www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิญญากรุงเทพฯ และสรุปรายงานการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ ครั้งที่ ๘ ประจำปี ๒๕๕๔
17 พ.ค. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
235
ข่าวมหาวิทยาลัย
ปฏิญญากรุงเทพฯ และสรุปรายงานการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ ครั้งที่ ๘ ประจำปี ๒๕๕๔
วันที่ ๑๗/๐๕/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๐๒๐๗ ครั้ง

UN Bangkok :  พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร แถลงประกาศปฏิญญากรุงเทพมหานคร ๒๐๑๑/๒๕๕๔ ข้อตกลงร่วมกันของที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ใจความว่า "เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย
                   เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๘๕ ประเทศและภูมิภาค จึงได้เดินทางมาฉลองวันวิสาขบูชา เข้าประชุมร่วมกัน ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเจ้าภาพหลักคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย
                   ในการประชุมที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่ประชุมได้เสนอหัวข้อการประชุมว่าด้วยเรื่อง “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” อันเป็นการส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ระหว่างองค์กรและปัจเจกบุคคลต่างๆ จากพระพุทธศาสนาทุกนิกาย และที่ประชุม ได้สรุปมติเป็นเอกฉันท์ จำนวน ๑๓ ข้อ (ให้ดาวน์โหลดรายละเอียด)  (คลิกเพื่อดาวโหลดปฏิญญากรุงเทพ ภาษาไทย  ๑๓ ข้อ up) 
 (คลิกเพื่อดาวโหลดปฏิญญากรุงเทพ ภาษาอังกฤษ)  

ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป

                 วันวิสาขบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนหก หรือเดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันคือ
                 ครั้งแรก   เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ โอรสพระเจ้าสุทโธธนะ  และ พระนาง สิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยประสูติที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ของฝ่ายพระราชบิดา กับกรุงเทวทหะของฝ่ายพระราชมารดา
                  ครั้งที่สอง เกิดเมื่อเจ้าชายสิทธัตถ ออกทรงผนวชได้ ๖ ปี พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา
                 ครั้งที่สาม   เกิดเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ณ เมืองกุสินารา
                 เหตุการณ์สำคัญทั้งสามประการนี้ เกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน ทางจันทรคติ  ซึ่งนับวันขึ้นแรม ตามวิถีการโคจรของดวงจันทร์ เป็นหลักในการกำหนดวัน เดือนและปีซึ่งยังคงใช้กันมาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ควบคู่กันไปกับการกำหนดวัน เดือน และปีทางสุริยคติ  ซึ่งเป็นไปตามวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ซึ่งยังไม่เคยมีการประจวบกันเช่นนี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดมาก่อนจนตราบเท่าปัจจุบัน แต่ความอัศจรรย์ดังกล่าว ก็ยังไม่เทียบเท่ากับการอุบัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก และได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่ออนุเคราะห์โลกให้เกิดประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งมวล
              วันวิสาขบูชาจึงนับว่าเป็นวันสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่ก่อให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระธรรมและนำมาสั่งสอนแก่สรรพสัตว์  และพระสงฆ์สาวกผู้สืบพระศาสนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
              ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย  จากนั้นก็จะกระทำประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ   รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ    และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ ๓ รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ  ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง

               วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ องค์การสหประชาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๕๔ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากล ของสหประชาชาติ และให้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล และประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวมาตลอดทุกปีมิได้ขาด ทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จนถึงระดับนานาชาติ คือ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้จัดประชุมผู้นำชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันได้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเนื่องในวัน วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ก็ได้จัดประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย ที่ประชุมได้ลงนามในความร่วมมือเพื่อการจัดกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชาในปีต่อมา ณ ประเทศไทย

