พระครูเกษมอรรถากร และคณะบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับการแต่งตั้ง รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ระยอง
ปี 2562 เริ่มต้นขึ้น! สวัสดีคนไทย สวัสดีความสุข ความหวัง และสิ่งที่จะเกิดขึ้น โลกยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เราจะดำเนินชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และยุคสมัยแห่งดิสรัปชั่น (Disruption) ยุคสมัยแห่งการปฏิรูปที่กำลังถาโถม ในทุกรูปแบบ ทุกวิถี ทุกความเป็นไป พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ให้โอวาทชาวไทยว่า เรื่องการเปลี่ยนแปลงนี้ เราไปกำหนดกะเกณฑ์ไม่ได้ เป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นเรื่องของไตรลักษณ์ ควรพิจารณาคือตัวเราเอง จิตใจของเราเอง ทั้งนี้ ให้หลักคิดในสองแนวทาง 1.หลักพระพุทธศาสนา 2.หลักวิชาชีวิต สำหรับหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ยึดหลักปรมัตถธรรม ต้องเข้าใจหลักขันธ์ 5 กฎของธรรมชาติ กฎไตรลักษณ์ ต้องเข้าใจความจริงของชีวิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทุกอย่างในโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มีความเข้าใจต่อกระบวนการปฏิจจสมุปบาท การเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์ ขณะที่หลักวิชาชีวิต ไม่ว่าจะเป็นยุคดิสรัปชั่นหรือยุคใดที่ผ่านมา ล้วนเป็นเรื่องของโลก ในฐานะผู้บริโภค ถ้าเรานิ่งให้เป็น ก็ไม่มีปัญหา แต่เพราะจิตเราไม่นิ่ง จึงวิ่งตามกระแสโลก แล้วเราก็ไล่ไม่ทัน ทั้งดิสรัปชั่นและดิสรัปทีฟ (Disruptive) กระหน่ำมา ที่เป็นของเดิมก็กลายเป็นของใหม่ ที่กระจัดกระจายก็กลายเป็นยุ่งเหยิง จึงต้องเข้าใจ ต้องดูแลจิตให้เข้มแข็ง การเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักร มีเจริญมีเสื่อม จะเปลี่ยนไปอย่างไร อีกไม่นานก็วนกลับมาอีก “จะอยู่ในยุคดิสรัปชั่น โซไซตี้ (Disruption Society) หรือจะอยู่ในยุคใดก็ตาม ถ้าเรากำหนดตัวเองให้เป็นเพียงผู้สังเกต เป็นเพียงผู้เฝ้าดูปรากฏการณ์ นั่นจะทำให้อยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเราเป็นผู้เล่น เราก็เป็นผู้เดือดร้อน เป็นผู้ดิ้นรน เป็นผู้ถูกพลัดไปในกระแสโลก” อธิการบดี มจร กล่าวถึงหลักธรรมโลกยุคดิจิทัล ที่ชาวพุทธสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดสุข อันดับแรกคือการปรับท่าทีต่อปัญหา ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขอให้มองเป็นธรรมดาโลก ต้องฝึกให้มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี ทุกข์มากทุกข์น้อย เป็นแค่ความรู้สึก พยายามทำจิตให้สบาย หาวิธีแก้ปัญหา ทำความเห็นให้ตรง จะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น อันดับสอง ขอให้ทำคุณงามความดี รักษาศีลให้ได้ทุกขณะจิต คฤหัสถ์ต้องมีกุศลเจตนาเป็นที่ตั้ง ปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เป็นกุศลเจตนาอย่างต่อเนื่อง อันดับสาม ทำทุกอย่างให้เป็นบุญ เช่น การทำงานก็ถือเป็นบุญ เพราะทำงานให้ดีตามหน้าที่ สอนหนังสือก็เป็นธรรมเทศนามัย ทำทุกอย่างให้เป็นบุญ มองทุกอย่างให้เป็นบุญ จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น หลักธรรมประการสุดท้าย ได้แก่ การผูกมิตรไมตรีกับกับทุกคน มีงานวิจัยว่าคนที่มีความสุขคือ คนที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การผูกมิตรขอให้มีเมตตาเป็นที่ตั้ง มีเมตตาเป็นธง ฝึกให้มีความเมตตาทั้งต่อคนที่ไม่ชอบและคนที่ชอบ ทั้งหมดนี้คือหลักปฏิบัติสำหรับชาวพุทธในทุกยุคสมัย ขอพรปีใหม่สำหรับคนไทย 2562 อธิการบดี มจร กล่าวให้พรว่า ขอให้หลักการดำเนินชีวิตเป็นการเสริมสร้างพรให้กับตัวทุกท่านเอง โดยอันดับหนึ่งขอพรจากปูชนียบุคคล มีพ่อแม่ครูอาจารย์ ระลึกถึงความดีของผู้มีพระคุณ อันดับสองขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอันดับสามซึ่งสำคัญที่สุด คือ การทำความดีให้เป็นพรแห่งตน พระราชปริยัติมุนี รศ.