www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
งานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ครั้งที่ ๑๐ : แนะพุทธศาสนิกชนควรสร้างอนุสรณ์พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
03 พ.ค. 55 | ข่าวมหาวิทยาลัย
215
ข่าวมหาวิทยาลัย
งานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ครั้งที่ ๑๐ : แนะพุทธศาสนิกชนควรสร้างอนุสรณ์พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
วันที่ ๐๓/๐๕/๒๐๑๒ เข้าชม : ๘๐๐๗ ครั้ง

             เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มจร วังน้อย อยุธยา พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานในงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ครั้งที่ ๑๐ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศิษยานุศิษย์ และผู้เคารพนับถือศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ  ร่วมงาน เป็นจำนวนมาก

             ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ เป็นบูชนียาจารย์สำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญ มีลูกศิษย์จำนวนมาก โดย
ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้งมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ด้วยทุนที่ได้จากการจัดงานวันคล้ายวันเกิดครบ ๖ รอบ ของศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้มี วันจำนงค์ ทองประเสริฐ ขึ้นเพื่อจัดกิจกรรมประจำปีของมูลนิธิฯ โดยกำหนดเอาวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ คือวันที่ ๒ พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา จึงมีการจัดงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ติดต่อกันมาทุกปี ปีนี้เป็นครั้งที่ ๑๐

               การจัดงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่อเผยแพร่ผลงานของมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ เพื่อเชิดชูเกียรติของศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ เพื่อเป็นวัน
นัดพบและร่วมบำเพ็ญกุศลประจำปีของบรรดาศิษยานุศิษย์ และผู้เคารพนับถือศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ตั้งทุนและเพิ่มทุนในมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ กอปรกับวันพุธที่ ๒ พฤษภาคม คือวันนี้เป็นวันที่ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ มีอายุครบ ๘๓ ปีบริบูรณ์ จึงนับว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง การจัดงานในปีแรกและปีที่ ๒ ภาคเช้ามีพิธีกรรมทางศาสนา ภาคบ่ายมีการแสดงปาฐกถา ตั้งแต่ปีที่ ๓ ถึงปีที่ ๙ ภาคเช้ามีการมอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานดีเด่นทางพระพุทธศาสนา ปรัชญาและภาษาไทย ภาคบ่าย มีการแสดงปาฐกถา อภิปรายและเสวนา เรียกว่า ปาฐกถาชุดวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ซึ่งได้จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานนี้มาแล้ว รวม ๙ เรื่อง คือ
                ๑.เรื่อง ภาษาไทยกับพระพุทธศาสนา แสดงโดย ศ.ดร.วิษณุ  เครืองาม
                ๒.เรื่อง ภาษาไทยกับวัฒนธรรมไทย แสดงโดย ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย
                ๓.เรื่อง การชำระพจนานุกรม แสดงโดย ศ.ดร. ชัยอนันต์  สมุทวณิช
                ๔.เรื่อง ภาษาไทยกับกฎหมาย แสดงโดย นายมีชัย  ฤชุพันธุ์
                ๕.เรื่อง การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน เสวนาโดยราชบัณฑิต ๖ ท่าน
                ๖.เรื่อง  การใช้ราชาศัพท์ อภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ ท่าน
                ๗.เรื่อง บทบาทของตรรกศาสตร์ในสังคมไทย อภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ ท่าน
                ๘.เรื่อง บทบาทของชาวพุทธในสถานการณ์ปัจจุบัน  แสดงปาฐกถานำโดย ศ.ดร.บวรศักดิ์  อุวรรณโณ ราชบัณฑิต และเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน
                ๙.เรื่อง ร่วมสร้างความสามัคคี ทำดีเพื่อในหลวง เสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ ท่าน
                สำรับในปีนี้ (๒๕๕๕) ภาคเช้า : เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ประธานในพิธีมอบ “รางวัลจำนงค์ ทองประเสริฐ” แก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีผลงานดีเด่น ๙ รางวัล ประกอบด้วย สาขาวิชาพระพุทธ
ศาสนา ๕ รางวัล สาขาวิชาปรัชญา ๒ รางวัล และสาขาวิชาภาษาไทย ๒ รางวัล จากนั้นประธานกล่าวสัมโมทนียกถา พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์จำนวน ๘๔ รูป ผู้มาในงานร่วมรับประทานอาหารกลางวันแล้วรดน้ำขอพรจากศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ    ภาคบ่าย : เริ่มเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา แสดงปาฐกถาเรื่อง บทบาทของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกกับพุทธศาสตร์ศึกษา โดยศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ  เศรษฐบุตร และเสวนาเรื่อง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า วิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย พระราชรัตนรังษี  นาวาเอกทองย้อย  แสงสินชัย ดำเนินการเสวนาโดย นายกำภู  ภูริภูวดล

