การรวบรวมและจัดทําพระไตรปิฎกฉบับสากล (CBT=Common Buddhist Text)



สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกได้รวมสถาบันอุดมศึกษาด้านพระพุทธศาสนา กว่า ๒๐ ประเทศเข้าด้วยกัน และช่วยกันจัดตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (International Association of Buddhist Universities : IABU) ทั้ง สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกและสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติได้ คำนำ (10) ร่วมกันสร้างความสมัครสมานสามัคคีในด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมระหว่าง สายธรรมของพระพุทธศาสนา ๓ นิกายหลักในปัจจุบัน คือ เถรวาท มหายาน และ วัชรยาน ตัวอย่างหนึ่งของความสมัครสมานสามัคคีนี้ก็คือโครงการแสวงหาความ เหมือนในความต่างระหว่างนิกายในพระพุทธศาสนารวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความ สมบูรณ์และความหลากหลายของนิกายทั้งสาม โครงการนี้ประกาศเปิดตัวครั้งแรก ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๕๒ จนกระทั่งโครงการบรรลุผลเป็นการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ที่รวบรวมคำสอนครั้ง สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาซึ่งมีชื่อว่า “พระไตรปิฎกฉบับสากล : วิถีธรรม จากพุทธปัญญา (Common Buddhist Text : Guidance and Insight from the Buddha)”

โครงการนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสะพานในโลกวิชาการด้าน พระพุทธศาสนาโดยการนำวิถีธรรมจากพุทธปัญญามานำเสนอภายใต้กรอบของ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ให้สมสมัยและสอดคล้องกับ บริบทของสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป แล้วนำหนังสือเล่มนี้ไปมอบเป็น ธรรมบรรณาการ และเผยแผ่หลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าให้สามารถเข้าถึงความ ต้องการของสังคมโลก

ยิ่งไปกว่านั้น การจัดทำหนังสือเล่มนี้เป็นการมุ่งนำเนื้อหาคำสอนอันทรง คุณค่าว่าด้วยเรื่องพื้นฐานที่มนุษย์ต้องประสบซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎกของ พระพุทธศาสนาสายหลักจะได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ตระหนักถึงมรดกอันล้ำค่าทางศาสนาและจริยธรรมของพระพุทธศาสนาที่ปรากฎ ในคัมภีร์หลักของนิกายทั้ง ๓ คือ เถรวาท มหายาน และวัชรยาน และเพื่อสร้าง (5) ความเข้าใจอันดีในหมู่ผู้ที่ไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนเกี่ยวกับคุณค่า และหลักคำสอน พื้นฐานของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความเหมือนและ ความแตกต่างที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ

หนังสือเล่มนี้ได้คัดสรรคำสอนซึ่งแปลมาจากภาษาบาลีสันสกฤต จีน และทิเบต โดยใช้คำศัพท์บัญญัติทางพระพุทธศาสนาเดียวกันตลอดทั้งเล่ม ซึ่งผู้แปล และรวบรวมได้รักษามาตรฐานทางวิชาการอย่างเคร่งครัด แนวทางการจัดพิมพ์นั้น ได้ดำเนินการจัดพิมพ์ครั้งแรกเป็นฉบับภาษาอังกฤษ ในปีพ.ศ.๒๕๖๐ และในปี ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการ แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ๑ ปีและ นักวิชาการชาวพุทธกำลังดำเนินการแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจีน ภาษา เวียดนาม ภาษาบาฮาซา ภาษาสิงหล และภาษาสเปน

ในการดำเนินการแปลและรวบรวมหนังสือพระไตรปิฏกฉบับสากล: วิถีธรรมจากพุทธปัญญานั้น พระพรหมบัณฑิต, ศาสตราจารย์ดร., อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติเป็นประธานบรรณาธิการทั้ง ฉบับภาษาอังกฤษ และภาษาไทย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีบทบาทสำคัญในการจัดหา แหล่งทุนและระดมทรัพยากรเพื่อให้การดำเนินโครงการนี้บรรลุวัตถุประสงค์ของ การจัดทำและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้โดยมีนายอีกิล ล็อตเต้ (Egil Lothe) ประธาน สหพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศนอรเวย์เป็นผู้ประสานงานโครงการแปลเป็นภาษา อังกฤษ

บรรณาธิการและผู้แปลต้นฉบับภาษาอังกฤษ

ปีเตอร์ฮาร์วีย์ (Peter Harvey) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาพุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ซันเดอร์แลนด์สหราชอาณาจักร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมพุทธศาสตร์แห่งราชอาณาจักร บรรณาธิการนิตยสาร Buddhist Studies Review เป็นผู้แต่งหนังสือ An Introduction to Buddhist Ethics: Foundations, Values and Issues (Cambridge University Press, 2000) และ An Introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices (2nd edn, Cambridge University Press, 2013) ทำหน้าที่บรรณาธิการต้นฉบับของ หนังสือเล่มนี้และเป็นผู้แปลบางข้อความในส่วนที่ว่าด้วยพุทธประวัตินอกจากนี้ ยังเป็นอาจารย์สอนสมาธิให้แก่สมถะทรัสต์สหราชอาณาจักร