ดร. (เทียบ สิริญาโณ) คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวว่า อยากจะมีความสุข ก็ต้องใช้สติ ในคำว่า สติ ครอบคลุมถึงคำว่า สติปัญญาและสติสัมปชัญญะ “มีสติเป็นตัวรู้ เราแก้ปัญหาชีวิตได้ อาศัยตัวสติ ที่จะก่อให้เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิต” สำหรับหลักธรรมนำความสุข คือ การคิดจะให้ การให้เป็นพลังยิ่งใหญ่ จิตที่คิดจะให้ ใจจะสบาย มีความสุขมากกว่าจิตคิดจะเอา ถ้าเราคิดเสียสละ เราจะมีความสุขยิ่งขึ้น นอกจากนั้นก็ต้องรู้จักกตัญญูต่อสังขารตัวเอง ต้องรู้จักดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง ดังพุทธพจน์ที่ว่า การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ได้มีโอกาสทำความดี ความมีสุขภาพดีจึงทำให้เรามีพลังความดี ที่จะทำประโยชน์ได้มาก หลักธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีเมตตาต่อผู้อื่น ดังสุภาษิตที่ว่า “จิตเหมือนปลา เมตตาเหมือนน้ำ จิตไร้เมตตา เหมือนปลาที่ขาดน้ำ” เราต้องมีกัลยาณมิตรที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน และไม่เบียดเบียนกันในสังคม มีพลังเมตตา ทำให้เกิดความสุขในตนเองและสังคมได้ พระมงคลธีรคุณ ดร. (อินศร จินฺตาปญฺโญ) รองเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน กล่าวถึงการดำเนินชีวิตให้มีความสุขในบริบทพุทธธรรมว่า มนุษย์มีการติดต่อกับโลกภายนอกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จึงทำให้ตาได้เห็นรูป หูได้ฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และใจรับธรรมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ) เมื่อรับรู้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกว่าชอบ-ไม่ชอบ หรือเฉยๆ หากมนุษย์รับรู้โลกภายนอกแล้วอยู่ในระดับความรู้สึกเช่นนี้ ถือว่าไม่ปลอดภัยหรือไม่พัฒนา กรณีโน้มใจไปในทางที่ชอบ พอใจ ติดใจ เป็นต้น ก็จะเกิดทุกข์ มีปัญหาตามมา ควรที่จะก้าวข้ามจากความรู้สึกนี้ไป ทำในใจว่า เราจะได้เรียนรู้อะไร ตั้งท่าทีไว้ในใจว่า ฉันจะได้เรียนรู้อะไร ซึ่งเป็นขั้นของการใช้ปัญญาเข้ามามีบทบาทสำคัญว่า แต่ละเรื่องที่เข้ามาไม่ว่า ทางตา หู จมูก เป็นต้นนั้น เราได้เรียนรู้อะไร เพียรพยายามในการมองหาความจริงของสิ่งนั้น และมองหาประโยชน์จากสิ่งนั้นให้ได้ เมื่อเราได้ใช้ปัญญามองหาความจริง และมองหาประโยชน์เช่นนี้ เราจะได้ตลอด คือ ได้ปัญญา ได้ความรู้ ได้ความเข้าใจ ทุกข์หรือปัญหาก็จะเบาบางหรือหมดไปได้ ในยุคสมัยนี้ โลกมีสิ่งที่จูงใจ เร้าใจให้เราหลงไปตามกระแสนั้นมีมาก เราจะใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับสิ่งล่อเร้าเย้ายวนนี้มาก จะมีสิ่งใดที่จะนำพาให้เราออกจากจุดนี้ได้ ก็คือ ต้องมีสติ มีสัมปชัญญะ “ความรู้ตัว ทำในใจว่า เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ควรให้ได้อะไรบ้าง ได้งานได้การ ได้บุญกุศล ได้เกิดปัญญา แล้วชีวิตของเราก็จะก้าวไปในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป” การดำเนินชีวิต ควรใช้ปัญญาในอันที่จะคิดแก้ไข ปรับเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยที่ดีที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ผลที่พึงประสงค์ได้ ดังมีคำของนักปราชญ์กล่าวว่า “ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้ประเสริฐสุด” เป็นการดำเนินชีวิตที่รู้จักคิด