                 โดยช่วงหนึ่งการปาฐกถาของวิทยากร กล่าวว่า
"สังคมปัจจุบันขาด ๒ เรื่อง เรื่องที่หนึ่งผู้ที่กล้าคิดกล้าตัดสินใจ เรื่องที่ ๒ ขาดแนวคิดหรือการคิดแบบมีขั้นมีตอน ในการที่ประเทศไทยได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนสมควรอย่างยิ่งที่จะสร้างอนุสรณ์ ๒๖๐๐ ปี พุทธชยันตี เช่น ห้องสมุดพระพุทธศาสนาที่รวบรวมหลักคำสอนด้านพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน หรือสร้างเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา"

                  ในปีนี้ คณะกรรมการจัดงานได้มอบรางวัลจำนงค์ ทองประเสริฐ แก่ผู้มีผลงานดีเด่น ในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา ๕ รางวัล สาขาวิชาปรัชญา ๒ รางวัล และสาขาวิชาภาษาไทย ๒ รางวัล
รวม ๙ รูปหรือคน ประกอบด้วย 
                  สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๑) : พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินนฺโท) สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก  จากจังหวัดสุพรรณบุรี และเปรียญธรรม ๘ ประโยค สำนักเรียนสองพี่น้อง อำเภอ
สองพี่อง จังหวัดสุขพรรณบุรี ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี รองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  ปัจจุบันดำรงเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร และเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี  พระเทพสุวรรณโมลี ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นพระเถระผู้มีความรู้ความสามารถและมีปัญญาแตกฉานในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างถ่องแท้ท่านหนึ่งของคณะสงฆ์ไทย นอกจากเป็นพระเถระผู้ตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัดมีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย มีปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมไสศรัทธาของผู้ที่ได้พบเห็น และเป็นนักปกครองระดับเจ้าคณะจังหวัดแล้ว ยังเป็นพระธรรมกถึกเอกได้รับอาราธนาให้ไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่องตลอดปี และเป็นพรเถระผู้มีผลงานด้านวรรณกรรมที่โดดเด่น ได้นิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาจำนวนมาก เช่น ตับเบญจศีล-เบญจธรรม ตับมงคลภาษิต  มรดกหลวงพ่อ เสียงพระเสียงเพลง เล่ม ๑-๒-๓ ศีลห้ากติกาสังคม ธรรมคีติ และจัดทำวาร “เสียงสงฆ์สองพี่น้อง” นอกจาก นั้นยังมีบทบาท  ด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น เป็นผู้สอนพระปริยัติธรรมวัดสองพี่น้อง เป็นวิทยากรอบรมบาลีก่อนสอบ จัดงานสมโภชและมอบรางวัลแก่พระภิกษุสามเณรผู้สอบบาลีได้ ตั้งทุนมูลนิธิสงเคราะห์นักเรียนวัดป่าเลไลยก์ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เป็นผู้สนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อุปถัมภ์พิธีประสาทปริญญาของวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอุปถัมภ์และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องตลอดมา

                     สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๒) : พระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก ได้รับปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และพุทธศาสตรดุษฎี
บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามลำดับ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ประธานกรรมการบริหารสำนักงานฌาปนสถาน ประธานองค์การสาธารณสงเคราะห์วัดประยุรวงศาวาส ที่ปรึกษาองค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการบริหารสภาพระธรรมกถึกแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการและวิทยากรฝึกอบรมพระนักเทศน์แม่แบบตามมติมหาเถรมาคม เป็นวิทยากรอบรมหลักสูตรวิชาการเทศนา รุ่นที่ ๕-๑๘ ขององค์การเผยแผ่ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร     พระราชธรรมวาทีได้รับการยกย่องว่าเป็นพระธรรมกถึกชั้นเอก หรือเป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมของวงการคณะสงฆ์ไทย ได้รับอาราธนาให้ไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธบริษัทตลอดปีอย่างต่อเนื่อง มีวาทะเป็นที่จับใจและปลูกความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้ได้รับฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ได้รับอาราธนาให้แสดงพระธรรมเทศนาเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ หลายครั้ง เช่น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ ให้เป็นองค์ถวายพระธรรมเทศนาส่วนตัวแบบธรรมวัตรและมหาชาติหน้าพระที่นั่ง ในพระราชพิธีและการบำเพ็ญพระราชกุศลตามวาระต่าง ๆ เป็นวิทยากรบรรยายแก่คณะสงฆ์ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในละต่างประเทศ จนได้รับการยกย่องจากวงการนักเทศน์ว่าเป็นนักเทศน์ต้นแบบทั้งธรรมวัตรและมหาชาติ นอกจากบรรยายและแสดงธรรมในรายการต่าง ๆ เช่น เสียงปลุก กระแสโลก-กระแสธรรม ธรรมรส-ธรรมรัฐ และทศพิธราชธรรม แล้ว ยังนิพนธ์บทความธรรมเผยแผ่ ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น สยามรัฐ มหามิตร ทางเดิน คมชัดลึก และประพันธ์หนังสือ เช่น ทศพิธราชธรรม รัตนตรัยกถา สุขใจเมื่อใฝ่ธรรม กรรมบันดาล พุทธวิธีแก้ทุกข์ ฝากไว้ให้คิด แก่นมหาชาติ