                 ต่อมา มหาเถรสมาคม ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๘ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ มีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๔๘ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ พุทธมณฑล และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวัน วิสาขบูชาโลก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงในโอกาสเดียวกัน  การประชุมในครั้งนี้ บรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้วยดีในทุกส่วนของการจัดงาน โดยเฉพาะในการประชุมชาวพุทธนานาชาตินั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๔๒ ประเทศ และที่ประชุมเห็นชอบลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และให้จัดฉลองวันวิสาขบูชาโลกในประเทศไทยต่อไป โดยให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นองค์กรหลักในการประสานงานและดำเนินการ  มหาเถรสมาคม ในคราวประชุม ครั้งที่ ๒๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘มีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติเนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี๒๕๔๙ เป็นกิจกรรมร่วมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ในการนี้ ได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ ประจำปี ๒๕๔๙ ระหว่างวันที่ ๗ - ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอกกรุงเทพมหานคร  ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๔๘ ประเทศ และที่ประชุมเห็นชอบลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้จัดฉลองวันวิสาขบูชาโลก ในประเทศไทย เพื่อร่วมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา อย่างไรก็ดี ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคม โดยร่วมมือกับคณะกรรมการสภาสากลวัน วิสาขบูชาโลกจัดงานวิสาขบูชา และองค์กรชาวพุทธจากทั้งภาครัฐและเอกชนจัดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของสหประชาชาติ โดยได้รับการอุปถัมภ์งบประมาณการจัดประชุมจากรัฐบาล และองค์การชาวพุทธ การจัดประชุมเป็นกิจกรรมหนึ่งของการร่วมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา จัดขึ้น ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร การจัดงานครั้งนี้ได้มีการสัมมนาทางทางวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง "พระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาลและการพัฒนา" โดยมีผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากนานาชาติ และบุคลากรจากองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น ๓,๓๒๖ รูป/คน และมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น ๖๗ ประเทศ
                    ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ แม้ว่าประเทศเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๕ อย่างเป็นทางการ แต่ถึงกระนั้น สำนักงานสหประชาติประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย อาศัยเหตุดังกล่าว รัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคมได้สนับสนุน และเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดงานเฉลิมเฉลิมวันวิสาขบูชาโลกขึ้นในประเทศไทยในวันที่ ๑๘-๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร  ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๑  เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาเถรสมาคมได้มีมติที่ ๕๒๔/๒๕๕๑ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ตามข้อเสนอของ คณะกรรมการจัดงานนานาชาติ (IOC) ซึ่งได้ประชุมกันในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเห็นพ้องต้องกันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๒ และจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ของโลก" (Buddhist Approach to Global Crisis) ระหว่างวันที่ ๔-๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พร้อมกันนี้ ยังได้มีมติให้จัดตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICUNDV) เพื่อดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ   ในการจัดงานวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๖ ได้มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๗๐ ประเทศ และที่ประชุมเห็นชอบลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้จัดฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๗ ปี ๒๕๕๓ ในประเทศไทย โดยมีประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วม งานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๗ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ มีการสัมมนาทางทางวิชาการนานาชาติเรื่อง "การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ" (Global Recovery: The Buddhist Perspective) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน๕,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๓ ประเทศ จากการประชุมของคณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาโลก ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึง วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีฉันทามติร่วมกันในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๘ ขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ การจัดงานครั้งนี้ได้มีการสัมมนาทางทางวิชาการนานาชาติเรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ"(Buddhist Virtues in Socio-Economic Development) โดยมีเป้าหมายให้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๕,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๔ ประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีการจัดงาน ณมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จ.นครปฐม

