www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
มจร ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (สกอ.) ผ่านระดับดี
28 ก.ย. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
140
ข่าวมหาวิทยาลัย
มจร ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (สกอ.) ผ่านระดับดี
วันที่ ๒๘/๐๙/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๑๖๕๕ ครั้ง

 วันนี้ (๒๓ กันยายน ๒๕๕๔) ห้องประชุม ๔๐๑ อาคารสำนักงานอธิการบดี วังน้อย อยุธยา คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน (สกอ.) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ ประกอบด้วย รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประธานกรรมการ, รศ.ดร.นาวาอากาศเอก ยุทธนา ตระหง่าน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรรมการ, ผศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรรมการ,ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มจร  กรรมการ, อาจารย์ไฉไลฤดี ยุวนะศิริ อาจารย์ประจำวิทยาเขตเชียงใหม่ กรรมการและเลขานุการ ได้สรุปรายงานผลการตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (สกอ.) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ ทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์เข้าร่วมรับฟัง

       ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (สกอ.) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยทุกด้าน โดยคณะกรรมการได้ชี้จุดเด่น จุดด้อย ดังนี้

   รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัย มีจุดแข็ง คือ มีสภามหาวิทยาลัยที่เข้มแข็ง อธิการบดีเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ มีความเชื่อมโยงระดับต่างๆ อย่างทั่วถึง มีสถานที่สวยงาม สะดวกด้วยความมีศีลปะวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม  สาขาที่เปิดสอนเป็นที่ยอมรับ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาองค์กรสงฆ์อย่างดียิ่ง มีการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ  ด้านวิชาการเป็นที่ยอมรับและมีคุณค่าสูง ส่วนที่เป็นข้อจำกัด ที่ควรพัฒนา คือ การจัดทำแผนกลยุทธ์ การสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ เน้นขยายกลยุทธไปสู่ภาคปฏิบัติมากขึ้น ด้านงานวิจัยมีการเผยแผ่น้อย ควรเพิ่มให้มีมากขึ้น การตีพิมพ์ควรเน้นคุณภาพการตีพิมพ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ  กิจกรรมหลายด้านไม่มีการรับรู้จากสภามหาวิทยาลัย จำเป็นต้องรายงานให้สภามหาวิทยาลัยรับทราบเป็นระยะ รวมทั้งเพิ่มกระบวนการบูรณาการการมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะเกี่ยวกับแผนฯ นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง สภามหาวิทยาลัยควรมีบทบาทเพื่อพิจารณาให้ความเห็นและนำไปสู่ความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ควรกำหนดมาตรการและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

                   รศ.ดร.ยุทธนา ตระหง่าน กล่าวว่า “คุณภาพด้านภาษาอังกฤษยังต่ำ ศิษย์เก่าภาษาอังกฤษไม่ดี แต่คุณภาพบัณฑิตเป็นปราชญ์มีความรู้ความสามารถสูง จุดอ่อนคือ ภาษาอังกฤษ ห้องสมุดมีผู้ใช้บริการห้องสมุดยังน้อย  ควรกำหนดแผนการใช้อาคารหอสมุดปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานแทน สร้างห้องสมุดใหม่ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง  นักศึกษาที่รับเข้ามามีความรู้แตกต่างกัน ควรให้มีการปรับฐานความรู้ก่อนเข้าศึกษา ควรสร้างระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย สังคมแห่งการเรียนรู้ นำระบบสารสนเทศบูรณาการร่วมกับห้องสมุดมากขึ้น โดยนิสิตได้สะท้อนอินเตอร์เน็ตมหาวิทยาลัยล่าช้า ซึ่งเป็นประเด็นควรปรับปรุงแก้ไขเรื่องความเร็วที่เหมาะสม อุปกรณ์ต่างๆของไอทีเนื่องจากอายุการใช้งาน อนาคตจะต้องลงทุนขนาดใหญ่สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ใน ๓ ด้าน คือ การบริหารจัดการ ควรตั้งกรรมการขึ้นมาบริการจัดการ ด้านเครือข่าย และด้าน MA รวมทั้งจะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถมารองรับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอีกด้วย”
   