                   สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๓) :  พลเอกเสรี พุกกะมาน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาศิลปากร ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชานโยบายสาธารณะและการบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เข้ารับราชการในกองทัพบกในตำแหน่งสถาปนิก สำนักยุทธโยธาทหาร เป็นผู้อำนวยการสำนักยุทธโยธาทหารในตำแหน่งพลตรี เป็นที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุดในตำแหน่งพลโท และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการทหารสูงสุดในตำแหน่งพลเอก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอธิการบดี และปฏิบัติหน้าที่คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม     พลเอกเสรี พุกกะมาน เป็นพุทธศาสนิกชนที่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างเคร่งครัด และส่งเสริมสนับสนุนองค์กรทางการศึกษาคณะสงฆ์หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยได้สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนที่อำเภอวังน้อย ลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนากับมหาวิทยาลัย ส่งคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศมาช่วยปฏิบัติงานต้อนรับผู้นำชาวพุทธนานาชาติที่เดินทางมาร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก อุปถัมภ์งบประมาณการจัดปฐมนิเทศน์นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่อนออกปฏิบัติศาสนกิจ และเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการบรรยายธรรมปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดรายการธรรมะทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นเจ้าภาพนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวาย ณ วัดศรีสุดาราม วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร วัดไรขิง จังหวัดนครปฐม และวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และถวายทุนการศึกษาแด่พระนิสิตระดับปริญญาโท ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุม 

                  สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๔) : นายศักดิ์ชัย เตชะไกรศรี ประธานกรรมการบริษัท สหชัยไทยพืชผล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชา
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีบทบาทโดดเด่นด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยได้จัดตั้งโรงทาน “เตชะไกรศรี” เนื่องในงานวันวิสาขบูชา ณ ท้องสนามหลวง เป็นประจำทุกปี บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในจังหวัดเชียงรายหลายแห่ง เช่น อุโบสถวัดโป่งปูเฟื่อง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเม็งราย และศาลาอเนกประสงค์วัดป่ากล้วย สร้างอาคารโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ สร้างอาคารปฏิบัติธรรมยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย สร้างอาคารอเนกประสงค์และโรงเรียนปริยัติธรรม ณ ประเทศพม่า  สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ณ มหาจุฬาอาศรม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สร้างอาคาร ๑๕๐ ปี สมเด็จพระปิยมหาราช (มหาจุฬาบรรณาคาร) ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้นยังได้บริจาคทรัพย์อุปถัมภ์การเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อุปถัมภ์การจัดประชุมวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก และพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องเสมอมา

                     สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๕) :  นางสุดาวรรณ เตชะไกรศรี สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจากสถาบันการพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ด้านเลขานุการและการบัญชี จาก
พระกุมารเยซูวิทยาลัย จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมการบริษัท สหชัยไทยพืชผล จำกัด และรองประธานกรรมการบริษัทเหนือสุดศิวิไลย์คอมแล็กซ์ จำกัด เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีปฏิปทาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา เช่น บริจาคเงินสร้างอาคารปฏิบัติธรรมวัดภูเก็ต อำเภอปิง จังหวัดน่าน สร้างซุ้มประตูวัดสีลสุภาราม จังหวัดภูเก็ต สร้างกุฎิศักดิ์ชัย-สุดาวรรณ เตชะไกรศรี ถวายวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร สมทบทุนสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ วัดพระธาตุจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างอาคารเรียนและที่พักวัดศรีเวลุวนารวม (Sri Veluwanaramaya) ประเทศศรีลังกา และสร้างอาคารเรียนและที่พักวัดเทคคยีคยัง (Taik kyee Kyaung sathin saik) ประเทศพม่า เป็นผู้อุปถัมภ์สร้างอาคารมหาจุฬาบรรณาคาร สูง ๔ ชั้น จำนวน ๓๕ ล้านบาท เป็นเจ้าภาพถวายภัตหารในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทุกปี บริจาคอุปกรณ์การศึกษาทั้งในและต่างประเทศในนามมหาวิทยาลัย อุปถัมภ์การประชุมงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกประจำทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการบริหารมหาจุฬาบรรณาคารและอาคาร ๙๒ ปีปัญญานันทภิกขุ ด้วย