รู้จักพิจารณา หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะก่อให้เกิดทุกข์และปัญหา แต่ไม่พลาดโอกาสที่จะทำในสิ่งที่จะนำไปสู่ความสุขความเจริญงอกงามที่ดี ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ควรละเว้น ในการดำเนินชีวิตนั้น สิ่งที่ควรใส่ใจมี 3 ด้าน คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา ด้านพฤติกรรม จะต้องควบคุมด้วยศีล คือการสำรวมระวังทางกายและวาจา เป็นการระงับยับยั้งการกระทำทางกายและวาจา มิให้ไปทำหรือพูดให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย ให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเกื้อกูล มีมิตรไมตรีต่อกัน ด้านจิตใจ มีการฝึกฝนอบรมตนให้เกิดสมาธิ ส่งผลให้มีความสุข สงบ เบิกบานด้วยดี มีความร่าเริงแจ่มใส ไม่มีความขุ่นมัวในใจและด้านปัญญา มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน จะทำอะไรก็รู้ทะลุปรุโปร่งไป และทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนอื่น “ยิ่งในยุค Disruption ท่ามกลางเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมืองในปี 2562 ด้วยแล้ว จะต้องมีปัญญาที่สูงส่ง จึงจะอยู่รอดปลอดภัย และอยู่ได้อย่างสง่างาม” แน่นอนว่าการดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ จะต้องประสบทั้งทุกข์และสุข ซึ่งในการปฏิบัติตนต่อทุกข์และสุข สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้แนวทางไว้ว่า 1.ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ 2.ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม 3.ถึงได้สุขที่ชอบธรรมก็ไม่สยบ 4.เพียรเข้าถึงสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป เห็นได้ว่า ความสุขในทางพระพุทธศาสนานั้นมีหลายระดับ สุขจากการพึ่งพา ต้องขึ้นตรงต่อสิ่งภายนอกที่มาบำรุงบำเรอปรนเปรอให้ตนมีความสุข เมื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ จะมีความเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาต่อวัตถุภายนอก ลำพังตัวเองก็มีความสุข ซึ่งก่อนจะถึงจุดนั้นได้จะต้องมีกระบวนการฝึกตนตามลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ ตามหลักการที่พระพุทธองค์ได้ประทานพระโอวาทแก่พระปุณณสุราปรันตะ ในปุณณสูตรว่า “ดูกรปุณณะ มีรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น เพราะความเพลินเกิดขึ้น ทุกข์จึงเกิด ฯลฯ ดูกรปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย มีธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น เพราะความเพลินเกิดขึ้น ทุกข์จึงเกิดฯ ดูกรปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็ดับไป เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ดูกรปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย มีธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูกรปุณณะ ด้วยประการฉะนี้ เธอนั้นจึงไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้” เห็นได้ว่า วิถีการดำเนินชีวิตในบริบทของพุทธธรรมนั้น สามารถจะอยู่ได้ อยู่รอด และมีความสุขความร่าเริงเบิกบานใจ ในทุกยุคทุกสถานการณ์ ถึงอยู่ในโลกก็ไม่ติดโลก พร้อมทั้งมีใจที่ได้รับการฝึกให้อยู่เหนือโลกธรรมทั้งปวง ชีวิตที่เหลือจากนั้นก็อยู่เพื่อมวลหมู่มนุษยชาติให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ตามหลักการที่ว่า อยู่ใน ใจเหนือ เกื้อโลก ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, วันพรรษา อภิรัฐนานนท์ รายงาน Cr.https://www.posttoday.com/life/life/576165
