www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมัครด่วน!!! รับจำนวนจำกัด หลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา
22 ธ.ค. 55 | ข่าวมหาวิทยาลัย
198
ข่าวมหาวิทยาลัย
สมัครด่วน!!! รับจำนวนจำกัด หลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา
วันที่ ๒๒/๑๒/๒๐๑๒ เข้าชม : ๑๒๖๕๒ ครั้ง

 

 

 โครงการปริญญาโท  สาขาวิชาสันติศึกษา (ภาคพิเศษ) รุ่นที่  ๑
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา ๒๕๕๖

*********************************


๑.       หลักการและเหตุผล

สังคมโลกในยุคปัจจุบันเป็นสังคมแบบ “พหุนิยม” (Pluralism) ที่ธรรมชาติได้ออกแบบให้โลกมีความหลากหลาย และแตกต่างทั้งชาติพันธุ์ ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และภาษา  ในเมื่อมนุษย์ไม่สามารถที่จะปฏิเสธ หรือหลีกหนีธรรมชาติดังกล่าวได้  จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างและหลากหลายอย่างมีสติ บนฐานของความอดทน และเปิดใจกว้างเพื่อที่จะเรียนรู้ เข้าใจ  และอยู่ร่วมกับความแตกต่างและหลากหลายได้อย่างมีความสุขสงบเย็น และเป็นสันติสุข

การที่จะเข้าถึง เข้าใจ ยอมรับ และมีท่าทีในเชิงบวกต่อความแตกต่าง และหลากหลายได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเริ่มต้นพัฒนาจิตใจให้รู้ ตื่น และเบิกบาน ปราศจากอคติ เอาใจเขามาใส่ใจเรา รัก และสงสารเพื่อนร่วมโลกตามหลักการที่ว่า “โลกทั้งผองพี่น้องกัน”  ความเป็นพี่เป็นน้องไม่ได้มีนัยที่จำกัดวงเฉพาะในกลุ่มมนุษย์เท่านั้น หากแต่รวมไปถึงธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบมนุษย์  การเข้าใจกฎของความสัมพันธ์ที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี” นั้น ทำให้มนุษย์จำเป็นต้อง “รักคนอื่นและสิ่งอื่น” ด้วยเช่นกัน เพราะในความเป็นจริง มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกนี้ได้  ดังนั้น การที่มนุษย์รักคนอื่น หรือสิ่งอื่น จึงมีค่าเท่ากับมนุษย์รักตนเอง  เพราะเมื่อมนุษย์ไม่เบียดเบียนคนอื่น หรือธรรมชาติสิ่งแวดล้อม คนอื่น  และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็จะทำหน้าที่ในการโอบอุ้มมนุษย์ให้สามารถอยู่รวมกันได้อย่างประสานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว

จากเหตุผลดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศาลยุติธรรม จึงได้พัฒนาหลักสูตร “สันติศึกษา” ขึ้นมา เพื่อร่วมเสริมสร้างและพัฒนาสันติภาพภายในบุคคลต่างๆ ให้สามารถสัมผัสพลังสันติภาพที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจของแต่ละคนเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ว่า “ไม่มีความสุขอื่นใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าความสงบสุข”  การเข้าใจความจริงดังกล่าว จะทำให้แต่ละคนเห็นอกเห็นใจกัน สามารถมองดูใบหน้าและดวงตาของกันและกันประดุจแม่มองดวงตาของบุตร ด้วยความรัก และพร้อมที่จะแบ่งปันความสุข และความทุกข์โดยไม่แบ่งเขาแบ่งเรา และเมื่อเกิดความขัดแย้ง และความรุนแรงเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความสัมพันธ์ ค่านิยม และโครงสร้างขึ้นมาครั้งใด กลุ่มคนต่างๆ จะสามารถมองความขัดแย้งในเชิงบวก โดยการร่วมสร้างและพัฒนาทางเลือกในการประยุกต์ใช้เครื่องมือจัดการความขัดแย้งและความรุนแรงโดยสันติวิธีได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสอดรับกับสถานการณ์และความเป็นไปของโลกและชีวิต