                        สาขาวิชาปรัชญา (๖) : ศาสตราจารย์ ดร.เดือน คำดี สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๕ ประโยค ศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยไมซอร์และมหาวิทยาลัยมคธตามลำดับ ปรม. ๑ การบริหารภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า ได้เข้ารับราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในตำแหน่งอาจารย์จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ : ปรัชญาและศาสนา ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗  เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตลพบุรี และรองอธิการบดี ในส่วนที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นอาจารย์บรรยายวิชาสัมมนาปรัชญาระดับปริญญาตรี บรรยายวิชาปรัชญาอัตถิภาวนิยมระดับปริญญาโท เป็นกรรมการร่างหลักสูตรปริญญาเอกวิชาศาสนาและปรัชญา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการในองค์กรอื่น ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๘๐ ชุด ได้ไปศึกษาและดูงานในประเทศต่าง ๆ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี นอรเวย์ ฟินแลนด์ เวียดนาม มีผลงานวิชาการทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวนมาก ได้แก่ งานวิจัยจำนวน ๒๑ เรื่อง เช่น การวิเคราะห์เรื่องบทบาทของศรัทธาและปัญญาในศาสนา การวิเคราะห์เรื่องลักษณะพิเศษของพุทธปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา แต่งตำรา ๑๒ เรื่อง เช่น ปรัชญาตะวันตกตั้งแต่สมัยเพลโต-ปัจจุบัน ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ มหาปรัชญา พุทธปรัชญา บทความทางวิชาการภาษาไทย ๖๔ เรื่อง เช่น การสอนพุทธปรัชญาเถรวาท พุทธปรัชญาว่าด้วยกฎแห่งกรรม ภาษาอังกฤษ ๑๔ เรื่อง เช่น The Social Philosophy of Buddhism, The Concept of Man in Buddhism เป็นวิทยากรบรรยายไม่น้อยกว่า ๕๐ เรื่อง เช่น การศึกษาและพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนา ลักษณะพิเศษของอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา การสอนพุทธปรัชญาเถรวาท ปรัชญากับการศึกษาในยุคปัจจุบันและได้เสนอบทความทางวิชาการในการประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน ๕ เรื่อง

                สาขาวิชาปรัชญา (๗) : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สังวร พรหมเสน สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร
ณราชวิทยาลัย ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญาอินเดีย มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย หลังจากลาสิกขาได้เข้ารับราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในตำแหน่งอาจารย์สอนวิชาศาสนาปรัชญาและอารยธรรมตะวันออก ในสาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาพุทธปรัชญา และปรัชญาตะวันออก คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผลงานทางวิชาการหลายเรื่อง เช่น วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง การศึกษาคำสอนเกี่ยวกับปฏิจสมุปบาทในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา อนัตตา ความดีคืออะไร ความจริงคืออะไร ทำไมคานธีจึงมีชื่อมหาตมา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สังวร พรหมเสน นอกจากเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาแล้ว ยังเป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในการประสานงานกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศอินเดีย เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมเรื่อง THE QUAKER INTERNATIONAL CONRERENCE ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยความเห็นชอบของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกให้เป็นล่ามแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในการสอนวิปัสสนากรรมฐาน โดยพระธรรมมังคลาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในประเทศรัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา เมกซิโก และญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตสันติภาพจากประธานมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย)

