่างปิดภาคการศึกษา หรือในระหว่างที่นักเรียน นักศึกษามีเวลาว่าง เพื่อรวมกลุ่มร่วมพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นพื้นฐานการเข้าสู่การปฏิบัติ
          ๓. ชักชวนและเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ให้ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมปฏิบัติธรรม สัมมนาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ เพื่อหาทางส่งเสริมพระศาสนาในอันที่จะเข้าไปมีบทบาทในชีวิต ประจำวันของคนทุกชั้นทุกอาชีพ
          ๔. รวบรวมตำราทางพระพุทธศาสนาทุกประเภท และส่งเสริมให้ความสะดวกทุกอย่างแก่ผู้ที่ทำการค้นคว้าในหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาทุกแขนง
          ๕. ทำการวิจัยกิจกรรมการสอน และการเผยแผ่พระศาสนา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
          ๖. ส่งเสริมการศึกษาของชาติตามหลักศาสนา เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะศึกษาระดับไหนก็ตาม รู้จักช่วยเหลือตนเองได้ มีความมานะพยายามและแบ่ง เบาภาระของผู้อื่นได้
          ๗. ส่งเสริมการเศรษฐกิจและสังคมตามหลักทางศาสนา
          ๘. ส่งเสริมการปลูกป่า รักษาป่าและสภาพแวดล้อมมิให้ถูกทำลาย
          ๙. ส่งเสริมให้ทางราชการเข้าใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรมอบรม สัมมนาบุคลากร และทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อันจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทางราชการอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ประโยชน์โดยตรงที่ศูนย์พัฒนาศาสนา (แคมป์สน) ได้เอื้อประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็คือ จัดเป็นสถานที่ฝึกอบรม และรับภาระส่งเสริมให้พระนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ เดือนของทุกปีการศึกษา อีกทั้งยังเป็นสถานที่จัดสัมมนาวิชาการทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ ดำเนินงานและเอื้อเฟื้ออุปถัมภ์โดยเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับพระสังฆาธิการและพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเพชรบูรณ์อีกด้วย
          จึงกล่าวได้ว่า ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน เป็นมรดกธรรมชาติ มรดกธรรม ที่อาจารย์พร รัตนสุวรรณ ใช้ชีวิตของท่านทั้งชีวิตสร้างขึ้นมาใหม่ กล่าวกันว่า ไม่มีพื้นดินส่วนไหนที่อาจารย์พรไม่เคยเยียบ ต้นไม่ทุกต้นผ่านมืออาจารย์ทุกต้น และลูกศิษย์อย่างเช่น ดร.อาจารย์แม่ศรีเพ็ญ จัตุทะศรี, อาจารย์ ผศ.สมหมาย ดูยอดรัมย์ สืบสานต่อมา ตอนนี้ต้นไม้ที่อาจารย์ได้ปลูกไว้เจริญเติบโตให้ความร่มรื่น เด่นสง่า ท่ามกลางภูเขาและรีสอร์ทบนเขาค้อ ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสขึ้นไปร่วมพิธีเปิดการอบรมพระธรรมทูตก็นึกถึงอาจารย์พรและคำสอนของท่านที่ว่า "ต้นไม้ ต้นหญ้า ก้อนหิน ดินทราบ มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก และมีวิญญาณอยู่ทุกหนทุกแห่ง เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าตัดไม้ทำลายป่า" ซึ่งเป็นคำสอนที่ก้องอยู่ในหูตลอดเวลา
 
          ในส่วนของญาติโยมอุบาสก-อุบาสิก องค์กรต่างๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอบรมถวายความรู้ โดยเป็นเจ้าภาพภัตตาหาร อำนวยความสะดวก ได้ดังนี้เป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์การอบรมภาคสาธารณูประการ เป็นเจ้าภาพภัตตาหาร น้ำปานะ เครืองเขียน ผ้าไตรจีวร ย่าม เป็นต้น
          จึงขอประชาสัมพันธ์มายังพุทธศาสนิกชนทุกท่านผู้ปรารถนาร่วมบุญบริจาคได้ดังรายการต่อไปนี้
           ๑. ร่วมบริจาคสร้างกุฏิกรรมฐานเฉลิมธรรมิกราช ๘๔ พรรษา (รายละเอียดค่าก่อสร้างปรากฏตามแนบ)
           ๒. ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้า-เพล และน้ำปานะพระธรรมทูต วันละ ๑๖,๐๐๐ บาท หรือจะจัดภัตตาหารและน้ำปานะไปถวายการอุปถัมภ์เองก็ได้
           ๓.ร่วมบริจาคตั้งกองทุนพระธรรมทูตสายต่างประเทศตามศรัทธา

           ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ พระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา
           สำนักงานกองวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา เลขที่ ๗๙ หมู่ที่ ๑ หลักกิโลเมตรที่ ๕๕  ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ ๑๓๑๗๐  โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๖๕ / ๐๘ ๙๒๓๑ ๗๙๔๙

           บทความโดย : พระมหาศรีทนต์ สมจาโร  ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    146
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    401
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    490
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    148
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    160