วันที่ 4 ม.ค.2561 จากกรณีพายุปาบึกที่ก่อตัวขึ้นในอ่าวไทยและกำลังเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ซึ่งขึ้นฝั่งที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ที่แรกเริ่มส่งผลกระทบเป็นวงกว้างตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนลงไปจนถึงภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยสงฆ์สุราษฏร์ธานี โดยเฉพาะ มจร วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้รับผลกระทบอาคารเสียหายพอสมควร ขณะเดียวกัน มจร วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางจาก ใช้อาคารปฏิบัติธรรมของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย จากพายุโซนร้อนปาบึก ทั้งนี้ผู้ประสบภัยในบริเวณใกล้เคียงได้มาพักอาศัยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีผู้ป่วยติดเตียงที่ทางมหาวิทยาลัยได้ให้การช่วยเหลือ แม้ว่าศูนย์จะได้รับความเสียหายกับตัวอาคารสถานที่เป็นอย่างมากแต่ผู้คนที่เข้ามาพักอาศัย มากกว่า 1,000 คน ปลอดภัยไม่มีผู้บาดเจ็บแต่อย่างใด พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดี มจร มีความห่วงใยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และขณะนี้คณะทำงานกำลังประสาน มจร วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยสงฆ์สุราษฏร์ธานี อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือตามความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ทางมหาวิทยาลัยจึงแจ้งเพื่อให้ประชาคมได้โปรดทราบและจะแจ้งแนวทางการช่วยเหลือในโอกาสที่เหมาะสมต่อไปฯ พร้อมกันนี้ขอได้โปรดสวดมนต์ แผ่เมตตาจิต ให้พี่น้องชาวใต้ โดยเฉพาะครอบครัว มจร มีความแคล้วคลาดปลอดภัยจากมหาอุทกภัยครั้งนี้ด้วย ขณะเดียวกันวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต โพสต์ภาพคณะสงฆ์และสามเณรวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์ให้ผ่านวิกฤติพายุร้ายนี้ไป และข้อความลงในเฟชบุ๊ก พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต ว่า โดยมีข้อความระบุว่า #เจริญพระพุทธมนต์ช่วยชาวใต้ #ฝ่าวิกฤติพายุปาบึก #พระเดชพระคุณ พระเทพวินยาภรณ์ เจ้าอาวาส วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช นำคณะภิกษุสามเณรในปกครองร่วมทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์ เจริญสติภาวนาขอบารมีพระบรมธาตุ ฯ ปัดเป่าภัยพิบัติ ” #พายุปาบึก” ให้ชาวใต้ฝ่าวิกฤติพ้นภัยโดยถั่วหน้ากัน
‘มจร’เปิดรับบริจาคบูรณะ อาคารพิษพายุ’ปาบึก’ เครือข่ายองค์กรชาวใต้ฯ ในกรุงเทพฯ และปริมณทล เตรียมจัดงานระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย วันที่ 6 ม.ค.2562 ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตนครศรีธรรมราชและประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุปาบึก ขณะเดียวกัน พายุได้สร้างความเสียหายแก่อาคารปฏิบัติธรรม และอาคารเรียนในพื้นที่วิทยาลัยศรีโสภณ และอาคารเรียนแห่งใหม่ ณ อำเภอบางสะพาน โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เชิญชวนประชาคม มจร และทุกภาคส่วนได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ เพื่อสมทบทุนในการซ่อมแซมอาคารปฏิบัติธรรมและอาคารเรียนเพื่อให้ทันต่อการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในภาคการศึกษาที่ 2 ต่อไป โดยสามารถบริจาคได้ที่..กลุ่มงานธรรมวิจัย ส่วนธรรมนิเทศ ห้อง 106 วัดมหาธาตุฯ และอาคารหอฉัน ชั้น 1. มจร วังน้อย หรือ ธนาคารทหารไทย สาขาท่าพระจันทร์ เลขที่บัญชี 155-1-07032-7 “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ในเบื้องต้นนี้ พระราชปริยัติกวี ศ.,ดร. อธิการบดี มจร บริจาค 50,000 บาท พร้อมกันนี้ พระราชปริยัติกวี จะเดินทางไปที่ มจร วิทยาเขตเขตนครศรีธรรมราชเพื่อให้กำลังใจผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปในวันที่ 11 ม.