                    ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา ตั้งแต่ปีพุทธศักราชการ ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ตามลำดับดังนี้  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๑   เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำชาวพุทธโลกว่าด้วยวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ  
                    จุดเน้นของการประชุม : การประชุมครั้งนี้เน้นส่งเสริมการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งร่วมกันจัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาทั้งที่ศูนย์ประชุมใหญ่และศูนย์ประจำภูมิภาค  
                     วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๒   ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติว่าด้วยวันวิสาขบูชา ณหอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                     จุดเน้นของกาประชุม : การปะชุมครั้งนี้ เน้นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างองค์กรทางพระพุทธศาสนาและส่งเสริมแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลทางพระพุทธศาสนา  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๓   ระหว่างวันที่ ๗ - ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติว่าด้วยวันวิสาขบูชา ณหอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
                    จุดเน้นของการประชุม : การประชุมครั้งนี้เน้นเรื่องสันติภาพโลก ความร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ การพัฒนาแบบยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๔  ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติว่าด้วยวันวิสาขบูชา วันสำคัญของสหประชาชาติ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ  ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมปีนี้มีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมประมาณ ๒,๐๐๐ คน
                    จุดเน้นของการประชุม : การประชุมปีนี้ เน้นเรื่องพระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาล และเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา ครบ ๘๐ พรรษา  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๕  ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย จัดพิธีฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ  ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมนี้มีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมจำนวน ๑,๕๐๐ คน  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๖   การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เรื่อง พระพุทธศาสนากับการแก้วิกฤติการณ์ของโลก  วันที่ ๔- ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร  ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมปีนี้มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมประมาณ ๓,๕๐๐ คน  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๗   การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เรื่อง พระพุทธศาสนากับการแก้วิกฤติการณ์ของโลก วันที่ ๒๓ - ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุม : การประชุมปีนี้มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และผู้แทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมประมาณ ๕,๐๐๐ คน  
                    วิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๘  ในปี ๒๕๕๔ เป็นการประชุมชาวพุทธนานาชาติ วันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ มีผู้ประชุมประกอบด้วยประมุขสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช มหานายกะ ผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และพุทธศาสนิกชน จำนวน ๕,๐๐๐ คน 

                   การประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก หรือสหประชาชาติ ประจำปี ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๘ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมและรัฐบาล โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดประชุม โดยที่ประชุมชาวพุทธทั่วโลกมองเห็นสักยภาพของประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาโลก จึงได้ไว้วางใจและมีฉันทามิตให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติครั้งที่ ๘ นี้ จัดขึ้นในวันที่ ๑๒ ถึง๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๘๖ ประเทศ  จำนวน ๕,๐๐๐ คน  
                    การประชุมครั้งที่ ๘ ในปีนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทุกประการ สรุปผลการประชุมดังนี้
                    การจัดกิจกรรมนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๔ และเนื่องในโอกาสครบ ๒๖ ศตวรรษแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ" (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development)" ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 
                     วันแรก วันพุธที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔  เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถา การปาฐกถา เรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ" (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development) โดย Prof. Lewis Lancaster การกล่าวสุนทรพจน์จากผู้นำชาวพุทธ พิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา,
                     สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ฯ ทรงพระกรุณาโปรดพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสร็จเปิดการประชุม, การกล่าวสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ พลตรี สนั่น ขจรประสาท  รองนายกรัฐมนตรี  กล่าวต้นรับโดยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การกล่าวสุนทรพจน์ผู้นำชาวพุทธ  ช่วงค่ำมีการแสดงทางวัฒนธรรมนานาชาติ 
                     วันที่สอง วันศุกร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นการประชุมการสัมมนาและประชุมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย
  กลุ่มที่ ๑ ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ (Buddhist Leadership and Socio-Economic Development)
  กลุ่มที่ ๒ พุทธธรรมกับการสร้างสังคมปรองดอง (Building a Harmonious Society)
 กลุ่มที่ ๓ พุทธธรรมกับการรักษา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (Environmental Preservation and Restoration)
  กลุ่มที่ ๔ พุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้ (Wisdom for Awakening Society)
  กลุ่มที่ ๕ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พระไตรปิฎกสากล (Common Buddhist Text-CBT Workshops)
  กลุ่มที่ ๖ พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development)
                      ภาคบ่ายมีการแสดงดนตรีทางพุทธศาสนาของจีนและเพลงซิมโฟนีแบบตะวันตก สื่อให้เห็นถึงแก่นแท้ทางพุทธศาสนานิกายมหายาน และศิลปวัฒนธรรมจีน ในความคิดหลักเรื่องสามัคคี และสันติ คณะนักแสดงจำนวน ๑๘๐ คน เป็นการนำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาประพันธ์เป็นธรรมคีตา มีสาระเกี่ยวกับธรรม หลักปรัชญาปารมิตาสูตรเป็นต้น การแสดงทางวัฒนธรรมนานาชาติ ณ หอประชุม อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา และพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา 
                     วันที่ ๓  วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นการกล่าวสุนทรพจน์และสาส์นจากบุคคลสำคัญ  เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ Ban Ki Moon, เลขาธิการ UNESCAP Dr. Noeleen Heyzer, เลขาธิการองค์การยูเนสโก Irina Bokova, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวสุนทรพจน์,  สาส์นแสดงความยินดีจากพุทธศาสนิกชนและผู้นำทางการเมือง และการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตามรอยพระยุคลบาท" (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development as Exemplified by His Majesty King of Thailand) โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ภาคบ่าย สุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดย Prof. Francois Chenet, Paris University, คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  และรายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของกลุ่มต่างๆ พร้อมทั้งซักถาม
ประกอบด้วย ๑ ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ (Buddhist Leadership and Socio-Economic Development)  ๒. พุทธธรรมกับการสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์
(Building a Harmonious Society)  ๓. พุทธธรรมกับการรักษา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (Environmental Preservation and Restoration)  ๔. พุทธปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้
(Wisdom for Awakening Society)  ๕. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พระไตรปิฎกสากล  (Common Buddhist Text - CBT)  