 ๒. จุดเด่นของหลักสูตรสันติศึกษา

                      ๒.๑ หลักสูตรนี้ เน้นบูรณาการพัฒนาสันติภาพแบบผสมผสานทั้งภายในและภายนอก โดยเริ่มต้นพัฒนาผู้เรียนรู้ให้เกิดสันติภาพขึ้นภายในใจ โดยการใช้หลักสมาธิมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนากล่อมเกลาสติ และปัญญาให้เกิดความแข็งแกร่ง เพื่อให้สามารถทนต่อกระแสของอคติ มีใจกว้าง อดทนและยอมรับต่อความแตกต่างอย่างมีสติมากยิ่งขึ้น  หลังจากนั้น ผู้เรียนรู้จะสามารถประยุกต์ใช้หลักการและเครื่องมือสร้างสันติภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

                      ๒.๒ คณาจารย์และอาจารย์พิเศษที่หลักสูตรจะเชิญมาบรรยายนั้น ประกอบด้วยนักวิชาการ และนักปฏิบัติการด้านสันติภาพที่มีชื่อเสียง และทำงานด้านสันติภาพมาทั้งประสบการณ์ตรง และการทำวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากสถาบันที่ทำงานด้านสันติภาพ เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันพระปกเกล้า ศาล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์ศึกษาสันติภาพ และความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                      ๒.๓ สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า จะเข้าไปช่วยพัฒนานักสันติภาพ และนักประนีประนอมภายใต้บันทึกการลงนามความร่วมมือระหว่าง ๓ สถาบัน โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนานักสันติภาพเพื่อสนองตอบต่อพันธกิจของศาลในการช่วยพัฒนานักประนีประนอมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น  ในการนี้ หลักสูตรจะเชิญผู้พากษาหรือผู้ประนีประนอมมาร่วมพัฒนาผู้เรียนโดยการเข้าไปให้การศึกษาและฝึกภาคปฏิบัติการประนีประนอมในศาลต่างๆ และร่วมศึกษาและดูงานกับหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งของสถาบันพระปกเกล้า เมื่อผ่านหลักสูตร ผู้เรียนจะสามารถได้รับวุฒิบัตรจากสถาบันทั้ง ๓ แห่ง กล่าวคือ ปริญญาบัตร วุฒิบัตรหลักสูตรการจัดการความขัดแย้ง และวุฒิบัตรหลักสูตรการประนีประนอมข้อพิพาทประจำศาล

. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๓.๑ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสันติภาพภายในใจ มีสติรู้เท่าทันอคติ ยอมรับ และอดทนต่อแตกต่างและความหลากหลาย มีจิตใจที่เปิดกว้าง ยึดมั่นในวัฒนธรรมสันติวิธี และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข บนฐานของการเคารพ และให้เกียรติ

๓.๒ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจความขัดแย้ง และการจัดการความขัดแย้งในมติที่หลากหลาย  รวมถึงการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี และเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งของสันติวิธีซึ่งเป็นทางเลือกสำคัญต่อนำไปประยุกต์ใช้จัดการความขัดแย้งในเชิงปัจเจกและสังคม

๓.๓ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถนำเครื่องมือการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีไปสู่การปฏิบัติ ทดสอบและทดลองในสถานการณ์จริงอันจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้และเชี่ยวชาญในการจัดการความขัดแย้งในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม

                ๓.๔ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ และเผยแพร่หลักการ เครื่องมือ และวิธีการเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีทั้งในระดับประเทศ ประชาคมอาเซียน และระดับนานาชาติ

 

๔. คุณสมบัติของผู้สมัคร

                .๑ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชนในต่างประเทศหรือในประเทศที่ได้รับรองจากสำนักงาน กพ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

                ๔.๒ มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                      (๑) พระภิกษุ แม่ชี นักบวช หรือนักพรต
           (๒) นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น

๑)  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

๒)  สมาชิกวุฒิสภา

๓)  ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น

       (๓) ข้าราชการและพนักงานองค์กรภาครัฐ

๑) ข้าราชการพลเรือน / ข้าราชการพลเรือนสามัญ /ข้าราชการรัฐสภา/ ข้าราชการศาลยุติธรรม / ผู้ประนีประนอมประจำศาล ฯลฯ

๒)  ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือผู้นำชุมชน หรือ ผู้นำท้องถิ่น

๓)  นักวิชาการ/อาจารย์มหาวิทยาลัย 

                        (๔) ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชน

๑) ผู้ประกอบกิจการ  หรือ  ผู้บริหารของกิจการภาคเอกชน หรือผู้แทนสหภาพแรงงาน หรือแรงงานสัมพันธ์ หรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

๒) ผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน

๓) ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ

๔) สื่อมวลชน

 