จี. เอ. โสมรัตเน (G.A. Somaratne) เป็นศาสตราจารย์ที่ศูนย์พุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ฮ่องกง เคยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีของสถาบันพระพุทธศาสนานานาชาติแห่ง ประเทศศรีลังกา (SIBA) เป็นผู้แปลหลักในส่วนที่ว่าด้วยพุทธประวัติและส่วนที่เป็น ความนำเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสายเถรวาท

พี. ดี. เปรมสิริ (P.D. Premasiri) เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณทางภาษาบาลีและ พุทธศาสตร์ภาควิชาภาษาบาลีและพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเปราเทณิยะ เมือง เปราเทณิยะ ประเทศศรีลังกา เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันพระพุทธศาสนานานาชาติ แห่งประเทศศรีลังกา และเป็นนายกสมาคมการพิมพ์และเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมืองแคนดีประเทศศรีลังกา

พระติช ตือ ซี (Most Venerable Thích Tu S) เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขา พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวันฮันห์ประเทศเวียดนาม ในหนังสือเล่มนี้ท่านเป็น ผู้แปลข้อความในส่วนของมหายานหลายข้อความ

ธรรมจารี ศรัทธาปะ (Dharmacārī Śraddhāpa) เป็นนักวิจัยบัณฑิตศึกษาของภาค วิชาวัฒนธรรมศึกษาและภาษาตะวันออก แห่งมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอรเวย์ ทำหน้าที่ผู้แปลและผู้แปลร่วมในส่วนของมหายาน เป็นสมาชิกนิกายไตรรัตนะ ทั้งนี้ ด้วยความขอบคุณภิกษุณีเจียนรง กัททอร์ม กุนเดอร์เซน และ ดร.อันโธเนีย รัพเพล ที่ได้ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าในการแปลประเด็นที่ยากต่างๆ ในต้นฉบับภาษา อังกฤษ

ทามัส อาก็อคส์ (Tamás Agócs) ศาสตราจารย์สาขาทิเบตศึกษา แห่งวิทยาลัยธรรมะ เกต บูดาเปสต์เมืองบูดาเปสต์ประเทศฮังการีเป็นผู้แปลข้อความในส่วนของวัชรยาน ทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้

คณะกรรมการรวบรวมต้นฉบับภาษาอังกฤษ

ประธานกรรมการ :

พระคำหมาย ธัมมสามิ,ดร. (Venerable Dr Khammai Dhammasami) เลขาธิการคณะกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แห่งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา ออกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และเป็นศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสายเถรวาท (ITBMU), ประเทศพม่า

กรรมการ :

นายอีกิล ล็อตเต้(Cand. philol. Egil Lothe) ประธานสหพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศนอรเวย์

ศาสตราจารย์ดร. เลอ มันห์ทัต (Prof. Dr Lê Mnh Thát) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เวียดนาม เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม

ศาสตราจารย์ดร. ติช นัช ตือ (Ven. Prof. Dr Thích Nht T) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา โฮจิมินห์เมืองโฮจิมินห์ประเทศเวียดนาม

ศาสตราจารย์ดร.จินวอล ลี(Ven. Prof. Dr Jinwol Lee) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยดองกุก สาธารณรัฐเกาหลี

ศาสตราจารย์ดร.หยวน ฉือ (Ven. Prof. Dr Yuanci) คณบดีบัณฑิตศึกษา สถาบันพระพุทธศาสนา ประเทศจีน

ศาสตราจารย์ดร.บีลาปห์(Prof. Dr B. Labh) หัวหน้าภาควิชาพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยจัมมูผู้ร่วมก่อตั้งและเลขานุการ สมาคมพุทธศาสตร์แห่งประเทศอินเดีย

ศาสตราจารย์ดร.ฟิลลิป สะแตนเลย์(Prof. Dr D. Phillip Stanley) มหาวิทยาลัยนาโรปะ ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นหัวหน้าคณะทำงานจัดทำ สหบรรณานุกรมพระไตรปิฎกฉบับสากล

นายสก็อตต์เวลเลนบาค (Scott Wellenbach) บรรณาธิการอาวุโส และผู้แปลของคณะผู้แปลนาลันทา ประเทศแคนาดา

พระราชปริยัติกวี, ศาสตราจารย์ดร. (สมจินต์สมฺมาปญฺโญ) อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ดาวน์โหลด : COMMON BUDDHIST TEXT : CBT