                   รศ.ดร.ยุทธนา ตระหง่าน กล่าวต่อไปว่า “มหาวิทยาลัยต้องเร่งตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัย มีการเตรียมการจัดทำสถานที่ มุ่งเน้นการเรียนการการสอน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านเผยแผ่คุณธรรม จริยธรรม สู่สังคม สร้างสถานีไฟฟ้าย้อยเพื่อลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย  ระบบสาธารณูปโภค มีปัญหาการซ่อมบำรุง  อาคารสถานที่จะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน วิธีการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ต้องจัดทำเป็นฐานข้อมูลให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เปรียบเทียบในรอบเดือน รอบปีที่ผ่านมา

                   รศ.ดร.ยุทธนา ได้กล่าวต่อท้ายว่า “ด้านการวิจัย ขาดการร่วมคิดร่วมทำ  ผลงานวิจัย ต้องแยกกัน งานวิจัยใด เป็นงานของคณาจารย์  งานวิจัยชิ้นใด เป็นงานของนิสิต นักศึกษา มีการตีพิมพ์ สร้างสรรค์  งานวิจัยของนักศึกษาควรดำเนินการโดยคณะ”

                   ผศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า “มจร มีจุดเด่น มีอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ที่มหาวิทยาลัยอื่นไม่มี  ในฐานะมหาวิทยาลัย มีหน้าที่พัฒนาบุลากรทางพระพุทธศาสนาให้เป็นผู้นำความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต คุณธรรม จริยธรรมให้สังคมไทย ซึ่งเป็นจุดเด่น  พุทธศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไป เป็นนักพัฒนา เป็นนักเปลี่ยนแปลงมนุษย์ โดยการอาศัยหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยควรเน้นอย่างมาก คือ เน้นการพัฒนาด้านสมอง ความคิด การพัฒนาทางความคิด เป็นการวางรากฐานของสังคม  เน้นการการเรียนที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เน้นกระบวนการพัฒนา บนพื้นฐานของพระพุทธศาสนา โลกปัจจุบันเน้นความความแตกต่าง มหาจุฬาฯ ต้องนำจุดเด่นการบริหารจัดการพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง” 

                  ผศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร กล่าวต่อว่า “มหาจุฬาฯ ต้องยอมรับว่า การบริหารงานปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ไม่ได้อยู่ด้วยระบบ เพราะฉะนั้น จำเป็นต้องไปพัฒนากลไกการพัฒนา ทำอย่างไรจะให้บุคลากรมีคุณภาพ สามารถต่อยอดงานกันได้ เน้นการเรียนการสอนแบบมุ้งเน้นผลลัพธ์ เป็นสำคัญ โดยมีอาจารย์เป็นศูนย์กลาง นั้นคือ การเน้นผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้ไปเปลี่ยนแปลงสังคมได้”
                  พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ กล่าวว่า “การประเมินครั้งนี้เป็นกระจกสะท้อนมหาวิทยาลัย สะท้อนการทำงานของมหาวิทยาลัย สะท้อนในหลายๆ เรื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป”

                    พระครูสุตกิจบริหาร (ขุนทอง) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวว่า “การประเมินครั้งนี้ เป็นการประเมินแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ ๑๐ ซึ่งสิ้นสุดในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จะเป็นการก้าวเข้าสู่แผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๑๑ ซึ่งจะต้องวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ” 
  
                    ผศ.ปราณี พรรณวิเชียร กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยจะต้องมีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย นำตัวบ่งชี้เข้าสู่สภามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะแผนพัฒนามหาวิทยาลัย การดำเนินงานแผนงานโครงการ จะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ให้รู้ว่าในรอบหนึ่งปีได้ทำอะไรลงไปบ้าง ควรนำอัตลักษณ์ของบัณฑิต เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นจุดเด่น  สภามหาวิทยาลัยจะต้องติดตาม กำกับ อย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยควรดำเนินการระบบบริหารความเสี่ยง  (KM) มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีกิจกรรมต่อเนื่องเป็นประจำ เน้น ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) ผลกระทบ (Impact)”

                   ผศ.ปราณี พรรณวิเชียร ยังกล่าวต่อไปว่า “ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ งบประมาณ มี ๒ ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ส่วนที่ ๒ โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนา จะต้องมีการควบคุมกำกับ ติดตามการใช้เงินงบประมาณให้ถูกต้องตามแผนงานโครงการ เน้นการตอบโจทย์แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ที่ขาดคือ แผนกลยุทธ์ ซึ่งจะต้องปรับปรุง ติดตาม คณะกรรมการการเงินและทรัพย์สินจะต้องมีการประชุมติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง” 
 