๕.จำนวนผู้เข้ารับการศึกษา

                พิจารณารับนักศึกษา จำนวน ๔๐ รูป/คน

 

๖. การคัดเลือก

 ๖.๑ คณะกรรมการพิจารณาจากใบสมัคร โดยคัดเลือกจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น สาขาที่สำเร็จการศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ลักษณะงานที่ทำ และโอกาสในการนำความรู้ไปใช้ในอนาคต

๖.๒ คณะกรรมการทำการสัมภาษณ์เพื่อประเมินบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์ ทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษและความพร้อมในการศึกษา

 

๗. ระบบการศึกษา

ระบบการศึกษาแบ่งเป็นภาคการศึกษา ภาคละ ๓ วิชา ภาคฤดูร้อน ภาคละ ๑ วิชา  โดยเรียน ครั้งละ ๑ วิชา ๆ ละ ๖ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๘ ชั่วโมง รวม ๔๘ ชั่วโมง ต่อ ๑ วิชา ต่อเนื่องกันจนจบหลักสูตร  โดยจะเรียนในวันเสาร์เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.  

 

๘. ระยะเวลาการศึกษา

                 รวมระยะเวลาที่ศึกษาในสถาบัน ๑๕ รายวิชา  (ทั้งวิชาหลักและวิชาเสริม) และสอบประมวลความรู้  ประมาณ ๒ ปี

 

๙. สถานที่จัดการศึกษา

        อาคารเรียนรวม ชั้น ๔  โซนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

 

๑๐. ผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตร

 

รายนาม

ตำแหน่ง

พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.

อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกณราชวิทยาลัย

พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

พระสุธีธรรมานุวัตร,ผศ.ดร.

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

พระไพศาล  วิสาโล 

พระนักเขียน/นักสันติวิธี

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร.  

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ/ผู้กำกับหลักสูตร

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

สถาบันวิมุตตยาลัย

แม่ชีศันสนีย์  เสถียรสุต

เสถียรธรรมสถาน

ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย

องคมนตรี

ศ.นพ.ประเวศ วะสี

ราษฎรอาวุโส

ศ.ดร.บวรศักดิ์  อุวรรณโณ

เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

รศ.ดร.โคทม  อารียา 

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.มารค ตามไท

นักสันติภาพ

พล.อ. เอกชัย ศรีวิลาส

ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

ศ.นพ.วันชัย  วัฒนศัพท์ 

ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า    

ผศ.ดร.ปาริชาด สุวรรณบุปผา 

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม. มหิดล

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ 

นักอนาคตศาสตร์

นายนพพร โพธิรังสิยากร

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์

นายอดุลย์ ขันทอง  

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์  

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

นักวิชาการด้านสันติภาพ

ดร.นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์               

กรรมการหลักสูตรสันติศึกษา

ดร.จอห์น แมคคอลแนลล์

นักสันติภาพ

 

๑๑.องค์กรความร่วมมือที่ร่วมลงนาม (MOU)

                สถาบันพระปกเกล้า และ สำนักงานศาลยุติธรรม 

 ๑๒.รายละเอียดกลุ่มวิชา

                กลุ่มวิชาที่ ๑   แนวคิด และทฤษฏี ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการความขัดแย้ง ความรุนแรง แนวคิด ทฤษฏีสันติภาพ พัฒนาการของความขัดแย้งและความรุนแรงในโลกสมัยใหม่ พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ และพุทธสันติวิธี

กลุ่มวิชาที่ ๒ ปฏิบัติการสร้างสันติภาพ การฝึกปฏิบัติ ทั้งการสร้างสันติภาพภายในให้ใจสงบนิ่งปราศจากอคติ และปฏิบัติการสร้างและรักษาสันติภาพภายนอกโดยกระบวนการไกล่เกลี่ยคนกลางอย่างมีสติ และใช้กระบวนการสันติสนทนาด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในลักษณะต่างๆ

กลุ่มวิชาที่ ๓ ต้นแบบของนักสร้างสันติภาพทั่วโลก/หลักการและเครื่องมือในการสร้างสันติภาพ และรักษาสันติภาพ  การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของผู้นำทางการเมืองและนักการศาสนาต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ บทบาทขององค์กรสันติภาพทั่วโลก ขันติธรรมทางศาสนา การสื่อสารเพื่อสร้างสันติภาพ และกระบวนการทางกฎหมายเพื่อสร้างสันติภาพ

 

