การจัดตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)

บันทึกความเข้าใจ สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ 

บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ทำขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ ระหว่างสมาชิกมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนานานาชาติ (International Association of Buddhist Universities: IABU) เพื่อความร่วมมือในการก่อตั้งสมาคม 

๐.บทนำ

มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ(IABU) ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๕๐ และจดทะเบียนตาม กฏหมายไทยในปี ๒๕๕๑ ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    i. สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกให้เกิดความร่วมมือ เพื่อให้มวลมนุษยชาติได้รับประโยชน์จากความหลากหลาย และความแตกต่างของประเพณีทางพุทธศาสนาที่ดำเนินอยู่ และเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมจะ,

    ii. จัดทำกรอบการทำงานร่วมกันที่สมาชิกสามารถ:

    iii. สร้างความเข้าใจอันดีในเรื่องนโยบาย และกิจกรรมของแต่ละสามาชิกให้เกิดความเข้าใจทั้งระดับภูมิภาคและนานาชาติ

    iv. ร่วมมือกันในด้านการบริหารสมาคม การสอน การวิจัย และอื่นๆ

    v. ตระหนักถึงความเชี่ยวชาญของแต่ละสมาชิก


๑. เจตจำนงความร่วมมือ

    ตามที่หัวหน้าผู้บริหารของสมาชิกเสนอต่อที่ประชุมในการประชุมของสมาคมพระพุทธศาสนา นานาชาติครั้งที่ ๑ และการสัมมนาเชิงวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ประเทศไทย เห็นพ้องร่วมกันดังนี้

     i. ดำเนินการก่อตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อการทำงานร่วมกันในการพัฒนาวิชาการ รวมถึงการจัดเตรียมหลักสูตรการเรียนการสอน และการรับรองวิทยฐานะ

     ii. ดำเนินการก่อตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อระดมทุนสำหรับดำเนินกิจกรรม ของสมาคมพระพุทธศาสนานานาชาติ ซึ่งรวมถึง สำนักเลขานุการ การประชุม และสัมมนา ทุนการศึกษา โครงการวิจัย และวารสารสิ่งพิมพ์

     iii. อนุมัติการตัดสินใจของคณะกรรมการผู้บริหารในการประชุม ณ กรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ และให้อำนาจคณะกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ และให้คำปรึกษาต่อคณะกรรมการที่กำหนดเช่น การระดมทุน

     iv. ดำเนินการก่อตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อประสานงานในโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสมาชิก ซึ่งมีระยะเวลา สองถึงสี่อาทิตย์ โดยทันที


๒. นิยาม

ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ มีการอธิบายความหมายดังนี้

สมาชิก หมายถึง สมาชิกหลัก สมาชิกรอง และสมาชิกเพิ่มเติมของสมาคมพระพุทธศาสนานานาชาติ 

สมาคม หมายถึงสมาคมพระพุทธศาสนานานาชาติ 

บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีผลบังคับใช้นับจากวันที่ลงนามร่วมกัน โดยสมาชิกเห็นพ้องและไม่มีข้อคัดค้าน

ลงนาม ณ วันที่ ได้กล่าวอ้างข้างต้น