ค.2562 นี้ องค์กรชาวใต้จัดงานระดมทุนช่วยผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อน“ปาบึก” ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานการประชุมเครือข่ายองค์กรชาวใต้ ในกรุงเทพฯ และปริมณทล เตรียมการจัดงานระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย วาตภัย อุทกภัย พายุปลาบึก ซึ่งมีสมาพันธ์จิตอาสาชาวใต้ สมาคมชาวใต้จังหวัดต่างๆ และชมรมองค์กรชาวใต้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ภายหลังการประชุม ดร.เกล้าสรวง สุพงษ์ธร ประธานสมาพันธ์จิตอาสาชาวใต้ กล่าวเปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติร่วมกันให้เปิดศูนย์รับบริจาคทรัพย์และเครื่องอุปโภคบริโภค ช่วยเหลือผู้ประสบภัย พายุปาบึก และจะจัดรายการพิเศษโดยใช้ชื่อรายการว่า”รวมน้ำใจไทย ช่วยวาตภัย ปลาบึก”เพื่อหารายได้ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยดังกล่าว โดยกำหนดจัดรายการพิเศษทางสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง11ในวันศุกร์ที่11มกราคม 2562เวลา22.00-24.00น. ทั้งนี้ ในรายละเอียด ดร.สุเมต สุวรรณพรหม รองประธานมูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้ กล่าวว่า พายุ ปาบึก ได้เข้ามาในครั้งนี้ นอกจากทำลายบ้านเรือนได้รับความเสียอย่างมากมายแล้ว ยังทำลายพื้นที่ทางการเกษตรไปอย่างมากมายโดยเฉพาะ พื้นที่ปลูกผลไม้ที่สร้างรายได้หลักของเกษตรกรสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช คือเงาะ ทุเรียน มังคุด ที่กำลังออกดอกออกผล ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ระยะยาวของเกษตรกรชาวใต้ซึ่งเป็นการซ้ำเติมที่ผ่านมาที่ราคาพืชผลทางการเกษตร อย่างปาล์มน้ำมัน และยางพารา ตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ นายสุรพล เลอวิศิษฐ์ ที่ปรึกษาสมาคมชาวปักษ์ใต้ฯได้กล่าวย้ำว่า การสูญเสียด้านร่างกายและชีวิต หลังการเกิด พายุปาบึก เนื่องจากว่าเกิดการตื่นตัวของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่ได้ให้ความสำคัญได้นำเสนอข่าว พายุปาบึกอย่างต่อเนื่อง ทำให้การป้องกันเหตุอันตราย ที่จะทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต จึงเกิดขึ้นน้อยมาก ตนจึงขอขอบคุณสื่อมวลชนมาณโอกาสนี้ด้วย สำหรับ ประชาชนทั่วไปสามารถร่วมบริจาคเงิน และสิ่งของได้ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง11กรมประชาสัมพันธ์ตั้งแต่เวลา 20.00น.เป็นต้นไป และสามารถโอนเงินเข้าบัญชีมูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้ ธนาคารทหารไทย สาขาราชประสงค์ เลขที่บัญชี 011 2486 972 Cr.เฟซบุ๊ก เฉลียว คงตุก
วันที่ 4 มกราคม 2562 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา สำนักงานอธิการบดี มจร ได้จัดงานปีใหม่ ชีวิตใหม่ กายใจรู้ตื่นและเบิกบาน โดยการจัดกิจกรรมทำบุญด้วยการถวายทาน รักษาศีล และบำเพ็ญภาวนา ทั้งนี้ ได้มีผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่มาร่วมงานจำนวนมาก โดยมีพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดี มจร เป็นประธาน
อธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน International Conference -Re-Learning to Be Human for Global Times
พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี แสดงปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