๑๓. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

                ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตรจำนวน  ๑๔๕,๐๐๐ บาท (สำหรับคฤหัสถ์) และ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (สำหรับนักบวช) โดยแบ่งชำระเป็น ๔ งวด  รวมค่าอาหารว่าง ค่าศึกษาดูงานในประเทศ และหนังสือพุทธสันติวิธีซึ่งเป็นหลักในการศึกษาในสาขาวิชาสันติศึกษา

 ๑๔. หลักฐานการสมัคร

                ๑๓.๑ สำเนาปริญญาบัตร หรือวุฒิการศึกษาเทียบเท่า ๑ ชุด

                ๑๓.๒ เอกสารแสดงผลการศึกษา (Transcript) ๑ ชุด (ฉบับสมบูรณ์)

                ๑๓.๓ รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป 

                ๑๓.๔ หนังสือรับรองตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน (ตามแบบฟอร์มหลักสูตร)

                ๑๓.๕ เอกสารรับรองการได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน (ถ้ามี)

                ๑๓.๖ ค่าธรรมเนียมการสมัคร ๕๐๐ บาท

 ๑๕. สถานที่รับสมัครและยื่นใบสมัคร

                ขอรับใบสมัครได้ตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้

๑๕.๑ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ในวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา  ๑๐.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.  (เว้นวันพระ)

๑๕.๑ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   สำนักงานใหญ่  ต.ลำไทร   อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.  (เว้นวันพระ)

                ๑๕.๓ สำนักงานวิทยาเขต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑๖. กำหนดการรับสมัคร 

รับเอกสารและยื่นใบสมัคร

วันนี้ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖

ประกาศรายชื่อผู้เข้าสอบสัมภาษณ์

๓๐ มีนาคม ๒๕๕๖

สอบสัมภาษณ์

๑๙-๒๒  เมษายน ๒๕๕๖

ประกาศผล

๒๕ เมษายน ๒๕๕๖

รับเอกสารและลงทะเบียน

๑-๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ปฐมนิเทศ

๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

เตรียมความพร้อม

๑๒-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

เปิดเรียน

๑ มิถุนายน ๒๕๕๖

 

ติดต่อสอบถามได้ที่

 

โครงการปริญญาโท สาขาวิชาสันติศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐
โทรศัพท์ ๐๘๑ –๔๘๐- ๓๓๗๔, ๐๒-๖๒๓-๕๓๙๓,
โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๘ ๐๙๙  

 

 

รายละเอียดของโครงการเปิดหลักสูตรสันติศึกษา

 

 

มองโนเบลเห็นมหาจุฬาฯ: นกตะวันตกคาบช่อมะกอก นกตะวันออกคาบดอกบัว

         รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ และนั่น จึงเป็นที่มาของแรงบันดานใจสำคัญในการมอบ ๙๔% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล ๕ สาขา ซึ่งหนึ่งในสาขาเหล่านั้น คือ "สาขาสันติภาพ" จะเห็นว่า หลายครั้งที่การสูญเสียได้กลายตัวแปรสำคัญที่ทำให้มนุษย์เห็นคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสิ่งที่อัลเฟรดเห็น คือ "สันติภาพ"

         ในขณะที่ปีนี้ "สหภาพยุโรป" ได้รับการประกาศยกย่องให้รับรางวัล "โนเบลสาขาสันติภาพ" โดยคณะกรรมการตัดสินให้เหตุผลว่า แม้ปัจจุบันสหภาพยุโรปกำลังประสบภาวะยากลำบากด้านเศรษฐกิจภายใน รวมถึงปัญหาความไม่สงบด้านสังคม แต่สิ่งที่โดดเด่นอย่างยิ่งคือ บทบาทในการส่งเสริมสันติภาพและความปรองดอง รวมถึงการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยความมีเสถียรภาพของการรวมตัวเป็นสหภาพยุโรปได้ช่วยแปรเปลี่ยนยุโรปจากภูมิภาคที่เต็มไปด้วยสงคราม เป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ

         และในขณะที่ปีนี้ มหาจุฬาฯ โครงการหลักสูตรสันติศึกษา ได้เพียรพยายามที่จะนำลมหายใจของสันติภาพของ "พระพุทธเจ้า" ที่ผ่านการซึมซับ ศึกษา และ เรียนรู้ อีกทั้งประสบการณ์ของนักคิด และนักปฏิบัติการทั้งไทย และต่างประเทศมานำเสนอภายใต้กรอบ "พุทธสันติวิธี" เพื่อเปิดพื้นที่ให้ให้มนุษยชาติที่เผชิญหน้ากับความสูญเสียอันเนื่องมาจากความขัดแย้งและความรุนแรงในมิติต่างๆ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปัน "ลมหายใจแห่งสันติภาพ" อันจะนำไปสู่การปลุก และฟื้นฟูพลังแห่งสันติภาพที่เลือนหายไปให้กลับมามีชีวิตชีวา และเบ่งบานงอกงามในโลกนี้ต่อไปตราบนานเท่านาน

 

         มหาจุฬาฯ เห็นอะไร!!!!  จึงนำมามุ่งมั่นและพยายามผลักดันให้เกิดหลักสูตรสันติศึกษา เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน โลก และสังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรง กลุ่มคน และองค์กรมากมากมายในสังคมไทย และสังคมโลกเพียรพยายามที่จะแสวงหาหลักการและเครื่องมือเพื่อไขไปสู่กระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อความสันติสุข มหาจุฬาฯ ถือเป็นหนึ่งในองค์กรเหล่านั้นที่ตระหนักรู้ถึงบทบาทและท่าทีของการขับเคลื่อนด้วยการหมุนกงล้อแห่งสันติภาพ

         การถอดบทเรียนทั้งหลักการ อุดมการณ์ วิธีการและเครื่องมือสำหรับสร้างสันติภาพในพระพุทธศาสนาไปสู่การบูรณาการกับเครื่องมือใหม่ๆ จนกลายเป็น "พุทธสันติวิธี" จึงเป็นภารกิจสำคัญที่มหาจุฬาฯ ภายใต้โครงการหลักสูตรสันติศึกษากำลังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ เพื่อเป็นทางเลือกของสังคมในการที่จะ "ร่วมสร้างสรรค์จรรโลงสันติภาพให้งอกเลย และผลิดดอกออกผลเจริญงอกงามบนโลกใบนี้" โดยการฝึกฝนและพัฒนานักสันติวิธีไปร่วมสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่างๆ สอดรับกับปฐมบรมพุทธปณิธานที่ว่า "เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่อเกื้อกูน เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อความสุข แก่ชาวโลก"

         "นกสันติภาพตะวันตกคาบช่อมะกอก นกสันติภาพตะวันออกคาบดอกบัว" ช่อมะกอกเป็ญสัญลักษณ์ของสันติภาพสากลที่สะท้อนภาพลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความสงบ ความสามัคคีของชาวกรีกโบราณ ที่แสดงตัวผ่านกีฬาโอลิมปิคและองค์การสหประชาชาติ อีกทั้งองค์กรการสันติภาพต่างๆ ได้นำไปเป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ และความสามัคคีของมนุษยชาติทั่วไป

         ในขณะที่โครงการสันติศึกษา มหาจุฬาฯ พยายามจะสื่อให้เห็นถึงแง่มุมในการสร้างทางเลือกการสร้างสันติภาพในโลกตะวันออก โดยการนำ "ดอกบัว" มาเป็นสัญลักษณ์ เพราะดอกบัวคือสัญลักษณ์ของการ "รู้ ตื่น และเบิกบาน" เพราะบ่งบอกถึงสภาพของใจที่เปี่ยมล้นด้วยพลังของสันติภาพ ไม่ตกเป็นทาสของความโกรธ เกลียด เคียดแค้น และชิงชังเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก

         จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นช่อมะกอกหรือดอกบัว หัวใจสำคัญ คือ "สันติภาพ" ที่อุดมไปด้วยพลังของความรัก ความบริสุทธิ์ ความความสงบ ความสามัคคี ความรู้ ตื่น และเบิกบาน" ที่มวลมนุษยชาติจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวเอง ชุมชน สังคม และโลกของเรา การพัฒนาสันติภาพให้เกิดขึ้น จึงไม่ได้จบอยู่ที่ตัวตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น หากแต่หมายถึงความอยู่รอดของมนุษยชาติทุกหมู่เหล่า

 

 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มจร จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    26 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    89
  • ขอขอบคุณ ดร.สุวรา นาคยศ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มอบเงินจำนวน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพฯ
    25 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    331
  • ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
    23 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    347
  • การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. รอบสี่ ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    19 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    115
  • องคมนตรี เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ผ้าไตร และเครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายแด่ พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง
    18 ก.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    127