                    พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร กล่าวว่าการพัฒนามหาวิทยาลัย ไม่ควรให้ติดอยู่กับตัวบุคคล จะต้องสร้างระบบองค์กร หมายถึงการเชื่อมโยง  ปัจจุบัน มหาจุฬาฯ อาศัยตัวบุคคลในการดำเนินงาน ต่อไปต้องเน้นการพัฒนาระบบ กลไก การบริหาร เน้นกระบวนการพัฒนา นำอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ไปสู่การผลิตบัณฑิต เรื่องเร่งด่วน คือการจัดทำกลยุทธ์ ตัวบ่งชี้ การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานโครงการ มีการตั้งคณะกรรมการติดตามทุกไตรมาส  การจัดทำหลักสูตร เน้นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ เน้นจุดเด่นของมหาวิทยาลัย เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง พัฒนาจิตใจและสังคม, ในหลักสูตรจะต้องบูรณาการร่วมคิดร่วมทำ เน้นการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่  มหาวิทยาลัยยังมีจุดอ่อนเรื่องการบริหารจัดการด้านงบประมาณ ต้องให้ส่วนงานกองแผนงานและกองกลาง ร่วมมือกันจัดทำข้อมูลเสนอสภามหาวิทยาลัยตามข้อเสนอผู้ประเมิน ต่อไปจะต้องมีสถานีไฟฟ้าย่อย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ผู้บริหารจะต้องได้รับรายงานผลการดำเนินงานประกอบการตัดสินใจผู้บริหาร ระบบสารสนเทศพร้อมที่จะใช้งาน เน้นการทำงานประหยัดกระดาษ ลดจำนวนเอกสารการใช้งาน ระบบการตัดสินใจผู้บริหาร อินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต จะต้องแยกกันให้ชัดเจน

                   พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อไปว่า “หากมหาวิทยาลัยสามารถสร้างระบบกลไกการบริหารจัดการ ระดมการเรียนการสอนร่วมกับฝ่ายวิจัย คณะ ภาควิชาต่างๆ ร่วมกันคิด ร่วมกันดำเนินการวิจัย นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ใช้ระบบการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ สู่ภาคปฏิบัติ  ช่วยงานบริการวิชาการ แก่สังคม  จะทำให้มหาวิทยาลัยเจริญรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดด ส่วนที่ทำดีอยู่แล้ว เช่น การบริการวิชาการแก่สังคม

                   โดยพระธรรมโกศาจารย์ "ได้เน้นให้ผู้บริหารทุกระดับชั้นของมหาวิทยาลัย ยึดเอกลักษณ์ อัตลักษณ์  ความเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ เป็นกระจกสะท้อนที่มีคุณประโยชน์ รวมทั้งการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อลดช่องว่าง เช่น การสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการต่อไป"

                    สำหรับผลการประเมินในครั้งนี้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ตามหลักเกณฑ์ประเมิน ประกอบด้วย ๙ องค์ประกอบ ๔๒ ตัวบ่งชี้ ใช้ระบบการให้คะแนนเต็ม ๕ คะแนน ผลคือ ได้ ๓.๘๔ อยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นการรายงานด้วยวาจา

                    ระบบประกันคุณภาพการศึกษา เป็นเงื่อนไขที่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ต้องมี เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษามาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ควบคุมคุณภาพทางวิชาการ และปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความมีเสรีภาพทางวิชาการและอิสรภาพในการดำเนินงาน ที่ยังคงเอื้อต่อการตรวจสอบจากสังคมภายนอก อันนำมาซึ่งความมีมาตรฐานทางการศึกษาในระดับที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

                    การที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษา ในครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่จะต้องทำ คือ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสามของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ซึ่งจะเข้ามาประเมินมหาจุฬาฯ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ที่ทุกภาคส่วนของมหาจุฬาฯ จะต้องร่วมมือกัน หากส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งไม่ผ่านการประเมิน จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยตกอยู่ที่นั่งลำบากไปด้วย 

                   สกู๊ปข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง
                   ภาพโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่
                   ตรวจโดย พระมหาสุทัศน์ ติสสรวาที ผู้อำนวยการกองวิชาการ


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    133
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    381
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    460
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    141
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    154