                    จากนั้น พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้อ่านประกาศปฏิญญากรุงเทพมหานคร ๒๐๑๑/๒๕๕๔ ต่อที่ประชุม และพิธีปิดการประชุมโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชกล่าวอนุโมทนากถาและกล่าวปิดการประชุม จากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้เดินทางไปร่วมประกอบพิธีธรรมยาตรา และเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

                     คลิกเพื่อชมประมวลภาพกิจกรรมตลอดงาน

                     คลิกเพื่อบันทึกวิดีโอย้อนหลังตลอดงาน
 

                     ในปีนี้เป็นปีแห่งมหามงคล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทานแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน ๘ เล่มด้วยกัน คือ หนังสือที่จะใช้ประกอบ มอบถวายพระสงฆ์จากทั่วโลก และชาวพุทธทั่วไปที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย 
                    เล่มที่ ๑  หนังสือหนังสือ "มองวันวิสาขบูชา หยั่งถึงอารยธรรมโลก" ผู้เขียน : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ผู้แปล  : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. บรรณาธิการ : โรบิน ฟิลลิป มัวร์  หนังสือ เล่มนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายและนำเสนอความเป็นมาและความสำคัญของวันวิสาขบูชาที่มีต่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันนี้ เป็นวันที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมเพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นวัน แห่งอิสรภาพ วันที่พระธรรมได้ปรากฏแก่ชาวโลก และวันที่พระองค์ได้เตือนสติให้มนุษย์ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท ฉะนั้น เมื่อวันนี้มาบรรจบ มนุษยชาติควรแสวงหาคุณค่าแท้เพื่อให้เข้าถึงการรู้ ตื่น และเบิกบานตามพุทธปณิธาน  Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php

 

                      เล่มที่ ๒ หนังสือเรื่อง วิถีสู่สันติภาพ ผู้เขียน : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ผู้แปล : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. บรรณาธิการ : ดร. ดิออน โอลิเวอร์ พีเพิลส์  หนังสือเล่มนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงว่าเกิดจากความอยาก ได้ อยากใหญ่ และใจแคบ การที่จะออกจากกับดักดังกล่าวคือ “ลดความหวงแหนกีดกั้น” ด้วยการเข้าถึงความสากล ๓ ประการคือ ความเป็นมนุษย์สากล ความรักสากล และกฎกติกา และหลักความจริงสากล Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
 