                   สาขาวิชาภาไทย (๘) :  นายกิตติ สิงหาปัด สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น เกษตรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มต้นทำงานเป็นผู้แทนจำหน่ายเวชภัณฑ์สัตว์ของบริษัทไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้สมัครเป็นทีมงานรายการ “เกษตรสนทนา” เป็นผู้ควบคุมรายการโทรทัศน์ ผู้เขียนบทบรรยาย  เป็นผู้สื่อข่าวและเป็นผู้ดำเนินรายการสารคดีโทรทัศน์ ทางบริษัทแปซิฟิก อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นเวลา ๘ ปี ได้ร่วมเป็นหนึ่งในทีมงานชุดแรกของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยได้เป็นผู้ประกาศข่าวที่ออกอากาศไอทีวีเป็นครั้งแรกพร้อมกับนายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวไอทีวีในขณะนั้น และเป็นผู้ประกาศข่าวมือหนึ่งในข่าวภาคค่ำคู่กับนางสาวสายสวรรค์ ขยันยิ่ง ต่อมาได้เป็นผู้ประกาศข่าวหลักในรายการไอทีวี ฮอตนิวส์ ที่ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา ๒๑.๔๐ – ๒๒.๓๐ น. พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้ประกาศข่าวค่ำทางโมเดิร์นไนท์ ทีวีทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๐.๑๕ น. พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ก่อตั้งบริษัทฮอตนิวส์ จำกัด เพื่อผลิตรายการ “ข่าว ๓ มิติ” และเป็นผู้ประกาศข่าวในรายการนี้ด้วยตนเอง จนถึงปัจจุบัน โดยออกอากาศเวลา ๒๒.๓๐ – ๒๓.๐๐ น. ทุกวันเว้นวันอังคาร   นานกิตติ สิงหาปัด ปฏิบัติงานอยู่ในวงการโทรทัศน์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จนถึงปัจจุบัน ได้ทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรในรายการต่าง ๆ มามากมายได้อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะการ ใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เนื้อหาที่นำเสนอน่าสนใจ ชัดเจน กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ  เป็นที่ยอมรับของผู้ชมรายการโทรทัศน์อย่างกว้างขวางทั่วประเทศตลอดเวลา ๒๔ ปีที่ผ่านมา

                  สาขาวิชาภาไทย (๙) : นายกำภู  ภูริภูวดล สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม ๗ ประโยค พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ เกียรตินิยม รุ่นที่ ๓๙ มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้นเป็นคนชอบและรักในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ จึงได้เป็นหัวหน้ากลุ่มพลังสังคม หลังจากลาสิกขาแล้ว ได้เข้าทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์วัฏจักรรายวันเป็นเวลา ๕ ปี โดยรับผิดชอบทำข่าวภาคสนาม ทั้งข่าวอาชญากรรม การเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสารคดีพิเศษ เช่น คอลัมน์ชีวิตเศรษฐกิจ สดจากสนาม เก็บข่าวมาคุย ใช้ทั้งชื่อจริงและนามแฝงว่า ศรีแพร ดอกแคป่า ภูบดินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ย้ายมาทำงานที่สำนักข่าวไทย อสมท. ดูแลสายงานข่าวเศรษฐกิจการเงินเป็นหลัก รวมทั้งรายงานสดภาคสนามทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการ “ข่าวค้นคนข่าว” และรายการ “จับเงินชนทอง” เป็นผู้จัดรายการวิทยุ “เอฟเอ็ม ๙๕ ลูกทุ่งมหานคร” ซึ่งเป็นรายการเพลงลูกทุ่งยอดนิยมอันดับ ๑ ของประเทศ ล่าสุดได้ออกอัลบั้มเพลงลูกทุ่ง ๒ ชุดคือ “หนุ่มหนองใหญ่สาวหนองฮี” และ “แฟนมหา” ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์โดยการจัดทำโครงการห้องสมุดเพื่อน้องในชนบท นำแฟนคลับและองค์กรธุรกิจร่วมสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์และห้องสมุดชุมชนให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า ๒๐ ปีที่ผ่านมานายกำภู ภูริภูวดล ได้ใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่น่าภาคภูมิใจของชาติในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมในทุกรายการโดยได้ถ่ายทอดเนื้อหา รายการต่าง ๆ ด้วยภาษาไทยที่ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย น่าติดตามเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมและผู้ฟังรายการเป็นอย่างยิ่ง ที่น่ายกย่องชมเชยอีกอย่างหนึ่งคือเป็นผู้ที่ภูมิใจอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยอีสานของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรากเหง้าของภาษาไทยในทุกโอกาสที่มีอย่างกลมกลืน เหมาะสมและลงตัว

                   โดยมีปีนี้มีผู้มีจิตศรัทธาตั้งทุนมูลนิธิ สมทบทุน/เพิ่มทุนมูล อาทิเช่น พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร รองเจ้าคณะภาค ๑๓ ได้บริจาคเป็นเงิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ยังมีผู้มีจิตศรัทธาอีกจำนวนมาก

                  สกู๊ปข่าวโดย : พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง
                  ข้อมูลโดย ฝ่ายเลขานุการมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ/ศรายุทธ  ประการแก้ว


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    113
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    364
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    403
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    130
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    147