                    เล่มที่ ๓ หนังสือเรื่อง ธรรมะกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  ผู้แต่ง : พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ผู้แปล : สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล, อินทิรา นวสัมฤทธิ์  บรรณาธิการ : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร,ดร.  ดร.ดิออน โอลิเวอร์ พีเพิลส์  หนังสือเล่มนี้ พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามีคุณค่าต่อมนุษยชาติอย่างไร ด้วยเหตุนี้ มนุษยชาติควรมองธรรมชาติ และควรพิทักษ์และปกป้องธรรมชาติเพื่อให้ธรรมชาติประดุจมิตร Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
                    เล่มที่ ๔ หนังสือเรื่อง พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ บรรณาธิการ : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. หนังสือเรื่อง “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development) ถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาได้ ร่วมกันคิดค้นรูปแบบการประยุกต์พุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่เหมาะสมกับสภาพ ปัจจุบัน Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
                    เล่มที่ ๕ หนังสื่อเรื่อง พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ผู้เขียน : นักวิชาการชาวพุทธทั่วโลก  บรรณาธิการ : พระคำหมาย ธรรมสามิ, ดร. (อังกฤษ) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. (ไทย) ดร. ดิออน พีเพิลส์ (อเมริกา) ดร. อริยะตเน (ศรีลังกา) ศ.ดร. เดเมียน คีโอน (อังกฤษ) ดร. โคลิน บัตเลอร์ (ออสเตรเลีย) ดร. ที. ธัมมรัตนะ (ฝรั่งเศส)  หนังสือ เล่มนี้ เป็นบทความทางวิชาการของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก ประกอบด้วยบทความจำนวนกว่า ๘๐ บทความ ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างสังคมปรองดอง การรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และพุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้  Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
                    เล่มที่ ๖  หนังสือเรื่อง "วารสารทางวิชาการลำดับที่สอง สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ" ผู้เขียน : นักวิชาการชาวพุทธทั่วโลก
บรรณาธิการ : พระคำหมาย ธรรมสามิ, ดร. (อังกฤษ) หนังสือเล่มนี้ เป็นบทความทางวิชาการของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก ประกอบด้วยบทความจำนวน ๗ บทความ เป็นที่ได้รับการคัดสรรจากบทความของนักเขียนที่มีชื่อเสียงด้านต่างๆ เช่น ด้านการปฏิบัติ ด้านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ด้านพระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจและสังคม Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
                  เล่มที่ ๗ หนังสือเรื่อง "The Vesak Day History, Significance and Celebrations The International Buddhist Conference on the United Nations Day of Vesak Celebrations 12-14 May 2011, Thailand"   Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
                  เล่มที่ ๘ หนังสื่อเรื่อง "Program Vesak 2011  ผู้รวบรวม : คณะทำงานฝ่ายวิชาการ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย "  หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวม และรวบเรียงสารของผู้นำชาวพุทธทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ยุโรป อเมริกาใต้ และเอเชีย รวมถึงสารจากเลขาธิการสหประชาติ เลขาธิการยูเนสโก นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้นำทางการเมือง ผู้นำขององค์กรเอกชนของประเทศต่างๆ ที่แสดงความปรารถนาดีต่อการจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๔ และเสนอแนะแนวทางเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข   Download ได้ที่  http://www.icundv.com/vesak2011/en/books.php
         
        ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มล้วนเป็นหนักสือที่มีเนื้อหาสาระสำคัญ ที่รวบรวมบทความสำคัญของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาระดับชาติ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างยิ่ง 
                                      ท่านใดที่สนใจหนังสือประกอบงานวิสาขบูชาโลกข้างต้น ขอเชิญไปร่วมงานและรับได้ที่เคาเตอร์หน้าห้องสัมมนา และห้องประชุมใหญ่ มหาจุฬาฯ วังน้อย พระนครศรีอยุธยา หรือติดต่อได้ที่สำนักงานวิสาขบูชาโลก เบอร์โทร  035 248 098  หรือโหลดไฟล์ PDF ได้ที่ http://www.icundv.com/vesak2011/th/books.php


                  สกู๊ปข่าวโดย อาจารย์พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง  พิมพ์โดยกองเลขานุการฯ
 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    145
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    393
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    489
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    146
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    160